สรุปสถานการณ์ 'แม่น้ำโขง' ส่งท้ายปี 2566

30 ธ.ค.2566 - นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิแม่น้ำนานาชาติ สรุปย่อสถานการณ์แม่น้ำโขงในเดือนธันวาคม 2566 ว่า แม่น้ำโขงตอนบน หรือ หลานชางเจียง ถูกกั้นไว้เรียบร้อยแล้วโดยเขื่อน 13 แห่งในจีน-ยูนนาน ความเปลี่ยนแปลงมหาศาลนั้นเกิดตั้งแต่เขื่อนแรกๆ ควบคุมสายน้ำ คือเขื่อนมานวาน และต้าเฉาชาน ที่ใช้งานเกือบ 25 ปีแล้ว และบริษัทจีนก็เดินหน้าสร้างเขื่อนขั้นบันได cascade dams อย่างไม่มีหยุด โดยในแผนวางไว้มากถึง 28 เขื่อน ขึ้นไปจนถึงทิเบต

ผู้แทนสถานทูตจีนพูดในเวทีที่เชียงของเร็วๆ นี้ว่า จีนมีสัดส่วนปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงเพียง 13.5% แต่นั่นเป็นตัวเลขรวมปริมาณน้ำโขงทั้งปีที่ไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม ในขณะที่ในฤดูแล้งที่พรมแดนไทยลาว ณ สามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงระบุว่าสัดส่วนปริมาณน้ำจากจีนมากถึง 90% ดังนั้นสถานการณ์ น้ำโขงขึ้น-ลงผิดฤดูกาล และ“น้ำท่วมหน้าแล้ง น้ำแห้งหน้าฝน” จากการควบคุมโดยเขื่อนในจีนจึงส่งผลร้ายแรงต่อแม่น้ำโขงตอนล่างโดยตรง

ที่เสียหายมากคือ วัฎจักรน้ำท่วม-น้ำแล้ง ที่เป็นนิเวศบริการสำคัญของแม่น้ำโขง ต้องผิดฤดูกาลไปเนื่องจากเขื่อนควบคุมน้ำไว้

ในฤดูแล้ง ตามธรรมชาติแม่น้ำโขงจะลดระดับลง เกาะแก่งต่างๆ เป็นที่อาศัยของพืชและสัตว์ นกอพยพ ฯลฯ ตามหาดหินก็มี “ไก” สาหร่ายแม่น้ำโขงที่เป็นรายได้สำคัญของชาวบ้าน เมื่อถึงฤดูฝน น้ำโขงและลำน้ำสาขาก็จะสูงขึ้น เอ่อท่วมสองฝั่งน้ำ รวมถึงพื้นที่ชุมน้ำ wetlands ต่างๆ ช่วงนี้เองที่สำคัญมากต่อการอพยพของปลาที่ว่ายจากตอนล่างรวมทั้งทะเลสาบเขมร ว่ายขึ้นมาวางไข่ที่ตอนบน การศึกษาของ World Fish Centre ระบุว่าปริมาณปลาแม่น้ำโขงที่อพยพนั้นเคยวัดได้มากถึง 50 ตันต่อชั่วโมง

โจทย์ตอนนี้คือ จีนและประเทศท้ายน้ำจะบริหารเขื่อนเป็นสิบๆ แห่งนี้อย่างไรให้สอดคล้องกับฤดูกาลและความต้องการของท้ายน้ำ ตามที่จีนพูดเสมอว่า “ดื่มน้ำจากแม่น้ำสายเดียวกัน”

ความเสียหายของแม่น้ำโขงเวลานี้สาเหตุหลักไม่ใช่แค่เขื่อนจีนเท่านั้น แต่ทุนไทยก็เข้าไป “ยำ”แม่น้ำโขงเช่นเดียวกัน

แม่น้ำโขงตอนล่าง ขณะนี้มีเขื่อนกั้นแล้ว 2 แห่ง คือเขื่อนไซยะบุรี และดอนสะโฮง อยู่ในแผน 11 โครงการเขื่อน

3 เขื่อนล่าสุดบนแม่น้ำโขงในลาวที่ไทยมีส่วนเกี่ยวข้อง คือเขื่อนหลวงพระบาง เขื่อนปากลาย และเขื่อนปากแบง ที่รัฐบาลไทย โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า PPA กับ 3 บริษัทเขื่อนโดยมีอายุสัญญายาวนานถึง 29-35 ปี ทั้งๆ ที่ไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรองมหาศาล

ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 กฟผ.มีกำลังผลิตตามสัญญาของระบบ 49,513.79 เมกะวัตต์ (MW) ในขณะที่ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ กฟผ. เดือนพฤศจิกายน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 มีค่าเท่ากับ 29,055.70 MW

แล้วเรายังเดินหน้ารับซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากโรงไฟฟ้าเอกชน จากเขื่อนแม่น้ำโขง เพื่ออะไร เพื่อใคร?

ผู้บริหารบริษัทเขื่อนให้สัมภาษณ์ว่า ไฟฟ้าพลังน้ำนั้นราคาถูก ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง เป็นพลังงานสะอาด

นั่นเป็นเพราะบริษัทเขื่อนไม่เคยต้องจ่ายต้นทุนความเสียหายของธรรมชาติ ระบบนิเวศ และเศรษฐกิจ วิถีชีวิตของชุมชนริมโขงอีกหลายสิบล้านคน

แล้วจะเรียกไฟฟ้าจากเขื่อนว่าพลังงานสะอาดได้อย่างไร?

ต้นทุนนี้ยังหมายถึงค่าไฟฟ้าที่ผูกมัดให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกรายต้องจ่าย ในสัญญากับกฟผ.แบบ take or pay “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย”

ในขณะที่เทคโนโลยีพลังงทางเลือกกำลังถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีราคาถูกลงทุกวัน แต่ผู้ใช้ไฟฟ้าชาวไทยกลับยังต้องจ่ายให้แก่โรงไฟฟ้าเอกชน-เขื่อนแม่น้ำโขงไปอีก 3 ทศวรรษ

นักข่าวฝรั่งโทรถามวันก่อนว่า โครงการเขื่อนภูงอย ที่ลาวใต้ บริษัทไทยเข้าร่วมด้วย จะได้ลงนามสัญญาขายไฟกับไทยมั้ย ในขณะที่ไทยไม่ได้ต้องการไฟฟ้าเพิ่มแล้ว

ตอบไปว่า อะไรก็เกิดได้ทั้งนั้น เท่าที่เห็นคือ สัญญาซื้อไฟฟ้าขณะนี้ขับเคลื่อนด้วยอิทธิพลของเอกชน/บริษัทพลังงาน ไม่ใช่ด้วยความจำเป็นด้านพลังงาน หรือการจัดหาไฟฟ้าให้แก่ประชาชน และยังมีการขายไฟฟ้าลาว-สิงคโปร์ ผ่านสายส่งของไทย

ไทยกำลังเป็นผู้เล่นหลักของแม่น้ำโขง จะทำอย่างไรให้ไทยมีบทบาทต่อแม่น้ำโขงและภูมิภาคอย่างรับผิดชอบ และไม่เอื้อประโยชน์เอกชนรายใหญ่เท่านั้น?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แฉเส้นทาง 'โจรกรรมรถ' ข้ามชาติ เชื่อคนของรัฐมีเอี่ยว

กองบังคับการกองร้อยทหารราบ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พล.ต.นรธิป โพยนอก ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี มอบหมายให้ ร.อ.กิตติกร จันทร์หอม นายทหารฝ่ายยุทธการ กองบังคับการควบคุมที่ 1 กองกำ

ห่วงปชช. 7 จ. ริมน้ำโขง หลังสารเคมีรั่ว สั่ง สทนช. เฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

'สมศักดิ์' ห่วงชาวไทย-ลาว หลังสารเคมีรั่วลงแม่น้ำโขง สั่ง สทนช. เกาะติดใกล้ชิด แจงตรวจคุณภาพน้ำ จ.เลย ใช้ได้ปกติ แต่ยังเฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

ระดมศิลปินสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแม่น้ำโขง จัดตั้งกองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นายกิตติ ตรีราช ผู้จัดการนาคาสตูดิโอ เปิดเผยว่าระหว่างวันที่ 3-9 มีนาคม 2567 โฮงเฮียนแม่น้ำโขงร่วมกับนาคาสตูดิโอได้จัดทำโครงการศิลปะวิถีแห่งสายน้ำของ โดยการชักชวนและพาศิลปิน 15 คนที่ทำงานเชื่อมโยงก

น้ำโขงลดลงต่อเนื่อง ที่นครพนมระดับน้ำไม่ถึงเมตร ชาวประมงโอดหาปลายาก

ระดับน้ำโขงที่ไหลผ่านจังหวัดนครพนม ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่สถานีวัดระดับน้ำอัตโนมัติ กรมทรัพยากรน้ำ ตั้งอยู่ชุมชนหนองแสง เขตเทศบาลเมืองนครพนม วัดได้ 0.90 เมตร ลดลงจากวานนี้ 4 เซนติเมตร ต่ำกว่าตลิ่งหรือจุดวิกฤตถึง 11.10 เมตร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบ ต่อการเดินเรือโดยสารข้ามฟาก ที่ท่าเทียบเรือการท่องเที่ยว ถนนสุนทรวิจิตร

แม่น้ำโขงกำลังป่วย นักธรรมชาติวิทยาเดินริมโขงระยะทางกว่า 1,000 กม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเพจ Mekong Walk เดินโขง ของ “บาส” นายปรมินทร์ วัฒน์นครบัญชา ซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยา ได้โพสต์ข้อความเรื่องการเดินเท้าเพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจต่อแม่น้ำโขง โดยเริ่มออกเดินทางเมื่อวันที่ 15 มกราคม เนื้อหาในเพจระบุว่า ”สวัสดีครับ บาสนะครับ ตอนนี้ผมอยู่ที่ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

สมช.เสนอเร่งแก้ปัญหาเขื่อนแม่น้ำโขง กระทบเส้นเขตแดน-การเมืองระหว่างประเทศ

สัปดาห์ที่ผ่านมาศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการของศูนย์อาเซียนศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้จากหลายหน่วยงาน รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมกว่า 40 คน ที่น่าสนใจคือระหว่างการเสวนาในหัวข้อ “การบริหารจัดการน้ำของจีนในลุ่มแม่น้ำโขง ผลกระทบต่อความมั่นคงของอาเซียนและไทย”