เชียงใหม่ป่วยฮีทสโตรกพุ่ง! สาธารณสุขออกประกาศเตือน

สาธารณสุขเชียงใหม่เตือนดูแลสุขภาพในช่วงอากาศร้อนจัดเป็น Heatstroke ถึงตาย สถิติป่วยพุ่ง ต้องออกประกาศข้อปฏิบัติให้กับประชาชนลดความเสี่ยง

09 พ.ค.2567 - ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เผยว่า จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือเผชิญกับสภาวะอากาศที่ร้อนจัดอุณหภูมิพุ่งสูงเกิน 40 องศา มากเป็นประวัติการณ์ใกล้เคียงปี 2562 บางวัน 45 องศาเซลเซียส ทางสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จึงออกแนวทางการเฝ้าระวังและสื่อสารความเสี่ยงต่อสุขภาพจากความร้อน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงทั้งเด็ก ,หญิงตั้งครรภ์ ,ผู้มีโรคประจำตัว ,ผู้สูงอายุ ,ผู้ทำงานกลางแจ้ง เป็นต้น ให้ระวังการเป็น Heatstroke เป็นพิเศษจากสภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงมากจนร่างกายไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ ไต และเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตได้

ดร.ทรงยศกล่าวอีกว่า จากสถิติปีนี้ก็พบว่า มีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเท่าตัวอีกทั้งเป็นปัจจัยแปรผันตามทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นอย่างน่ากังวลด้วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเสี่ยง ซึ่งการเกิด Heatstroke จะมีสัญญาณเตือน คืออุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผิวหนังแห้งตัวร้อนแต่ไม่มีเหงื่อออก ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว กระหายน้ำมาก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย วิงเวียน อาเจียน ปวดหัว หน้ามืด หรืออาจถึงขั้นชักกระตุกเก่งและหมดสติ ดังนั้น หากพบเห็นผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ควรปฐมพยาบาลพาผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก ใช้ผ้าเย็นประคบตามซอกต่างๆของร่างกายผู้ป่วย อาทิ ข้อพับแขน ข้อพับขา บริเวณหลังคอและหากผู้ป่วยยังมีสติให้จิบน้ำเย็น แต่ในกรณีผู้ป่วยหมดสติห้ามป้อนน้ำเพราะอาจทำให้เกิดการสำลักได้ และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดหรือโทร 1669 เพื่อขอรับการช่วยเหลือ

ทั้งนี้สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ออกมาตรการป้องกันความร้อนปี 2567 ซึ่งประชาชนสามารถทำตามได้ง่ายๆ คือ 1.หากมีค่าดัชนีความร้อนเท่ากับหรือมากกว่า 52 องศาเซลเซียส สามารถเปิดศูนย์คลายร้อน โดยเลือกห้องที่มีเครื่องปรับอากาศและมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับจำนวนคนได้ กรณีไม่มีเครื่องปรับอากาศควรเลือกสถานที่ที่สามารถระบายอากาศได้ดี มีเครื่องดื่มสะอาด ผ้าเย็น อุปกรณ์ปฐมพยาบาลและยารักษาโรคประจำตัว เพื่อใช้เป็นที่พักพิงสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากความร้อน ซึ่งศูนย์คลายร้อนสามารถทำได้ตั้งแต่ในบ้าน ที่ทำงานและในชุมชน

2. สร้างความรู้ในชุมชน โดยให้ความรู้ความเข้าใจผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อนและวิธีป้องกันตนเอง การส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพที่เหมาะสม และส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ภายในบ้านและชุมชน เพื่อปรับตัวจากความร้อนได้ดียิ่งขึ้น และ 3.การดูแลกลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ อาทิ ทารกและเด็กเล็ก ควรให้ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หญิงตั้งครรภ์ ให้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ผู้มีโรคประจำตัวให้งดทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง และระมัดระวังการรับประทานยาบางชนิดเพราะอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ผู้ทำงานกลางแจ้ง นายจ้างควรจัดหาน้ำดื่มให้เพียงพอ แบ่งระยะเวลาทำงานและช่วงเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม ผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ควรดูแลอย่างใกล้ชิดในทุกๆ ด้าน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไอกรน' ระบาดชายแดนใต้ ทารกอายุ 18 วัน ติดเชื้อเสียชีวิต ปัตตานีพบเด็กป่วย 72 ราย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 จนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ข

เช็กเลย! อุตุฯ พยากรณ์สภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (29 พ.ค. 66) : ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง