1 พ.ย. 2567 – นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้มีผลกระทบในวงกว้างทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาค SMEs ที่ยังกำลังฟื้นตัวจากโควิด-19 มาไม่นาน ยังมีภาระหนี้ สภาพคล่อง ขาดโอกาสทางการตลาดมาเจออุทกภัยเหมือนเป็นการซ้ำเติมอีกระลอก ทั้งนี้ประเมินผลกระทบภาพรวมไม่น้อยกว่า 6 – 7 พันล้านบาท จึงต้องการการให้รัฐบาลออกนโยบายผ่านสถาบันการเงินผ่อนปรนเรื่องดอกเบี้ย ระยะ 6 เดือน ซึ่งทางออมสินและ SME Bank ได้ออกมาตรการแล้ว
แต่ในระยะยาวเสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุน SMEs ระดับอำเภอเพื่อให้เกิดระบบการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่และมีภูมิต้านทาน, การกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นและการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวในภาคเหนือให้เกิดอย่างต่อเนื่องและกระตุ้นการบริโภคภาคประชาชนให้สูงขึั้น โดยมีข้อเสนอของภาคเอกชนในนาม กกร. เชียงใหม่ ที่เป็นภาพรวมในการเกื้อหนุน SMEs ด้วยเช่นกัน ในโอกาสที่จะมีการประชุม ครม.สัญจร ที่เชียงรายและเชียงใหม่ปลายเดือนนี้ โดยมีแนวทางดังนี้
จากข้อมูลสรุปรายงานผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณการมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ผู้ได้รับผลกระทบ 150,000 ราย เป็นความเสียหายบุคคลไม่ต่ำกว่า 750 ล้านบาท ความเสียหายครัวเรือน(รวมท่วม 2 รอบ) 20,000 ครัวเรือน ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ภาคธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว ผลกระทบไม่ต่ำกว่า 2,800 ล้านบาท มีโรงแรมในกลุ่ม SMEs 23 แห่ง บริษัท ธุรกิจ กิจการห้างร้าน SMEs ผลกระทบไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท กกร.เชียงใหม่สรุปข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนในการฟื้นฟูกิจการของผู้ประกอบการ โดยขอรับการสนับสนุนด้านมาตรการทางการเงินจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมอย่างน้อย 12 เดือน ระหว่างตุลาคม 2567-กันยายน 2568 ปรับลดค่างวดการชำระหนี้ลง 50% และปรับลดดอกเบี้ยลง 1% ต่อปีนาน 12 เดือน ระหว่างตุลาคม 2567 – กันยายน 2568 ผู้ได้รับผลกระทบสามารถกู้เงินซ่อมแชมบ้านและสถานประกอบการได้ 100% และเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ
เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ โดยสถาบันการเงินของรัฐ หรือกองทุนประชารัฐจากกระทรวงอุตสาหกรรม ควรมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้กับผู้ประกอบการเพื่อหมุนเวียนและฟื้นฟูกิจการ ขอให้สรรพากรมีมาตรการผ่อนผัน ยกเว้นการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบสูงอย่างน้อย 1 ปี เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคล ขยายเวลาการยื่นภาษี การอุดหนุนสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยให้หน่วยงานรัฐและเอกชนต่างๆพิจารณาสนับสนุนซื้อสินค้าและบริการผู้ประกอบการในเชียงใหม่ก่อน เพื่อกอบกู้และฟื้นฟูให้ไห้ได้ไวที่สุด ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบจะได้มีกำลังไปต่อได้
ควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการต้นทาง (เกษตรกร) ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบส่งให้กับโรงงานอุตสาหกรรม (กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร) อาทิ พักชำระหนีเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม อย่างน้อย 12 เดือน (ตุลาคม 2567 -กันยายน 2568) ปรับลดค่างวดการชำระหนี้ลง 50% และปรับลดดอกเบี้ยลง 1% ต่อปี นาน 12 เดือน(ตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) โครงการสินเชื่อพิเศษ Soft Loan
และการขอรับความช่วยเหลือเยียวยาในการดำรงชีวิตของประชาชนจากรัฐบาลด้านสาธารณูปโภค ควรมีการยกเว้นการชำระค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567 การยกเว้นการเก็บค่าน้ำประปาและค่าบริการทั่วไป สำหรับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประจำเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน 2567 การดูแลราคาวัตถุดิบอาหาร ตั้งศูนย์สินค้าราคาถูก อุปโภค บริโภค.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯแพทองธาร โพสต์โซเชียล สั่งมหาดไทยช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้โดยด่วน
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กและ X ระบุถึงสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดภาคใต้ว่า “เหตุการณ์น้ำท่วมหนักที่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และระนอง
ชุมพรอ่วม! ฝนถล่มหนัก ดินถล่มทับบ้าน ถนนสายหลักฝั่งอ่าวไทยถูกตัดขาด
จากสถานการณ์ฝนตกหนักครอบคลุมในพื้นที่ จ.ชุมพร ทั้ง 8 อำเภอ ตั้งแต่วันที่ช่วงค่ำวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 14 ธันวาคม ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร
นครศรีธรรมราช-ชุมพร ระดับน้ำท่วมสูง ปภ.วางกำลังพร้อมช่วยเหลือประชาชน
นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลัง
พ่อนายกฯขู่เช็กบิล! พรรคร่วมโดดประชุมครม.-นักร้อง/ขอพระเจ้าอยู่ต่ออีก17ปี
"เพื่อไทย" คึก! 3 นายกฯ ร่วมทีมขึ้นรถไฟสัมมนาพรรคที่หัวหิน "นายกฯ อิ๊งค์" ขอ สส.ไม่แบ่งขั้ว-อายุ ยอมรับ 3 เดือนโฟกัสงานรัฐบาล
ดั๊บเบิ้ล เอ สนับสนุนช่วยเหลือฟื้นฟูหลังอุทกภัยภาคใต้
นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เข้ามอบสมุด และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย Double A Care อาทิ หน้ากากอนามัยฯ น้ำยาทำความสะอาดพื้นและฆ่าเชื้อโรค