'ชาวลุ่มน้ำอิง' จัดสืบชะตาป่าวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ดันขึ้นทะเบียน 'แรมซาร์ไซต์'

2 ก.พ.2565 - ที่บริเวณป่าชุ่มน้ำบ้านทุ่งศรีเกิด ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ชาวบ้านทุ่งศรีเกิดและสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง ได้จัดกิจกรรมสืบชะตาป่าชุ่มน้ำแม่น้ำอิง เพื่อร่วมผลักดันการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำสู่ Ramsar site เนื่องในวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก(World Wetland Day )

ทั้งนี้จากการเก็บข้อมูลของสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงพบว่า ลุ่มน้ำอิงเป็นลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขงในจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่สำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีป่าชุ่มน้ำกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนล่างมากกว่า 10,000 ไร่ ใน 26 ชุมชน และเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมกับแม่น้ำข้ามพรมแดนที่กำลังมีการพัฒนาอย่างเข้มข้นขึ้นในพื้นที่ชายแดนพม่า-ลาวเพื่อเชื่อมต่อกับจีนและเวียดนาม อันเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิภาค

“ป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่าง หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า “ป่าฮิมอิง” เป็นป่าที่มีอัตลักษณ์พิเศษเป็น “ป่านอกนิยาม” (Forestry outside definition ) ที่อาจจะมีที่เดียวในประเทศไทยคือ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ประเภทป่าที่มีน้ำท่วมขังบางฤดูกาล (seasonally-flooded forest) โดยท่วมประมาณ 3 เดือนในฤดูน้ำหลากจากน้ำในแม่น้ำอิงผสมกับน้ำจากแม่น้ำโขงที่เอ่อขึ้นมา ทำให้ป่าชุ่มน้ำที่นี่มีระบบนิเวศเฉพาะตัวพบได้แห่งเดียวในประเทศไทย พันธุ์ไม้เด่นที่พบจึงเป็นไม้ที่ทนน้ำท่วมได้เป็นเวลานาน เช่น ข่อย ชุมแสง เป็นต้น ปัจจุบันพบว่าป่าชุ่มน้ำมีอยู่ 26 ป่า กระจายตัวอยู่ในทั้ง 4 อำเภอในลุ่มน้ำอิงตอนล่าง ซึ่งทั้งหมดเป็นป่าที่ชาวบ้านร่วมกันรักษาไว้เป็นป่าของชุมชนอย่างสอดคล้องกับระบบสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ในส่วนของป่าชุ่มน้ำบ้านทุ่งศรีเกิด มีเนื้อที่ประมาณ 138 ไร่จากการสำรวจโครงสร้างป่า พบว่ามีความหลากหลายของชนิดต้นไม้อย่างน้อย 7ชนิด โดยไม้ที่พบมากคือ ข่อย ชุมแสง และหัด ซึ่งเป็นไม้ที่ทนน้ำท่วมซึ่งเป็นป่าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของป่าชุ่มน้ำ โดยมีความหนาแน่นของต้นไม้โดยรวม 90ต้นต่อ

นายฉัตรชัย สอนแก้ว ผู้ใหญ่บ้านทุ่งศรีเกิด กล่าวว่าป่าชุ่มน้ำหรือป่าริมอิงของบ้านทุ่งศรีเกิด รวมทั้งหนองน้ำมีพื้นที่ประมาณ 138 ไร่ ที่คนในชุมชนรักษาไว้ตั้งแต่อดีต เป็นแหล่งอาหาร เก็บผัก แหล่งเลี้ยงสัตว์ พื้นที่หน้าหมู่ของชุมชน ป่ามีกฎระเบียบในการดูแลรักษา จึงได้จัดพิธีสืบชะตา เพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าไว้ให้คนรุ่นหลัง ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่า รวมถึงเรื่องปลา หนองน้ำแหล่งน้ำ ชุมชนอยากจัดมาหลายปีแล้วแต่ว่าติดเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ปีนี้เลยต้องจัดแบบเล็กๆ และปีต่อไปหากสถานการณ์ดีขึ้นก็จะจัดกิจกรรมให้ชุมชนรอบข้างเข้ามาร่วม และทำเป็นประเพณีทุกปีเพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของป่า

นายสายัณน์ ข้ามหนึ่ง รองผู้อำนวยการสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าวว่าป่าชุ่มน้ำบ้านทุ่งศรีเกิด เป็น 1 ใน 7 ป่าที่ขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งสวนกระแสจำนวนพื้นที่ชุ่มน้ำของโลกที่ลดจำนวนลง แต่ในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์หลงเหลืออยู่ ตอนนี้อยู่ในช่วงในการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ อยู่ในช่วงการกรอกข้อมูล Information sheet การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของป่า โดยนำความเชื่อทางศาสนามาเป็นกุศโลบายในการจัดงานสืบชะตาและรักษาป่า

นายสายัณน์กล่าวว่า น้ำอิงตอนล่างมีความยาวประมาณ 133 กิโลเมตร พบพื้นที่ชุ่มน้ำจำนวน 26 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำหลากในฤดูฝน และเป็นแหล่งให้น้ำในฤดูแล้งสำหรับการทำการเกษตร และเป็นพื้นที่หากินของนกอพยพมาในช่วงฤดูหนาว ที่สำคัญเป็นแหล่งอาหารของชุมชน โดยมีหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างสูงและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญมากในลุ่มน้ำอิงและลุ่มน้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีการอพยพขึ้น-ลงของปลา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พายุฤดูร้อนถล่ม 4 จังหวัดภาคเหนือ บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้ใหญ่โค่นล้มเพียบ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรายงานจาก สอต.พะเยา สอต.เชียงใหม่ สอต.แพร่ และ สอต.เชียงราย เกี่ยวกับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน วาตภัย เหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 19 เม.ย.67 ในพื้นที่ ดังนี้

'ในหลวง' ทรงตัดหวายลูกนิมิต อุโบสถบุญชุ่มฯ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถบุญชุ่มรัตนปุรี ศรีธรรมราชา วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย

มท.2 ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ตรวจตลิ่งริมแม่น้ำอิง ก่อนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นางสาวพรพิมล ธรรมสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเอกภพ เพียรพิเศษ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

"รมช.สุรศักดิ์" ลงพื้นที่เมืองเชียงราย​ ลุย​ รับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานทางการศึกษา​ ก่อนนำข้อมูลเสนอต่อ​ที่ประชุม​ ครม.

เมื่อวันจันทร์​ ที่ ​18 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์​เจริญ​ว​ร​กุล​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ก่อนการประชุม​ ครม.สัญจร​ ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง จ.เชียงราย​ โดยมี​ นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)