ขุมกำลังรวมไทยสร้างชาติ ในวันที่ลุ้น "บิ๊กตู่" ร่วมหอลงโรง

ยังคลุมเครือ พลิกแล้วพลิกอีกทางการเมืองต่อไป สำหรับ เส้นทางการเมือง ของ บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะหลังเมื่อวันจันทร์ที่ 7 พ.ย. พี่ใหญ่ 3 ป. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และผู้จัดการรัฐบาล ออกมาระบุว่า หากพลเอกประยุทธ์และ ส.ส.พลังประชารัฐปัจจุบันจะไม่อยู่กับพรรคต่อไปก็ไม่เป็นไร ไม่ห้ามใครย้ายออกทั้งนั้น

“ก็แยกไปไม่เป็นไร ไม่เป็นไร การเมืองก็ว่ากันไป ไปเลย ไปไหนก็ไป ไม่ว่าอะไร ใครอยากไปไหนเป็นเรื่องของตัวบุคคล ไม่ห้าม ไม่ห้ามใครทั้งนั้น"

เป็นคำกล่าวของพลเอกประวิตร หลังถูกสื่อถามถึงว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ไม่อยู่พรรค พปชร. อาจขน ส.ส.ไปด้วย และ พล.อ.ประยุทธ์จะไปไม่ห้ามใช่หรือไม่

เท่านั้นเอง ตลาดการเมือง แวดวงการเมือง ก็เทน้ำหนักกันไปในทางเดียวกัน 3 ป.แยกกันเดิน ทางใครทางมัน แน่นอนคือ พลเอกประวิตรก็เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และแคนดิเดตนายกฯ พลังประชารัฐตอนเลือกตั้ง ส่วนพลเอกประยุทธ์ก็สวิงไปที่ พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ไปตอกเสาเข็มรอไว้หลายเดือนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ท่าทีล่าสุด พลเอกประยุทธ์หลังการประชุม ครม.เมื่อ 8  พ.ย. พบว่า พลเอกประยุทธ์ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ประเด็นการเมือง โดยเมื่อผู้สื่อข่าวพยายามถามว่าข่าวการโยกย้ายพรรคทำให้เสียสมาธิในการทำงานหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ได้เดินออกจากวงสัมภาษณ์ พร้อมกล่าวว่า "อ๋อ ยัง ไม่ย้งไม่ย้ายทั้งนั้นแหละ"

การเลี่ยงที่จะแสดงความชัดเจนทางการเมืองดังกล่าวของพลเอกประยุทธ์ข้างต้น ถามว่าสื่อถึงอะไร มันก็คือการสื่อถึงการต้องการมุ่งสมาธิการเมือง การทำงาน ไปที่การเตรียมจัดประชุมเอเปกวันที่ 18-19 พ.ย.นี้ก่อน หลังจากนั้นเรื่องการเมืองต่างๆ ค่อยมาว่ากัน

และในความเป็นจริงอย่าลืมว่า สถานะทางกฎหมายของพลเอกประยุทธ์จนถึงปัจจุบัน แม้ตอนเลือกตั้งปี 2562 พลเอกประยุทธ์จะลงชิงแคนดิเดตนายกฯ พรรคพลังประชารัฐ แต่จนถึงปัจจุบัน พลเอกประยุทธ์ก็ยังไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐแต่อย่างใด ไม่ได้มีตำแหน่งอะไรในพลังประชารัฐ

ทำให้พลเอกประยุทธ์คงรู้สึกว่าตัวเองก็ไม่ได้อยู่พลังประชารัฐแต่อย่างใด ดังนั้นที่บอกไม่ย้ายพรรคอะไร จึงอาจหมายถึงว่า หากการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น พลเอกประยุทธ์สวิงตัวเองไปที่รวมไทยสร้างชาติ ไม่ได้อยู่กับพลังประชารัฐ ตัวพลเอกประยุทธ์ก็อาจไม่ได้รู้สึกว่าย้ายพรรคอะไร เพราะปัจจุบันก็ไม่ได้อยู่พรรคไหน แต่หากไปรวมไทยสร้างชาติ พลเอกประยุทธ์อาจเลือกที่จะเล่นบทบาทการเป็นนักการเมืองเต็มตัวมากกว่าตอนอยู่พลังประชารัฐ เช่น อาจเป็นทั้งแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค เป็นสมาชิกพรรค มีตำแหน่งในพรรครวมไทยสร้างชาติก็ได้

ด้วยเหตุนี้ ที่พลเอกประยุทธ์บอกว่า “ยัง ไม่ย้ายทั้งนั้นแหละ” จึงยังไม่ได้มีนัยสำคัญการเมืองใดๆ ที่จะบ่งบอกและชี้ชัดว่า เลือกตั้งที่จะมีขึ้น พลเอกประยุทธ์จะอยู่ที่พลังประชารัฐ

ซึ่งทั้งหมดต้องรอหลังเอเปกที่คาดว่า การตัดสินใจทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์จะชัดเจนขึ้นบนสามทางแยก-สามทางเลือก คือ

1.วางมือการเมือง ไปลงการเมืองรอบหน้า อาจจะเว้นวรรคไปสักระยะ 

2.ยังเล่นการเมืองต่อ โดยอยู่กับพลังประชารัฐ เป็นแคนดิเดตนายกฯ พลังประชารัฐ และปรับตัวให้สัมพันธ์กับพลังประชารัฐมากขึ้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ มีตำแหน่งในพรรค

3.เล่นการเมืองต่อ แต่ไม่อยู่พลังประชารัฐ ออกไปสร้างพื้นที่การเมืองของตัวเอง โดยไปอยู่ที่รวมไทยสร้างชาติ ด้วยการลงเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของรวมไทยสร้างชาติ และมีตำแหน่งในรวมไทยสร้างชาติ

โดยหากดูจากถึงตอนนี้ ถ้าดูจากท่าทีและบริบทการเมืองต่างๆ เชื่อได้แล้วว่า พลเอกประยุทธ์ยังคงเลือกที่จะอยู่บนถนนการเมืองต่อไปในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นแน่นอน เพียงแต่จะเดินต่อไปแบบไหนเท่านั้นเอง จะอยู่กับพลังประชารัฐต่อไป โดยเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพลังประชารัฐ และมีอีก 2 ชื่อประกบคือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อย่างที่มีกระแสข่าว และยอมกับสูตรนายกฯ คนละครึ่ง โดยให้พี่ใหญ่ ป.ป้อม พลเอกประวิตร ได้ลุ้นเป็นนายกฯ หากสุดท้ายพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลปัจจุบันรวมเสียงกันแล้วหลังเลือกตั้ง ยังมี ส.ส.มากกว่าพรรคฝ่ายปัจจุบันจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ หรือสุดท้าย พลเอกประยุทธ์เลือกที่จะไปอยู่ที่รวมไทยสร้างชาติ แล้วใช้รวมไทยสร้างชาติเป็นฐานการเมืองระยะยาวของตัวเองต่อไป

กระนั้นหากพลเอกประยุทธ์เลือกทางเดินนี้ก็เหนื่อยไม่ใช่เล่น เพราะไม่มีพลเอกประวิตรคอยช่วยดูแล-บริหารจัดการทางการเมืองให้เหมือนหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งหากรวมไทยสร้างชาติไม่ประสบความสำเร็จทางการเมืองมากนักหลังเลือกตั้ง ไม่สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะได้ ส.ส.น้อยกว่า ภูมิใจไทย-พลังประชารัฐ ถ้าออกมาแบบนี้ พลเอกประยุทธ์ก็หนัก-เหนื่อยแน่ 

เพราะอย่างที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มการเมืองต่างๆ ในพลังประชารัฐอาจย้ายตามพลเอกประยุทธ์เข้ามาที่รวมไทยสร้างชาติ เช่น กลุ่มสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน-ผอ.พรรคพลังประชารัฐ หรือแม้แต่กลุ่มสามมิตรของสมศักดิ์ เทพสุทิน ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน และอาจพลิกได้ในนาทีสุดท้าย คืออยู่พลังประชารัฐต่อ ไม่ได้ไปรวมไทยสร้างชาติอย่างที่มีกระแสข่าว

แต่ก็มีข่าวว่าบางกลุ่มก็ชัดเจนแล้วว่า น่าจะไม่อยู่แน่ และคงไปที่รวมไทยสร้างชาติ เช่น กลุ่มกรุงเทพมหานคร ที่ข่าวว่าเบื้องต้นที่มีชื่อว่ามีการพูดคุยกันแล้วว่าอาจจะย้ายมารวมไทยสร้างชาติ ก็เช่น ภาดา วรกานนท์ ส.ส.กทม.เขตพญาไท-จตุจักร, ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ส.ส.กทม.เขตบางกะปิ-กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม.เขตคลองเตย และเขตวัฒนา เป็นต้น รวมถึงอาจจะมีอดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม.พลังประชารัฐรอบที่แล้ว ที่แม้จะแพ้ แต่ก็ทำคะแนนได้ค่อนข้างดี และบางคนตอนนี้ก็มีตำแหน่งการเมืองอยู่ ให้จับตาว่าอาจย้ายมารวมไทยสร้างชาติ เช่น เนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตยานนาวา บางคอแหลม เป็นต้น

รวมถึงก็ต้องจับตา กลุ่มภาคใต้ พลังประชารัฐ ที่ตอนนี้มี ส.ส.ภาคใต้ 13 คน และเมื่อเร็วๆ นี้ พรรคเพิ่งเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.เขตภาคใต้ พลังประชารัฐไป 19 เขตเลือกตั้ง โดยกลุ่มนี้ต้องคิดหนักหากพลเอกประยุทธ์ไม่อยู่กับพลังประชารัฐต่อไป เพราะ ส.ส.เขตภาคใต้หลายคนต่างยอมรับว่าที่ชนะเลือกตั้งมา ส่วนหนึ่งก็เพราะกระแสนิยมลุงตู่ในภาคใต้ ดังนั้นหากพลังประชารัฐไม่มีพลเอกประยุทธ์ อาจทำให้ ส.ส.ภาคใต้และผู้สมัคร ส.ส.เขตภาคใต้ของพลังประชารัฐหวั่นไหวแน่นอน จึงต้องดูว่ากลุ่มภาคใต้จะเอาอย่างไร แต่ครั้นหากจะย้ายพรรคช่วงหลังจากนี้ โดยเฉพาะหากจะสวิงไปที่ รวมไทยสร้างชาติ บางจังหวัดคงไม่ทันแล้ว เพราะรวมไทยสร้างชาติวางตัวผู้สมัคร ส.ส.เขตภาคใต้ไว้เกือบหมดแล้ว

ท่ามกลางกระแสข่าวว่า รวมไทยสร้างชาติพร้อมมากในเรื่องทุน-งบที่จะใช้ในการเข้าสู่สมรภูมิเลือกตั้ง เรียกได้ว่าคนที่อยู่หน้าฉากและหลังฉากพรรครวมไทยสร้างชาติ ส่งสัญญาณว่า “พร้อมจัดเต็มคาราเบล หากบิ๊กตู่มาที่รวมไทยสร้างชาติ” ยิ่งหากมาพร้อมกับขุมกำลังในพลังประชารัฐที่แยกตัวตามมาด้วย ก็จะยิ่งทำให้กลุ่มที่จะเข้ามาซัพพอร์ตพรรค ที่จดๆ จ้องๆ อยู่ว่าพรรคนี้จะไปได้ไกลแค่ไหน อาจมั่นใจมากขึ้น จนเข้ามาสนับสนุนพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างเต็มที่

บิ๊กตู่จะอยู่พลังประชารัฐต่อหรือจะสวิงไปที่รวมไทยสร้างชาติ และเส้นทางการเมืองของรวมไทยสร้างชาติจะไปได้ไกลแค่ไหน หลังจากนี้หลังจบเอเปกคงมีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' เอฟเฟกต์! ส่อทำการเมืองไทยวนลูปเดิม

ช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีประเด็นข่าวร้อนแรงมากมายแค่ไหน แต่มีบุคคลหนึ่งที่ถ้าอยู่ในหน้าข่าวเมื่อไหร่ มักจะสร้างประเด็นดรามาที่ต้องพูดถึงไม่หยุดกับพ่อใหญ่แห่งพรรคเพื่อไทย ทักษิณ ชินวัตร

สว.2567 เสี่ยงได้ วุฒิสภา สายพรรคการเมือง เชื่อมโยงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่

เข้าสู่ช่วงเตรียมนับถอยหลังใกล้โบกมือลา สิ้นสุดการทำหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบันจำนวน 250 คน ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี สว.ชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่

หาก ‘ไผ่’ วืด ‘เบนซ์’ เต็งหนึ่งรมต. เสียบแทน ‘โควตากลาง’ พปชร.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ มั่นใจว่าคุณสมบัติของ นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร และกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ยังนั่งเป็นรัฐมนตรีได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติไม่รับคำร้อง กรณีนายไผ่ขอร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ถูก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน ละเมิดจนไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้ กรณีระบุว่า ขาดคุณสมบัติ

ครม.เศรษฐา 2 ทักษิณเคาะโผ ฉากทัศน์กองทัพยุค "บิ๊กนิด"

ชัดเจนแล้วว่า ครม.เศรษฐา 2 ที่จะเป็นการปรับ ครม.ครั้งแรกของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน จะเกิดขึ้นแน่นอน โดยคาดว่า อาจจะเกิดขึ้นภายในปลายเมษายนนี้ หรือช้าสุดไม่เกินกลางเดือน พ.ค. เว้นแต่มีสถานการณ์แทรกซ้อนทำให้การปรับ ครม.อาจขยับออกไปได้

‘พีระพันธุ์’ สั่งปลัดพลังงาน จับตาผลกระทบด้านพลังงาน สงคราม ’อิหร่าน-อิสราเอล’

รมว.พลังงานเผยสั่งการให้ท่านปลัดฯและหน่วยงานทุกหน่วยของกระทรวงพลังงานติดตามรายงานสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบและแนวทางในการรับมือด้านพลังงานตลอดเวลาเช่นกัน

ลดความเสี่ยง‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ปรับ ครม.เค้นผลงานรัฐบาล

เรือธง ล้มไม่ได้ เพราะมีผลต่อเครดิตของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรืออนาคต สำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท