7เม.ย.ลุ้นศาลชี้ชะตาแบ่งเขต สะเทือนไทม์ไลน์เลือกตั้ง?

อีกประมาณเดือนเศษก็จะถึงวันเลือกตั้งทั่วไปที่คนไทยทั่วประเทศต่างตั้งตารอมากว่า 4 ปี สำหรับการเตรียมความพร้อม ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ตั้งแต่การเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง วันที่ 3-7 เม.ย.2566 รับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4-7 เม.ย. และพรรคการเมืองแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และวันกาบัตรเลือกตั้ง 14 พ.ค.

พอเห็นไทม์ไลน์แล้ว หลายคนอาจจะมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความราบรื่น แต่การเลือกตั้งครั้งนี้มีความวุ่นวายมาตลอด โดยเฉพาะการแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่นับราษฎรต่างด้าวรวมเข้ากับการแบ่งเขต จนเรื่องต้องถึงศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยทำให้เกิดการแบ่งเขตใหม่อีกครั้ง และแม้ กกต.จะแบ่งเขตใหม่แล้วก็มิวายจะเกิดปัญหาเพิ่มขึ้น

ล่าสุดมีการยื่นร้องต่อศาลปกครอง ที่มีผู้ยื่นฟ้องขอเพิกถอนประกาศ กกต.เรื่องแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งลงวันที่ 16 มี.ค.2566

โดยคดีแรก เป็นคดีที่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ยื่นฟ้องว่าประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าว โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร มีการรวมเฉพาะแขวงโดยไม่มีเขต หรืออำเภอหลัก มาเป็นเขตเลือกตั้งใหม่ ทั้งที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สบ.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 27 (1) กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งเขตให้รวมอำเภอต่างๆ เป็นเขตเลือกตั้ง ประกาศแบ่งเขตของ กกต.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีที่ 2 เป็นคดีที่ นายพัฒ ตั้งเบญจผล ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สุโขทัย ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ฟ้องว่า ประกาศแบ่งเขตดังกล่าวของ กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการแบ่งเขตการเลือกตั้ง รูปแบบที่ 1 เป็นการรวมตำบลเพื่อกำหนดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยไม่ได้ยึดหลักเกณฑ์รวมอำเภอต่างๆ เป็นเขตการเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 27 กำหนดไว้ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง และกระทบสิทธิของประชาชน สร้างความสับสนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง และกระทบต่อจำนวนราษฎรผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

คดีที่ 3 เป็นคดีที่ นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ฟ้องว่าประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าวโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ จ.สุโขทัย ไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงความคิดเห็นของผู้ฟ้องคดี ซึ่งเหมาะสมกว่า รูปแบบดังกล่าวส่อไปในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยึดถือตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สุโขทัย อย่างชัดแจ้ง ประกาศดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

และคดีที่ 4 เป็นคดีที่ นายพัฒนา สัพโส ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ฟ้องว่า ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าว เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ จ.สกลนคร ไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงความคิดเห็นของผู้ฟ้องคดีซึ่งเหมาะสมกว่า รูปแบบที่ กกต.มีมติ ส่อไปในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยึดถือตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกาศดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ซึ่งศาลปกครองสูงสุดจะนัดตัดสินคดีนี้ในวันที่ 7 เม.ย.นี้ และจะนัดพิจารณาครั้งแรกในวันที่ 4 เม.ย. ซึ่งเป็นวันแรกของการรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ส่งผลให้ไทม์ไลน์กิจกรรมการเลือกตั้งจะได้รับผลกระทบแน่นอน

จากปากของ นายอรรถวิชช์ ระบุต่อศาลว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคิดคำนวณ ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้ง ใน กทม. 33 เขตเลือกตั้ง ที่ไม่เหมือนเดิม 29 เขตเลือกตั้ง เป็นความตั้งใจของ กกต.ถือเป็นการทำลายระบบตัวแทน ทำให้ความผูกพันระหว่างผู้แทนราษฎรกับประชาชนในพื้นที่ห่างออกไป เป็นกลจักรสำคัญของระบอบประชาธิปไตย แต่ กกต.ยืนหลักเอาผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของจำนวนเฉลี่ย ต่อจำนวน ส.ส. 1 คน เป็นตัวตั้ง 

"ซึ่งเกณฑ์ 10 เปอร์เซ็นต์มีมานานแล้ว ใช้กับต่างจังหวัด แต่เพิ่งใช้เป็นครั้งแรกกับ กทม. และที่น่าแปลกใจคือ ในการชี้แจงของ กกต.วันนี้ พบว่า กกต.ไม่ได้ใช้เกณฑ์ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ใช้เกณฑ์ 5 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ ซึ่งผมเห็นว่าการกระทำดังกล่าว กกต.มีเป้าหมายทำให้เขตเลือกตั้งเดิมทั้งหมดถูกสลายไป"

นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า "จากนี้ต้องวัดใจว่า ศาลปกครองจะมีคำวินิจฉัยตาม กกต.หรือไม่ เป็นอำนาจของ กกต.หรือไม่ แต่สำหรับพรรคการเมืองมองว่า นี่ไม่ใช่วิถีทางที่จะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง เพราะเป็นการทำลายระบบตัวแทน"

ทั้งนี้ เรื่องการแบ่งเขตจะเห็นได้ว่ากลุ่มที่มักจะยื่นร้องในเรื่องนี้คือพรรคการเมืองที่เป็นผู้เสียประโยชน์โดยตรง ที่มองว่าการเลือกตั้ง การกำหนดว่าเขตเลือกตั้งหนึ่งจะตั้งอยู่ที่ไหนอาจจะมีความสำคัญมาก ไม่ต่างกับการออกไปใช้สิทธิหย่อนบัตร หากมีผู้จงใจออกแบบเขตเลือกตั้งให้เป็นแบบใดแบบหนึ่งโดยไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของพื้นที่ ก็อาจจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการเลือกตั้ง เพื่อสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง

ซึ่งคนธรรมดาทั่วไปอาจจะมองไม่ออกว่าพรรคการเมืองเสียเปรียบอย่างไรในเรื่องนี้ ผลของการแบ่งเขตที่ไม่เป็นธรรมในรูปแบบเขตเลือกตั้ง คือเขตเลือกตั้งก็อาจจะออกมามีรูปร่างแปลกประหลาด เช่น เป็นเส้นยาวคดเคี้ยวไปมา หรือผ่าตัดบางพื้นที่ที่ควรเป็นเนื้อเดียวกัน แทนที่เขตเลือกตั้งจะเป็นภาพแทนของกลุ่มคนที่มีความใกล้เคียงกันทางภูมิศาสตร์ มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา หรือภาษาคล้ายกัน ก็จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ในการเลือกตั้ง

หากผู้ที่ออกแบบตีเส้นแบ่งเขตเลือกตั้งทราบว่าพื้นที่ใดมีแนวโน้มจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคใด ก็สามารถลากเส้นตัดเพื่อหวังผลสูงสุดได้ นี่คือความเห็นของพรรคการเมืองที่มองว่าตัวเองเสียผลประโยชน์

ก็ต้องรอลุ้นกันว่า วันที่ 7 เม.ย.นี้ ศาลจะพิจารณาไปในทิศทางไหน ถ้ามองว่าการแบ่งเขตของ กกต.ไม่ชอบ กิจกรรมไทม์ไลน์ทุกอย่างจะเลื่อน และมีความเป็นไปได้สูงที่วันเลือกตั้งมีสิทธิที่จะได้รับผลกระทบตาม แต่ถ้าพิจารณาว่าชอบด้วยกฎหมาย กิจกรรมเลือกตั้งทุกอย่างก็จะดำเนินไปตามปกติ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

7 เดือน ‘รัฐบาลเศรษฐา’ เผชิญแรงบีบรอบด้าน!

แม้จะยังไม่ผ่านโค้งแรกในการบริหารประเทศของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เริ่มต้นทำงานได้เพียง 7 เดือน แต่ก็เหมือนถูกบีบจากสถานการณ์รอบด้าน ที่เข้ามาท้าทายความสามารถของผู้นำประเทศ อีกทั้งยังมีภาพนายกฯ ทับซ้อนที่ทำให้นายกฯ นิดดูดร็อปลงไป

'ทักษิณ' เอฟเฟกต์! ส่อทำการเมืองไทยวนลูปเดิม

ช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีประเด็นข่าวร้อนแรงมากมายแค่ไหน แต่มีบุคคลหนึ่งที่ถ้าอยู่ในหน้าข่าวเมื่อไหร่ มักจะสร้างประเด็นดรามาที่ต้องพูดถึงไม่หยุดกับพ่อใหญ่แห่งพรรคเพื่อไทย ทักษิณ ชินวัตร

สว.2567 เสี่ยงได้ วุฒิสภา สายพรรคการเมือง เชื่อมโยงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่

เข้าสู่ช่วงเตรียมนับถอยหลังใกล้โบกมือลา สิ้นสุดการทำหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบันจำนวน 250 คน ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี สว.ชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่

หาก ‘ไผ่’ วืด ‘เบนซ์’ เต็งหนึ่งรมต. เสียบแทน ‘โควตากลาง’ พปชร.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ มั่นใจว่าคุณสมบัติของ นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร และกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ยังนั่งเป็นรัฐมนตรีได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติไม่รับคำร้อง กรณีนายไผ่ขอร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ถูก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน ละเมิดจนไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้ กรณีระบุว่า ขาดคุณสมบัติ

ครม.เศรษฐา 2 ทักษิณเคาะโผ ฉากทัศน์กองทัพยุค "บิ๊กนิด"

ชัดเจนแล้วว่า ครม.เศรษฐา 2 ที่จะเป็นการปรับ ครม.ครั้งแรกของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน จะเกิดขึ้นแน่นอน โดยคาดว่า อาจจะเกิดขึ้นภายในปลายเมษายนนี้ หรือช้าสุดไม่เกินกลางเดือน พ.ค. เว้นแต่มีสถานการณ์แทรกซ้อนทำให้การปรับ ครม.อาจขยับออกไปได้

ลดความเสี่ยง‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ปรับ ครม.เค้นผลงานรัฐบาล

เรือธง ล้มไม่ได้ เพราะมีผลต่อเครดิตของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรืออนาคต สำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท