“แบ่งแยกดินแดน” สู่โหวตนายกฯ เติมเชื้อไฟ "ยุทธบรรจบ"

สังคมกำลังจับตามองกระบวนการในการเลือกประธานสภาฯ นายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาล โดยเฉพาะการโหวตเลือกนายกฯ ที่มีชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ได้รับการเสนอชื่อจากฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลให้เป็นนายกฯ แต่ปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 เรื่อง กลายเป็นปัจจัยให้วุฒิสภาใช้เป็นเงื่อนไขในการไม่ออกเสียงสนับสนุนหรืองดออกเสียง

นอกจากเรื่องของ “หยก” นักเรียนของสถานศึกษาแห่งหนึ่งแล้ว การแสดงท่าทีของพรรคก้าวไกล ในการสนับสนุน ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Bangsa) ได้จัดงานเปิดตัวที่ห้องประชุมศรีวังสา คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี มีการจำลองการลงประชามติ โดยตั้งคำถามว่า “คุณเห็นด้วยกับสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองหรือไม่ ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียง ประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย” โดยแบ่งบัตรลงมติออกเป็น 2 แบบ ให้กับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

กิจกรรมดังกล่าวถูกจับตามองจากฝ่ายความมั่นคง โดยเฉพาะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ที่เก็บข้อมูลหลักฐานเพื่อดำเนินคดี เพราะมองว่ากิจกรรมดังกล่าวอาจขัดกฎหมาย แม้จะมีรายงานว่า ฝ่ายกฎหมายของรัฐเองยัง “ไม่ฟันธง” ว่าจะเข้าข่าย แต่หน่วยงานความมั่นคงต้องดำเนินการฟ้องร้องเพื่อพิสูจน์ทราบต่อไป

โดยเฉพาะคำกล่าวเปิดตัวของกลุ่มดังกล่าวที่ระบุว่า “เราเชื่อมั่นว่าการประชามติ คือสันติภาพที่ประชาชนเป็นเจ้าของ” หลังสิ้นสุดสนธิสัญญากรุงเทพฯ พ.ศ.2452 หรือ Anglo-Siamese Treaty of 1909 ปาตานีตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามหรือรัฐไทยในปัจจุบัน ปรากฏความพยายามของชาวปาตานีแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดความต้องการทางการเมือง ความพยายามเหล่านั้นแสดงออกทุกยุคทุกสมัย ทั้งแสดงออกผ่านการใช้อาวุธเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านและแสดงออกผ่านการต่อสู้ทางการเมืองโดยไม่ใช้อาวุธ หากแต่เราชาวปาตานีไม่สามารถกําหนดชะตากรรมของเราเองได้ ซึ่งเราเชื่อว่า สิทธิการปลดปล่อย สิทธิในการมีชนชาติ (Nation) รวมไปถึงสิทธิ ในการกําหนดชะตากรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ติดตัวเราแต่เดิมในฐานะมนุษย์ และสามารถขับเคลื่อนต่อสู้ได้ในสังคมประชาธิปไตยโดยไม่ถูกจํากัด คุกคามโดยกฎหมาย การสร้างสันติภาพปาตานีให้เกิดขึ้น...“คำกล่าวของนักศึกษาในวันนั้น

แน่นอนว่า ระดับนโยบายและหน่วยงานในพื้นที่มีความกังวลต่อการเติบโตของขบวนการนักศึกษาภายใต้องค์กร สโมสรของสถาบันต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ โดยมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนหลัก และยิ่งเป็นพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขบวนการบีอาร์เอ็นยังสถาปนาโครงสร้าง “รัฐซ้อนรัฐ” อยู่ จึงต้องเร่งตัดไฟแต่ต้นลม

ยิ่งการเมืองกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พรรคประชาชาติและเป็นธรรม รวมไปถึงพรรคก้าวไกล กลายเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ซึ่งได้รับการปลูกฝังเรื่อง “สิทธิ เสรีภาพ” มากขึ้นเรื่อยๆ 

ฝ่ายอำนาจเก่าจึงไม่ยอมให้มีการ “ตอกหมุด” สถาปนาเครือข่ายการเมืองดังกล่าวที่เป็นแนวร่วมมุมกลับให้กับขบวนการบีอาร์เอ็น แม้จะมีการเมืองเรื่องผลประโยชน์ที่ทหารกำกับอยู่นานแฝงอยู่ด้วย จึงไม่ยอมมีการปรับโครงสร้างองค์กรฝ่ายรัฐ แต่ก็ต้องยอมรับแนวคิดอนุรักษนิยมก็ยังเป็นด่านสุดท้ายที่จะทำให้การ “แบ่งแยกดินแดน” ไปไม่ถึงฝั่งฝันได้ง่ายๆ

หากย้อนดูแล้ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่มีพลวัตของการเคลื่อนไหวที่เป็นระบบ ทั้งการแสดงออกเชิงวัฒนธรรมในการรวมตัวเพื่อแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของความเป็นรัฐปาตานี การเกิดขึ้นของขบวนการนักศึกษา และการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “สิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง Right to Self Determination หรือ RSD”

ที่มีการตีความของฝ่ายที่ต่อสู้เรื่องนี้ว่า “ไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดน” และไม่ผิดมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเรื่องที่เคยกำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาติของรัฐปาตานีที่ถูกยึดครอง 

แต่ขณะที่ “ฝ่ายรัฐ” มองว่าแนวทางดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องตีความ และต้องใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่ก็ต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการขยายผลให้ขบวนการนักศึกษาถูกยกระดับ และอาจนำไปสู่การทำให้เยาวชนในฝ่ายกองกำลังของขบวนการเปิดปฏิบัติการและทำ “สงคราม” ต่อต้านรัฐด้วยความรุนแรง และนั่นจะทำให้การ RSD ที่ถูกปูทางไว้เข้ามารองรับการลงประชามติแบ่งแยกได้ โดยองค์กรนานาชาติจะเข้ามาแทรกแซง ซึ่งวันนั้น ม.1 ตาม รธน.อาจไม่มีความหมาย  

อย่างที่ พล.ต.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะโฆษกกองทัพภาคที่ 4 ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ฝ่ายความมั่นคงจับตากลุ่มที่มีเป้าหมาย “แยกดินแดน” มาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมือง ใช้ช่องทางการทำประชามติเพื่อแยกดินแดน ตั้งรัฐเอกราชขึ้นใหม่

จริงๆ แล้วกลุ่มเหล่านี้มีความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพิ่งมี แต่บางครั้งสังคมก็มองภายนอกว่าเป็นการเคลื่อนไหวด้วยความรุนแรง ด้วยการลอบยิง ลอบวางระเบิด แต่ในอีกด้านหนึ่งที่สังคมมองไม่เห็น ที่เหมือนเป็นภูเขาน้ำแข็ง ก็คือเรื่องของการต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ทางความคิด สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เขาพยายามต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยระดับยุทธศาสตร์ก็คือเป้าหมายการแบ่งแยกดินแดน ฉะนั้น กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จึงต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย และจำเป็นจะต้องเข้าดำเนินการทางกฎหมายต่อทุกพฤติกรรม ทุกการกระทำที่พบเข้าข่ายผิดกฎหมาย โดยไม่ละเว้น

จึงไม่แปลกที่ท่าทีของพรรคการเมืองต้องออกมายืนยัน “เสียงแข็ง” ว่า ไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนที่ขัดมาตรา 1 กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่เคารพสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง โดยเฉพาะการมีพื้นที่ปลอดภัยให้แสดงออกซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการพูดถึง และยังต้องเปิดพื้นที่ในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องนี้

ไม่ว่าจะเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคประชาชาติ หรือนายกัณวีร์ สืบแสง พรรคเป็นธรรม ที่มองว่าถ้าไม่พูดชัดเจน อาจเข้าทางเกมการเมืองของอีกฝ่าย ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองและ ส.ส.ของตนเอง

แต่อย่างที่กล่าวว่า การดำเนินการของรัฐในขณะนี้ใช้ความระมัดระวังอย่างสูง เพราะการเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่มีการเตรียมการรองรับการ “ทำสงคราม” เพื่อไปสู่ “การเจรจา” และเข้าสู่กระบวนการแบ่งแยกดินแดนตามกติกาสากล ด้วยการให้ความรู้เรื่อง RSD อย่างกว้างขวาง

ซึ่งทั้งหมดนั้นต้องผ่านขั้นตอนของการใช้กำลังในการปะทะก่อน และ “เยาวชน” ก็กลายเป็นด่านหน้าของยุทธบรรจบ ที่จะนำไปสู่การ “เจรจาสันติภาพ” ตามเกมของขบวนการ

การเดินเครื่องทางการเมือง ในเรื่องของความมั่นคงจึงต้องทำอย่างระมัดระวังและ มองอย่างรอบด้าน ทั้งฝ่ายอนุรักษนิยมและฝ่ายก้าวหน้า ไม่เช่นนั้นอาจเข้าทางของคนที่อยู่นอกรัฐ

ยกเว้นว่ามีใครบางคนตั้งใจเดินเข้าสู่เกมนั้น!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา1/1'เศรษฐกิจ-การเมืองนำ เว้นระยะ'ความมั่นคง-กองทัพ'

โฉมหน้า “คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1/1” ที่ออกมา นอกจากจะเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตัวบุคคลของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เป้าหมายที่ฉายภาพชัดต่อทิศทางการบริหารงานของรัฐบาล

ดิจิทัลวอลเล็ตสะดุด'พรบ.ธ.ก.ส.' แจกเงินหมื่น‘ลูกผีลูกคน’อีกแล้ว

ภาพ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง นำทีมหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค หรือแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มาแถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบหลักการ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

คณะก้าวหน้า-ธนาธรปักธง "สว.สีส้ม" แชร์เก้าอี้สภาสูง

การเมืองช่วงเดือนพฤษภาคม วาระสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องติดตามก็คือ การได้มาซึ่ง วุฒิสภา-สภาสูง ชุดใหม่ ที่จะมาแทนสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดปัจจุบัน ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. แต่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า สว.ชุดใหม่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่

ศึก“วางคน-วางเกม”รับมือ สะท้อนผ่านวอรูม“เมียนมา”

ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางหลังจาก นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา

‘บิ๊กโจ๊ก’ดิ้นสู้หัวชนฝา ยื้อแผน‘ฆ่าให้ตาย’

ความเคลื่อนไหวของ บิ๊กโจ๊ก-พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เที่ยวล่าสุด ถือเป็นการเขย่าวงการการเมือง ตำรวจ และองค์กรอิสระ

โปรดทราบ! 'วันนอร์' ลั่นตำแหน่งประธานสภาฯ หากไม่ได้ลาออก ใครก็เปลี่ยนไม่ได้

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาชาติ ให้การต้อนรับสมาชิกพรรคประชาชาติ จากกรุงเทพฯ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และนนทบุรี จำนวน 400 คน