แก้พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น ปลดล็อกพรรคลุยหาเสียง

ภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 อย่างน้อยได้ใช้กับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเกิดอุปสรรคปัญหาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะพรรคการเมืองลงไปช่วยผู้สมัครหาเสียงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม สภานิติบัญญัติ (สนช.) ได้มีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว เมื่อปี 2562 หนึ่งในมาตราสำคัญที่ได้แก้ไข คือ มาตรา 34 บัญญัติว่า “ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐกระทำการใดๆ โดยมิชอบ ด้วยหน้าที่และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด หรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ยุติหรือระงับการกระทำนั้นได้”

“ให้กรรมการการเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำนั้นได้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ”

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีพรรคการเมืองใดกล้าออกหน้าช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ที่เป็น ส.ส. เพราะมาตรา 34 ห้ามไว้ว่า “ห้ามดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด”

นอกจากนี้ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นปี 62 มาตรา 69 ยังห้ามไม่ให้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใดๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร เว้นแต่เป็นการกระทำตามหน้าที่และอำนาจ

และมีการกำหนดโทษไว้ในมาตรา 126 วรรคสอง ว่า หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี

โดยคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” มีความหมายรวมถึง ส.ส.และรัฐมนตรี ประกอบด้วยบทลงโทษสุดโหด ทำให้ “การเลือกตั้งท้องถิ่นไร้เงาพรรคการเมืองช่วยคนของตัวเองหาเสียง” เกิดคำถามตามมาว่า บทบัญญัติมาตรา 34 ย้อนแย้งในตัวเองหรือไม่ ให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนลงสมัคร แต่ห้ามช่วยหาเสียงให้ตัวแทนพรรค

ฉะนั้น เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทน ส.ส.มายื่นหนังสือถึง “ชวน หลีกภัย” ประธานสภาฯ ขอแก้ไข พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น มาตรา 34 โดยให้บัญญัติใหม่ ดังนี้

“ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น กระทำการใดๆ โดยมิชอบด้วยหน้าที่และอำนาจ อันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกรรมการเลือกตั้ง หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คณะกรรมการเลือกตั้งมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ยุติหรือระงับการกระทำนั้นได้

ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐกระทำการใดๆ โดยมิชอบด้วยหน้าที่และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด หรือดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ให้กรรมการการเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำนั้นได้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ”

หลักๆ คือตัดคำว่า “หรือห้ามดำเนินการใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครใด”

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ชี้ว่า ด้วยการกำหนดไว้เช่นนี้ อาจนำไปสู่การตีความได้ว่า ถ้าไปช่วยหาเสียงเท่ากับเป็นคุณแก่ผู้สมัคร ขณะเดียวกันหากไปขึ้นเวทีปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์ผู้สมัครฝ่ายตรงข้ามถือเป็นการให้โทษได้ ซึ่งคู่แข่งก็จะหยิบไปร้องต่อ กกต.

นอกจากนี้ยังเห็นว่า มาตรา 34 เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อพรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครในนามพรรคได้ ก็ย่อมสามารถที่จะช่วยรณรงค์ในการหาเสียงเลือกตั้งได้เช่นกัน บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสภาพความเป็นจริงที่ส่งเสริมให้ประชาชนและพรรคการเมืองมีส่วนร่วมกับการปกครองส่วนท้องถิ่น

ดังนั้นจึงต้องแก้ไขให้ข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถดำเนินการใดๆ ที่มีผลต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

เส้นทางการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ก็จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ส่วนใหญ่ก็มาจาก สนช.ที่เคยแก้ไขกฎหมายนี้ห้ามไม่ให้ ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง ช่วยรณรงค์หาเสียงมาแล้ว หลายฝ่ายจึงอาจกังวลว่าจะเกิดการสะดุดได้ แต่แว่วว่าผู้ใหญ่ฝ่ายบริหารคุยกันเรียบร้อยแล้ว เส้นทางน่าจะสดใส ไร้รอยต่อ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“อุกกาบาต” เขย่ากรมปทุมวัน แฉ “ส่วยสติกเกอร์” หมื่นล้าน

ชนะการเลือกตั้งว่ายากแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกลของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกฯ คนที่ 30 ยิ่งยากกว่า ถึงแม้จะชิงลงมือบันทึกความเข้าใจ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล แต่ด้วยนโยบายสุดโต่งแตะสถาบันเบื้องสูงศูนย์รวมจิตใจของคนไทย ทำให้พรรคแนวร่วมไม่เอาด้วย

นายกฯ เผยนักลงทุนกังวลจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ลั่นทุกอย่างกำลังไปด้วยดี ระวังอย่าให้เสียหาย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม โดยกล่าว “สวัสดีนะครับสื่อมวลชนที่รักทุกท่าน ทั้งประชาชนที่รับฟังอยู่ทางบ้านด้วยการประชุมครม.

ดร.ณัฎฐ์ ชำแหละฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลพิธา จับตา 'การเมืองสามก๊กพลิกขั้ว'

ปมแย่งชิงตำแหน่งฟอร์มทีมรัฐบาลพิธา “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ ปล่อยระยะเวลาเนิ่นนาน การเมืองสามก๊กพลิกขั้ว ตัวแปรพรรคภูมิใจไทยและสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งปม 3 พรรคเล็กฟ้องศาลปกครองล้มกระดานเลือกตั้ง

'ลุงป้อม' เซ็งเลสเตอร์ฯตกชั้น ปัดเอี่ยว 'แป๊ะ' โผล่พร้อม 'หนู-นิด'

ผู้สื่อข่าวรายงานก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุม ครม.อย่าง

'วิษณุ' เผย หาก 'บิ๊กตู่' อยู่ยาว งบหน่วยงานตํ่ากว่า 100 ล้าน ไม่ต้องขอ กกต.

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีหากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนต

กกต. ตีตกคำร้องเอาผิด 'เพื่อไทย' หาเสียงแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท

สำนักงาน​คณะกรรมการ​การ​เลือกตั้ง​ (กกต.)​ได้มีการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ที่ประชุมกกต.พิจารณา กรณีมีการยื่นร้องให้กกต.ตรวจสอบนโยบายหาเสียงกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทของพรรคเพื่อไทยว่าเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้