ภายหลังเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการรวบรวมญัตติของ พรรคร่วมฝ่ายค้าน ว่าแต่ละพรรคจะอภิปรายรัฐมนตรีคนไหน และมีข้อกล่าวหาเป็นอย่างไร เพื่อนำมาเรียบเรียงเขียนเป็นญัตติเดียว
ก่อนจะเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ โดยคาดว่าการอภิปรายจะเริ่มขึ้นหลังจากนั้น 15 วัน ตามความพร้อมของรัฐบาล หรือประมาณช่วงต้นถึงกลางเดือนมีนาคม
แม้ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการเตรียมผู้อภิปรายไว้แล้วกว่า 20 คน แต่เหตุผลที่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลในการอภิปรายได้ “เพราะตามกระบวนการ การเปิดเผยข้อมูลอาจจะนำไปสู่การที่เข้าไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หรืออาจจะมีการเสนอจ่ายค่าตอบแทนเพื่อไม่ให้พูดเรื่องนั้นๆ”
จากการเก็งข้อสอบ หลายฝ่ายมองไปในทิศทางเดียวกันว่าน่าจะล็อกเป้าไปที่การล้ม รัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะ "พรรคภูมิใจไทย" รวมถึง "คนในเครือข่ายรัฐบาลไทยรักไทย"
และ นายใหญ่เพื่อไทย-ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มากกว่า นายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือไม่
เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้เริ่มมีการเปิดเรื่องใหม่ เผยข้อมูล ชี้ช่องโหว่ เพื่อเชื่อมโยงไปถึง "บุคคลที่อยู่เบื้องหลัง" ผู้ชักใยในหลายประเด็น เพราะหากจะโจมตีแค่เพียง น.ส.แพทองธาร ก็อาจทำให้สังคมโฟกัสผิดประเด็นจนสาวไส้ไปไม่ถึง
ด้านแกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) ต่างประสานเสียงปกป้องเชิงดักคอ หากมีการพาดพิงถึงนายทักษิณ อย่าง นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวว่า “การอภิปรายไม่ไว้วางใจคือให้อภิปรายรัฐบาล มีข้อวิจารณ์หรือข้อแนะนำอะไรให้กับรัฐบาล ไม่ใช่จะอภิปรายใครก็ทำได้ เพราะมีกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับสภากำหนดอยู่ ขอให้ฝ่ายค้านตรวจสอบทบทวนให้ดี ถ้าไปอภิปรายคนนอก ข้อบังคับสภาและกฎหมายไม่ได้คุ้มครอง”
ไม่เว้นกระทั่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ผู้ซึ่งคาดว่าจะถูกวางตัวเป็นหนึ่งในผู้ถูกอภิปรายกรณีการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจ ชั้น 14 ของนายทักษิณ ได้ระบุว่า “กังวลถึงประเด็นข้อกฎหมาย เนื่องจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) ระบุไว้ว่า เรื่องที่ ป.ป.ช.รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว หากมีการนำรายละเอียดไปเปิดเผยจะมีความผิดตามกฎหมาย อีกทั้งข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎรต้องอภิปรายตรงประเด็น การพาดพิงบุคคลภายนอกเป็นเรื่องไม่สมควร พร้อมย้ำว่า ประเด็นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คือเรื่องไม่สมควร”
ขณะที่ นายทักษิณ ให้สัมภาษณ์ จะมีการฟ้องหรือไม่ว่า “ผมเข้าไปในสภาไม่ได้ แต่อาจไปอยู่หลังสภาคอยตอบให้ ถ้าใครสงสัยอะไรมาถามได้ ท่าจะดีเหมือนกัน หากพาดพิงจริงก็ตอบได้ ให้มาถามก็แล้วกัน ส่วนจะตอบในรูปแบบใด ไม่มีอะไรต้องกังวล และไม่ต้องติวให้นางสาวแพทองธาร”
ทำให้ต้องจับตารอชมเซอร์ไพรส์ที่ พรรคประชาชน เตรียมเปิดข้อมูลที่ได้รับจากข้าราชการเกี่ยวกับการ ทุจริตคอร์รัปชันภายในกระทรวง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือ "เปิดทาง" ให้ดำเนินการโครงการใดๆ ว่าจะสามารถ เปิดแผลก่อนโรยเกลือ ได้เท่ากับสมัย "พรรคก้าวไกล" หรือไม่
เนื่องด้วยยังมีความกังวล ภายหลังไม่นานนี้ สำนักงาน ป.ป.ช.ได้ทำหนังสือลับส่งถึง อดีต สส.พรรคก้าวไกล ที่ถูกกล่าวหากระทำการจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกรณีกรณีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ
ในจำนวน 44 คนนั้นมีผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์ 10 ปี ไปแล้ว 8 คน และกลายเป็นอดีต สส. อีก 11 คน ทำให้ยังคงเหลือ สส.ปชน.ที่ยังปฏิบัติหน้าที่ในสภาเพียง 25 คน แบ่งเป็นแบบบัญชีรายชื่อ 17 คน และแบบเขตอีก 8 คน
โดยเฉพาะ นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค ปชน. ที่เป็นหัวหอกเปิดเรื่อง "ทุนจีน-ไทยเทา" มาตั้งแต่ต้น
ให้ความเห็นว่า “ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม ป.ป.ช.ต้องรีบขนาดนี้ เรื่องชี้แจง เราพร้อมจะไปชี้แจงอยู่แล้ว เราในฐานะที่ต้องเตรียมชี้แจง ก็ยอมรับว่าเสียสมาธิในการเตรียมอภิปราย เพราะต้องมานั่งคิดเรื่องคดีความ รวมถึงบางคนก็ต้องถอนตัวจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่เราก็พยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด และถ้าตัวเลขฝ่ายค้านลดลง ก็ยอมรับว่ามีผลต่อการตรวจสอบอย่างแน่นอน”
เพราะ “ขั้นต่ำที่เราหวังผล คือการทำให้ประชาชนเจ้าของประเทศได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศของตนเอง ผลสะเทือนต่อเรื่องนี้ มันไม่ใช่แค่วันนี้ แต่รวมไปถึงอนาคต” นายรังสิมันต์กล่าว
ต้องจับตาทิศทางการโหวตของ "สส.พรรคร่วมรัฐบาล" ภายหลังปรากฏรอยร้าวปริเพิ่มเรื่อยๆ ว่าจะยังคงเป็นเอกภาพหรือไม่
และติดตามกันต่อไปว่า "เวทีซักฟอกครั้งนี้" จะเป็นครั้งสุดท้ายในการนั่ง "เก้าอี้รัฐมนตรี" ของใครบ้าง หรือจะกลายเป็นเหล่า "25 อดีต สส.ก้าวไกล" เองกันแน่ที่ได้อภิปรายทิ้งทวน ก่อนถูก ป.ป.ช.สั่งฟัน!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
10เม.ย.ชี้ชะตาชั้น14 หมออมรสรุปสอบชงแพทยสภา/อิ๊งค์ฉลุย319เสียงไว้ใจ
ผ่านฉลุย โหวตลงมติไว้วางใจ "แพทองธาร" ท่วมท้น 319 ต่อ 162 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง
เปิดผลสอบ "แพทยสภา" ฟอกขาวหรือเอาผิด หมอรักษา "ทักษิณ"
ในการลุกขึ้นชี้แจงของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ในประเด็นเรื่อง ดีลปีศาจ-การกลับประเทศไทยของทักษิณ ชินวัตร บิดานายกรัฐมนตรี และการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ รพ.ตำรวจ เป็นเวลา 6 เดือน ทำให้นายทักษิณไม่ต้องรับโทษติดคุกแม้แต่วันเดียว
จบแล้ว สรุปผลสอบแพทยสภา ปมทักษิณนอนชั้น 14 ชงที่ประชุมใหญ่ลงมติ 10 เม.ย.
ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี กรรมการแพทยสภาฯ ในฐานะประธานอนุกรรมการสอบสวนเฉพาะกิจ แพทยสภา สอบสวนกรณีนายทักษิณ ชินวัตร พักรักษาตัวที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจเป็นเวลาร่วมหกเดือน
'สุริยะใส' วิเคราะห์ 'เพื่อไทย-ปชน.' พันธมิตรทางอุดมการณ์ ขาดสะบั้นแล้วจริงหรือ?
ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเผยแพร่บทวิเคราะห์ “เพื่อไทย vs พรรคประชาชน: พันธมิตรทางอุดมการณ์
'คปท.' ถาม 'ปชน.' เรื่อง ความถูกต้องของบ้านเมือง เดินต่อหรือไม่ หรือแค่จบในสภา
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) ได้โพสต์เฟสปุ๊กภายหลังที่ประชุมสภาฯลงมติญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ว่า
'เท้ง' มั่นใจศึกอภิปรายไม่เสียของแน่นอน!
'เท้ง' ยันไม่เสียของแน่นอน ซักฟอก 'นายกฯอิ๊งค์' ไม่เป็นผล เตรียมยุทธการโรยเกลือต่อ ไม่ขอประเมินอายุรัฐบาล แต่ถ้า 'แพทองธาร' อยู่ต่อ คนไทยจะอายุสั้นลง