"เวิลด์แบงก์" ขยับจีดีพีไทยปีนี้โตแตะ 3.1% อานิสงส์บริโภค-ท่องเที่ยว-ส่งออกทยอยฟื้น

27 ก.ย.2565 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 เป็น 3.1% จากเดิมที่ 2.9% เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ การท่องเที่ยว และการส่งออกที่กำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลผลิตภาคการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ ขณะที่ปี 2566 เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ระดับ 4.1%

นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์มองว่ามาตรการด้านการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มุ่งเป้าสนับสนุนภาคธุรกิจยังเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ขณะที่การอ่อนค่าลงของเงินบาทนั้น ก็สอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันของเงินเฟ้อ และผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในหลายประเทศ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ทำให้สกุลเงินดอลล่าร์ปรับแข็งค่าขึ้น

ขณะเดียวกัน ยังได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ทั้งหมด 23 ประเทศในปีนี้ เหลือ 3.2% จากปีก่อน อยู่ที่ 7.2% โดยปัจจัยส่วนใหญ่มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน แต่หากไม่รวมจีน การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก คาดว่าปีนี้จะขยายตัวถึง 5.3% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 2.6% ขณะที่เศรษฐกิจจีนซึ่งครองสัดส่วน 86% ของจีดีพีภูมิภาค คาดว่าปีนี้จะชะลอตัวเหลือ 2.8% จากปีก่อนอยู่ที่ 8.1%

“การฟื้นตัวของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคมาจากการบริโภคของภาคเอกชนที่ฟื้นขึ้นมาหลังจากการระบาดของโควิด-19สายพันธุ์เดลตาในปีที่ผ่านมาและความต้องการจากทั่วโลกสำหรับการส่งออกของภูมิภาคยังคงอยู่ ขณะที่การคุมเข้มนโยบายการเงินหรือการคลังยังคงมีจำกัด” เวิลด์แบงก์ ระบุ

ขณะเดียว เวิลด์แบงก์ ยังคาดการณ์ว่า เวียดนามจะเป็นผู้นำในภูมิภาคด้วยการเติบโตของจีดีพีปีนี้ที่ระดับ7.2%รวมทั้งคาดการณ์ว่าจีดีพีของฟิลิปปินส์ ไทย และกัมพูชา จะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดภายในสิ้นปี 2565

อย่างไรก็ดี มี 3 ปัจจัยที่เป็นภัยคุกคามต่อการเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืนของภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1. แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะกดดันความต้องการส่งออก การผลิต และสินค้าโภคภัณฑ์ของภูมิภาค 2. ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในต่างประเทศยังคงเร่งให้ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุน การอ่อนค่าของสกุลเงินท้องถิ่น และทำให้ภาระในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น และ 3. มาตรการเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและหนี้สินบางประการกำลังบิดเบือนตลาดอาหาร เชื้อเพลิง และการเงิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ยัน ร่วมโต๊ะอาหารเที่ยงกับ 'เอกนัฏ'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ร่วมโต๊ะอาหารกลางวันกับนายกรัฐมนตรีและคณะ

เสียความรู้สึก! 'ใบเฟิร์น' โพสต์จองทัวร์แต่ไม่ตรงปก ช่างภาพหัวหมอถ่ายแต่งานตัวเอง

จองทัวร์ไปปากีสถานแบบ Private photo trip แต่นักแสดงสาว ใบเฟิร์น-อัญชสา มงคลสมัย กลับต้องมาเสียความรู้สึกเมื่อรูปแบบทัวร์ไม่ตรงปกกลายเป็นการ Join trip แถมช่างภาพที่รับหน้าที่ถ่ายภาพให้ลูกทัวร์กลับสนใจแต่การถ่ายภาพงานส่วนตัวของตนเองจนลูกทัวร์บางคนได้ภาพแค่เพียง 2ภาพเท่านั้น โดยสาวใบเฟิร์นได้โพสต์เหตุการณ์ทั้งหมดลงในเพจ "Bivoyage - ใบบันทึกเดินทาง"

ดีครับท่าน ใช่ครับนาย 'เสริมศักดิ์' ไม่เกี่ยงนั่งท่องเที่ยวแม้ถนัดมหาดไทย

“เสริมศักดิ์” พร้อมรับทุกตำแหน่ง เผยถนัดงาน “มหาดไทย” แต่ไม่ขัด หากได้นั่ง รมว.ท่องเที่ยวฯ เพราะมีหลักในการทำงานอยู่แล้ว