
รฟม.ชี้แจงรายละเอียด 5 ข้อ โต้า ‘บีทีเอส’ยืนยันความโปร่งใสประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ย้ำไม่ได้ตัดสิทธิหรือกีดกันบีทีเอส ชี้ประมูลรอบใหม่ ศาลฯเป็นผู้พิจารณาถูกต้องทุกขั้นตอน
11 ธ.ค.2565-รายงานข่าวจากการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศ(รฟม.) แจ้งว่า ตามที่ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมเวทีเสวนากิจกรรม “ฟัง-คิด-ทำ : ถึงเวลาหยุดคนโกง หยุดงบประมาณรั่วไหล” ซึ่งได้กล่าวถึงผลการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และกล่าวหากระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น
รฟม. ใคร่ขอเรียนชี้แจงและยืนยันกรณีดังกล่าวดังนี้
1.การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตามประกาศเชิญชวนฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นการดำเนินการที่โปร่งใสภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม ที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนได้ส่งผู้สังเกตการณ์ 5 ท่าน เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการพิจารณาคัดเลือกเอกชนฯ ทุกขั้นตอน และไม่ปรากฏว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) ได้รับแจ้งข้อสังเกตใดจากผู้สังเกตการณ์
2.การคัดเลือกเอกชนฯ ครั้งแรก ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ได้เคยยื่นข้อเสนอไว้นั้น ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และเอกชนที่ยื่นข้อเสนอฯ ทั้ง 2 ราย ได้รับคืนซองเอกสารข้อเสนอฯ แล้ว จึงไม่สามารถกลับไปดำเนินการให้แล้วเสร็จได้อีก และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่แต่อย่างใด
3.ข้อเสนอของ BTSC ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเมื่อปี 2563 ตามที่กล่าวอ้างก็มิได้ผ่านการตรวจสอบและพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินที่ประกอบด้วยข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ และไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้กับข้อเสนอที่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และกระบวนการที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้
4.การที่ BTSC ไม่เข้าร่วมการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 โดยกล่าวอ้างว่าการกำหนดเงื่อนไขทำให้พันธมิตร บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งฯ ไม่สามารถยื่นข้อเสนอได้ ศาลปกครองกลางก็ได้คำสั่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ยกคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามที่ BTSC ร้องขอ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองกลางได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นการดำเนินการที่เป็นไปตามขั้นตอนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 6 พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ประกาศเชิญชวนฯ มีการเปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วมการคัดเลือกมากขึ้น เกิดการแข่งขันมากกว่าประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ประกาศเชิญชวนฯ จึงไม่มีลักษณะตัดสิทธิหรือกีดกันผู้ร้องมิให้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ ซึ่งผู้ร้องฯ สามารถยื่นข้อเสนอได้เช่นเดียวกันกับเอกชนรายอื่น
5.รฟม. ขอยืนยันว่า การดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการที่กฎหมาย รวมถึงมติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนกำหนดอย่างครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาข้อเสนอแล้วเสร็จ และสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ โดย รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป
สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จับตา 'อธิรัฐ' เข็นเรื่องร้อน รถไฟสายสีส้มเข้าครม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันนี้ กระทรวงคมนาคม โดย นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทน รมว.คมนาคม
ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหา 'สุขุมพันธ์ุ' กับพวก 13 ราย ปมส่อฮั๊วประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียว
หลังจากที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีตั้งแต่งตั้งองค์คณะชุดใหญ่ ไต่สวนฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับ
ครม. รับทราบผลงานปีงบ 65 ของ รฟท. รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเปิดบริการปลายปีนี้
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 7 มี.ค. 66 ได้รับทราบผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) รวมถึงโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและแผนงานในอนาคต ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
รฟม. เร่งเจรจาแก้ปมรับภาระดูแลโครงสร้างสายสีส้มเดือนละ 41 ล้าน
รฟม.เผยรถไฟฟ้าสีส้มส่วนตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” คืบ 98.8% “รฟม.” ลุยเจรจาผู้รับจ้างส่วนออก-BEM ร่วมรับภาระค่าดูแลรักษาโครงสร้างงานโยธาเดือนละ 41 ล้าน ชี้หากลงนามจบปัญหาทันที ผู้รับสัมปทานรับภาระทั้งหมด
รฟม.เร่งเครื่องสรุปแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจ.ภูเก็ต
รฟม. กางแผนเตรียมจัดการประชุมกลุ่มย่อย โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลองและส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย
ลุ้น! 'ศาลปกครองสูงสุด' พิจารณาคดีนัดแรกปม 'รถไฟฟ้าสายสีส้ม' ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี
ศาลปกครองสูงสุดออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรก คดี รฟม.อุทธรณ์คำพิพากษาศาบปกครั้งชั้นต้นให้บีทีเอสซีชนะในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)