‘ศักดิ์สยาม’ สั่งทบทวนแผนหยุดเดินรถเข้า ‘หัวลำโพง’ เล็งเปิดเวทีสาธารณะรับฟังทุกมิติ

“ศักดิ์สยาม” เตรียมทบทวนแผนหยุดให้บริการเดินรถเข้าหัวลำโพง ปรับรูปแบบสอดรับความต้องการประชาชน พร้อมจัดเวทีสาธารณะรับฟังทุกความเห็นก่อนหาข้อยุติ ยันอยากแก้จราจร-แก้หนี้สะสม

23 พ.ย.2564-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีการพิจารณาหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง พร้อมพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมืองว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนข้อมูลแผนการเดินรถให้รอบด้าน โดยพิจารณาให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมิติการบริหารจราจร และมิติการให้บริการประชาชน โดยพิจารณาการปรับรูปแบบ และจำนวนรถไฟให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมถึงความเป็นไปได้ในการปรับให้ขบวนรถไฟวิ่งนอกชั่วโมงเร่งด่วน เป็นต้น  

นอกจากนี้ ได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเวทีสาธารณะชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน และจัดทำข้อมูลให้ชัดเจนในประเด็นดังกล่าว เพื่อหาข้อยุติและแก้ปัญหาให้ได้ทุกมิติ รวมถึงมาตรการเยียวยาต่างๆ รวมถึงการให้ข้อมูลด้านการพัฒนาหัวลำโพงให้เห็นภาพรวมทุกประเด็น ทั้งการอนุรักษ์อาคาร และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ รวมถึงการบริหารสถานีกลางบางซื่อ โดยให้พิจารณาข้อมูลการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเน้นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า รฟท. อยู่ระหว่างการประชุมหารือ โดยได้มีการตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ในการดำเนินการบริหารที่ดินของการการรถไฟฯ ทุกแปลง หลังจากกระทรวงคมนาคม พิจารณาข้อมูลของการรถไฟฯ พบว่า มีการขาดทุนสะสมต่อเนื่อง หรืออยู่ที่ประมาณ 1.5-1.6 แสนล้าน ขณะที่ตัวเลขจากกระทรวงการคลังจะอยู่ที่ประมาณเกือบ 6 แสนล้าน (หนี้ที่เกิดขึ้นจริง) จึงถือเป็นโจทย์สำคัญที่กระทรวงคมนาคมจะต้องแก้ไขปัญหาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่อไป 

ทั้งนี้ ในปัจจุบันทางการรถไฟฯ มีภาระในเรื่องของการบริหารที่มาการขาดทุนสะสมมานาน ซึ่งจากการบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ประเมินรายได้ขั้นต่ำสุดใช้ระยะเวลาประมาณ 30 ปี จะมีรายได้เข้ามารวมระยะเวลาบริหารจัดการประมาณ 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท  

“แนวทางการพัฒนาดังกล่าว ไม่ได้เริ่มต้นในยุคสมัยของผม ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชน นายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นเรื่องนี้และได้มีการดำเนินการในการจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ ซึ่งสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ขณะนี้ในการดำเนินการขณะนี้ได้มีการนำข้อมูลสินทรัพย์ของการรถไฟฯ ที่สามารถจะสร้างรายได้ให้การรถไฟฯ เนื่องจากการรถไฟฯ มีที่ดินมากมายแปลงใหญ่ และมีศักยภาพสามารถที่จะพัฒนาและสร้างรายได้ เช่น สถานีกรุงธนบุรี,สถานีกลางบางซื่อ,ที่ดินบริเวณอาร์ซีเอ, สถานีแม่น้ำ และที่ดินบริเวณสถานีหัวลำโพง ซึ่งเป็นเรื่องการวางแผนที่ต้องดำเนินการ ไม่ใช่ว่าจะปิดพรุ่งนี้ เรื่องนี้มีการพูดคุยกันมานานแล้ว” นายศักดิ์สยาม กล่าว  

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาเรื่องการเดินรถไฟฯ เข้ามาในกลางเมืองนั้น ทางรัฐบาลได้เล็งเห็นเรื่องดังกล่าว มานานแล้ว จึงได้ดำเนินการสร้างโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟทางไกล, รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต ขณะเดียวกัน อีกปัญหาหนึ่งของกรุงเทพมหานคร (กทม.) คือ ปัญหาการจราจร เนื่องจากจุดตัดทางถนนกับทางรถไฟ ประกอบกับเมื่อได้ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วนั้น จึงมองว่า ควรมีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ อย่างมีผลเป็นรูปธรรม  

“วันนี้ได้รับทราบข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่แสดงความเห็น รวมถึงทุกภาคส่วนที่เป็นกังวลเรื่องนี้ว่า จะกระทบต่อประชาชนที่ใช้บริการสถานีหัวลำโพงในการเดินทางเข้ามา-ออกไปหรือไม่นั้ร ขณะนี้กระทรวงคมนาคม และ รฟท.ได้บูรณาการร่วมกัน มีการสร้างระบบขนส่งมวลชนรอง (ฟีดเดอร์) เช่น ขสมก.ที่จะเดินทางจากหัวลำโพงไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในขณะเดียวกันได้ประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ว่าจะมีแนวมางอีกหนึ่งทางเลอกในการเชื่อมการเดินทางได้” นายศักดิ์สยาม กล่าว  

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ปัญหาหลัก คือ การใช้ประโยชย์จากสถานีกลางบางซื่อที่ได้ลงทุนก่อสร้างมูลค่าถึง 3 หมื่นกว่าล้านบาท ในขณะเดียวกัน ปัญหาการจราจรเป็นปัญหาใหญ่ของกรุงเทพฯ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะมีการพิจารณายืนยันว่ากระทรวงคมนาคมและรัฐบาลจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งจะต้องหาวิธีการที่เหมาะสม พร้อมทั้งเปรียบเทียบข้อมูลทั้งหมด ที่สำคัญ คือ การพัฒนาประเทศ หากยังไม่สามารถหาตัวแบบที่จะอยู่ร่วมกันได้ ระหว่างสิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์กับโลกสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาประเทศ จำส่งผลให้เสียโอกาส ดั่งเช่นในอดีตประเทศไทยเคยเป็น 1 ใน 5 เสือในทวีปเอเชีย ซึ่งในวันนี้หลายประเทศนำหน้าประเทศไทย เพราะยังไม่กล้าตัดสินใจ 

อย่างไรก็ตาม จะต้องรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย และประเมินว่าอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ และเรื่องใดที่จะต้องดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ในปัจจุบันมี 118 ขบวนที่ให้บริการเข้าสู่สถานีหัวลำโพง ซึ่งต้องมาพิจารณาว่า จะปรับลดเหลือ 22 ขบวนที่ให้บริการหลังเปิดให้บรืการรถไฟฟ้าสายสีแดง เชิงพาณิชย์ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ มีความจำเป็นที่จะต้องเหลือขบวนให้บริการคงไว้หรือกระทบต่อการจราจรอย่างไร ต้องมีการปรับตารางเวลาการให้บริการหรือไม่ เนื่องจากเมื่อเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อแล้ว จะต้องมีการบริหารดูแลสถานี รวมถึงการบำรุงรักษา เพราะหากเปิดวิ่งรถแล้ว อาจจะไม่คุ้มค่าต่อการเปิดสถานีกลางบางซื่อ ก็จะเป็นภาระต่อการรถไฟฯ โดยต้องประเมินว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบอย่างไร  

“ผมกล้าตัดสินใจอยู่แล้ว ส่วนใครจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ว่าไป เพราะผมไม่อยากให้การรถไฟฯอยู่แบบนี้ ผมต้องการให้การรถไฟฯ มีสิ่งที่จะสามารถตอบคนในประเทศนี้ว่าเป็นการรถไฟฯจะเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งสามารถประกอบกิจจการแล้วมีกำไรและสามารถดูแลประชาชนได้จริง อย่าเพิ่งไปดราม่ากัน” นายศักดิ์สยาม กล่าว 

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่าในส่วนของกรณีของการหยุดการเดินสถานีหัวลำโพงนั้น ก็จะมีการประชุมพิจารณาทบทวนว่า มีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ ต้องพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง และหากต้องมีการจัดรถรับ-ส่งบริการ รวมถึงต้องหารือกับการรถไฟฯ และดูตัวเลขอีกครั้ง เนื่องจากจะต้องมีการประเมินเปรียบเทียบว่า การวิ่งให้บริการรถไฟเข้ามาสถานีหัวลำโพงกับการจราจรที่ติดขัดในช่วงปรับผ่านว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมจะพิจารณาถึงสิ่งที่จะมีผลกระทบต่างๆ ว่า จะสามารถปรับเวลาได้หรือไม่ 
 
“ในใจลึกๆ คือ ต้องการแก้ไขปัญหาจราจร และแก้ไขปัญหาของการบริหารของรถไฟฯ ที่เบื้องต้น จะต้องนำตัวเลขและข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ถึงไม่มีรถไฟวิ่งตัดเลยก็ไม่ใช่ว่ารถจะไม่ติดไม่มีแน่นอนเพราะรถมันเยอะแต่ก็มองว่าจะดีขึ้นแน่นอน แต่ก็ต้องพิจารณาตัวเลขข้อมูลก่อนตัดสินใจ ทุกเรื่องสามารถทบทวนได้หมด ทุกวันนี้มีการปรับจาก 118 ขบวน เหลือ 22 ขบวน และจะสามารถปรับได้อีกหรือไหม” นายศักดิ์สยาม กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดคำวินิจฉัย ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย ชี้ความเป็นรมต. 'ศักดิ์สยาม' ไม่สิ้นสุดลง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 1 เสียง ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5)

ภูมิใจไทยรอด! 'นักวิชาการ' ชี้เป็นความผิดส่วนบุคคล ส่วนเงินบริจาคไม่ผิดกฎหมาย

รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความเห็นต่อโอกาสยุบพรรคภูมิใจไทย จากความผิดของเลขาธิการพรรคว่า

ซ้ำอีกดอก! 'พี่ศรี' จ่อร้อง กกต.กรณี ซุกหุ้น 'ศักดิ์สยาม-ภูมิใจไทย' ต้องถึงยุบพรรคหรือไม่

นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เปิดเผยว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 1 ให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีต รม

อนุกกต.เรียกหจก. บุรีเจริญ แจงบริจาคเงินเข้าภูมิใจไทย

ผู้สี่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเมื่อเดือนมี.ค. 66 ก่อนการเลือกตั้ง นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ยื่นคำร้องต่อกกต.ขอให้ยุบพรรคภูมิใจไทย โดยอ้างเหตุว่า นายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ มีพฤติการณ์เป็นนอมินีถือหุ้นในหจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่นแทนนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​คมนาคม และทั้งนายศุภวัฒน์ หจก. บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น บริษัทศิลาชัย บุรีรัมย์ จำกัด ได้มีการบริจาคเงินเข้าพรรคภูมิใจไทยตั้งแต่ปี 2561-2565 รวมจำนวนหลาย 10 ล้านบาท เงินบริจาคดังกล่าว จึงอาจเข้าข่ายขัดมาตรา 72 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 นั้น