ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 รุ่งเติบโตเฉียด 30%

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 มีมูลค่า 7,987.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 29.54% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 15,057.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 49.82% เผยได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การปรับเปลี่ยนนโยบายโควิด-19 การเดินทางระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จับตาปี 66 เศรษฐกิจสหรัฐฯ อียู เข้าสู่ภาวะถดถอย ต้องเร่งพลิกเกม เน้นขายดีไซน์ รักษ์โลก และเร่งเจาะตลาดที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตะวันออกกลาง และอาเซียนเพิ่ม

6 ก.พ. 2566 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนธ.ค.2565 มีมูลค่า 521.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 12.41% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 568.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 31.97% และยอดส่งออกรวมทั้งปี 2565 (ม.ค.-ธ.ค.) หากไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 7,987.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.54% และหากรวมทองคำ มีมูลค่า 15,057.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 49.82%

สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งปี 2565 เติบโตได้ดี มาจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญปรับเปลี่ยนนโยบายกลับคืนสู่ภาวะปกติ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติ ทำให้การผลิตของโลกและกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และช่วงกลางปี มีการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น สร้างบรรยากาศในการใช้จ่ายสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น และยังได้อานิสงค์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน แต่ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การขาดแคลนพลังงาน เงินเฟ้อสูงในหลายประเทศ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น เป็นปัจจัยฉุดรั้งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งกลายเป็นปัจจัยที่เริ่มส่งผลต่อการค้าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกสำคัญในปี 2565 ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ สหรัฐฯ เพิ่ม 21.51% อินเดีย เพิ่ม 74.38% ฮ่องกง เพิ่ม 16.26% เยอรมนี เพิ่ม 1.03% สหราชอาณาจักร เพิ่ม 30.79% สิงคโปร์ เพิ่ม 142.93% สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 79.80% เบลเยี่ยม เพิ่ม 31.13% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 27.96% และญี่ปุ่น เพิ่ม 4.44%

ส่วนสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องประดับทอง เพิ่ม 45.18% เครื่องประดับเงิน เพิ่ม 1.18% เครื่องประดับแพลทินัม เพิ่ม 9.72% เพชรก้อน เพิ่ม 1.99% เพชรเจียระไน เพิ่ม 41.88% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 89.65% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 64.32% พลอยก้อน เพิ่ม 50.42% เครื่องประดับเทียม เพิ่ม 17.32% เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำจากโลหะมีค่า เพิ่ม 15.54% และทองคำ เพิ่ม 82.03% ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ไทยมีการส่งออกทองคำเพิ่มขึ้น มาจากความต้องการทองคำในตลาดโลก และธนาคารกลางทั่วโลกได้ถือครองทองคำเพิ่มขึ้นจำนวน 1,136 ตัน มูลค่าประมาณ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2510 โดยนักวิเคราะห์หลายสำนักยังเชื่อว่าทองคำในปี 2566 จะยังเป็นขาขึ้น และมีการถือทองคำเพิ่มขึ้นอีก

นายสุเมธกล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกในปี 2566 ยังคงต้องจับตาปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ยังคงมีอยู่ ปัญหาราคาพลังงาน เงินเฟ้อที่หลายประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเริ่มเห็นได้ชัดตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะเริ่มชัดเจนในปี 2566 ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ตลาดทางฝั่งเอเชีย ทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และอาเซียน จะยังเติบโตได้ดี

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่พึ่งพาตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ และอียู จะต้องปรับตัวโดยมุ่งเน้นเจาะตลาดด้วยดีไซน์ที่ตรงใจและงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งใช้จุดขายการรักษ์โลก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระแสที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และต้องมองหาโอกาสจากตลาดที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตะวันออกกลาง และอาเซียน จะเป็นอีกช่องทางให้ธุรกิจไปต่อได้ในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนเช่นนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

GIT จับมือ จันทบุรี จัดเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024

นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ , นายภูเก็ต คุณประภากร ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี รวมทั้งนางสาวกนกพร ดำรงกุล ผอ.ฝ่ายการตลาดไมซ์ในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ TCEB ร่วมแถลงการจัดงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 “จันทบุรี นครอัญมณี” ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม 2567

GIT ร่วมกับภาครัฐและเอกชน "ปลุกยักษ์" จัดเทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” ฟื้นเศรษฐกิจถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ บางรัก สัมพันธวงศ์ พระนคร

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วกับ “เทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” งานพัฒนาต่อยอดเครื่องประดับเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเก่าแก่เชิงสร้างสรรค์บนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับในกรุงเทพมหานคร

GIT ดันผู้ประกอบการหน้าใหม่ขยายตลาดโกอินเตอร์ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 70

12 กันยายน 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GITดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขยายตลาดออกร้านในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์

ทำแบรนด์เครื่องประดับยังไงให้ปัง 5 วิธีสร้างจุดขายให้น่าซื้อ

การสร้างแบรนด์เครื่องประดับในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องสร้างจุดขายให้น่าสนใจและแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งทำให้แบรนด์ของคุณเติบโตและเป็นที่จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น

DITP และ GIT เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 70 สุดอลังการ ตอกย้ำจุดเด่นไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT พร้อมคณะอำนวยการจัดงานทั้งภาครัฐและเอกชน

“Enchanted Hues – Unlocking the Secret of Primary Colors Theory”

24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory”