ชาวไร่เฮ กอน. เคาะราคาอ้อยขั้นต้นปี 65/66 ที่ 1,080 บาท/ตัน

กอน. เคาะราคาอ้อยขั้นต้นปี 65/66 ที่ 1,080 บาท/ตัน ดันรายได้ชาวไร่ กังวลเปิดหีบไปแล้ว 64 วัน พบลอบเผาอ้อยกว่า 15 ล้านตัน เน้นย้ำชาวไร่และโรงงานน้ำตาลให้ความร่วมมือกับภาครัฐ

8 ก.พ. 2566 – นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่มีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ได้จัดการประชุมเพื่อขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ ในการดูแลชาวไร่ และอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ รวมทั้งเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองของประเทศที่เกิดจากการเผาอ้อย โดยในที่ประชุมได้มีมติรับรองการประกาศราคาอ้อยขั้นต้นปีการผลิต 2565/66 ที่ราคา 1,080 บาทต่อตัน ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. อัตราขึ้นลง อยู่ที่ 64.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ที่ราคา 462.86 บาทต่อตัน

ทั้งนี้ ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นหรือประชาพิจารณ์จากเกษตรกรชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เรียบร้อยแล้ว โดยจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเร็ว ๆ นี้ ก่อนที่จะประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ขณะที่ข้อมูลล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2565 – 2 ก.พ. 2566 พบว่ามีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้วกว่า 52 ล้านตัน และในจำนวนนี้เป็นอ้อยที่ถูกลักลอบเผากว่า 15 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 29.93% พบว่ามี 5 จังหวัดที่เผาอ้อยสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 2.03 ล้านตัน อุดรธานี 1.25 ล้านตัน กาฬสินธุ์ 1.21 ล้านตัน เพชรบูรณ์ 1.09 ล้านตัน และสุพรรณบุรี 1.03 ล้านตัน ในขณะที่มี 5 กลุ่มบริษัทที่รับอ้อยเผามากสุด ได้แก่ กลุ่มบริษัทไทยรุ่งเรือง (10 โรง) 3.06 ล้านตัน กลุ่มบริษัทมิตรผล (7 โรง) 2.87 ล้านตัน กลุ่มบริษัทน้ำตาลขอนแก่น (5 โรง) 1.57 ล้านตัน กลุ่มบริษัทวังขนาย (4 โรง) 1.33 ล้านตัน และกลุ่มบริษัทเกษตรไทย (3 โรง) 0.90 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กอน. ยังได้มีการเน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองของประเทศที่เกิดจากการเผาอ้อย ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ของประเทศไทยค่อนข้างวิกฤต และสาเหตุหนึ่งมาจากการลักลอบเผาอ้อยก่อนตัดส่งโรงงาน ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงกำหนดเป้าหมายลดการเผาอ้อยในฤดูการผลิตปี 2565/2566 เป็น 0% พร้อมเน้นย้ำให้ชาวไร่และโรงงานน้ำตาลร่วมมือกับภาครัฐเพื่อคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับคนไทยในช่วงที่ต้องเผชิญกับโควิด-19 และยังเป็นการหนุนภาคเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว

“จากสัดส่วนการลักลอบเผาอ้อยที่เพิ่มขึ้นถือเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างวิกฤต ทั้งสถานการณ์ด้านสภาพอากาศที่ได้รับผลกระทบจากการเผาไหม้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและภาคการท่องเที่ยว อีกทั้งยังสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่ามีชาวไร่และโรงงานน้ำตาลจำนวนหนึ่งที่ไม่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการลดปริมาณอ้อยที่ถูกลักลอบเผา กระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการกับเกษตรกรชาวไร่ที่ลักลอบเผา และโรงงานน้ำตาลที่สนับสนุนการเผา” นายภานุวัฒน์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวไร่อ้อยกว่า 1.4 แสนราย ดีใจได้ของขวัญปีใหม่ ครม.อนุมัติเงินหนุนตัดอ้อยสด 8 พันล้าน

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นปัญหาต่างๆและได้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเริ่มจากการเสนอโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี เพื่อลดฝุ่น pm 2.5 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

อุตฯจ่อชงครม.หนุนไร่อ้อยตัดสดให้เงิน120บาท/ตัน

“พิมพ์ภัทรา” ให้ความเชื่อมั่นชาวไร่อ้อย จ่อชง ครม. หนุนเกษตรกรตัดอ้อยสดคุณภาพดี ให้ตันละ 120 บาท คาดสร้างรายได้เพิ่ม 8 พันล้านบาท ครอบคลุม 1.4 แสนรายหวังบรรเทาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยในช่วงที่ต้นทุนการผลิตอ้อยปรับตัวสูงขึ้นได้

รฎาวัญ(ลดาวัลลิ์) แนะพึ่งตนเอง ชวนสมัคร ส.ส. กับพรรคเสมอภาค อย่ารอนักการเมืองช่วย

"รฎาวัญ" แนะ "ชาวสวนสมุทรสงครามและทุกจังหวัด" พึ่งตนเอง สมัคร ส.ส. เข้าสภากับพรรคเสมอภาค ไปออกกฎหมายให้กำหนดราคาขายด้วยตัวเอง อย่าเสียเวลารอให้นักการเมืองช่วยอีกเลย

สอน.เปิดระบบ “ตรวจสิทธิ์อ้อย” ผ่าน Line Official คาดเริ่มจ่ายเงินค่าตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน พ.ย.นี้

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยว่าขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) ได้จัดทำระบบบริการออนไลน์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย

ภัยแล้งมาแล้ว! นายกฯกำชับรับมือ เตรียมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา