กสทช. ทำอะไรกับการรวมกิจการได้หรือไม่

24 พ.ย. 2564 นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน) เขียนบทความเกี่ยวกับการควบรวมกิจการของ 2 บริษัทโทรคมคมคม โดยมีเนื้อหาดังนี้

ข่าวการรวมกิจการระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีความกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้น และใครต้องเข้าไปกำกับการรวมกิจการนี้ ในขณะที่ทั้งสองค่ายซึ่งจะรวมกิจการกันนั้น ต่างยืนยันว่าเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ และอยู่ในขั้นตอนการเจรจา ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปและยังไม่แน่นอนว่าจะเกิดการรวมกิจการกันหรือไม่

ข้อมูลที่ชัดเจนมีเพียงว่า เป็นการเจรจาระหว่างทรูคอร์ปและดีแทค (บริษัทแม่) ไม่ใช่ ทรูมูฟเอชและดีแทคไตรเน็ต (บริษัทลูก) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม จึงต้องพิจารณาว่า บริษัทแม่มีกิจการและจะรวมกิจการอะไรบ้าง ในส่วนกิจการโทรคมนาคมนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. อย่างแน่นอน แต่หากมีบริษัทลูกที่ประกอบกิจการอื่นและอยู่ในกรอบการเจรจารวมกิจการในครั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎหมายแข่งขันทางการค้า

ในส่วน กสทช. มีประกาศหลักที่กำกับดูแลในกรณีนี้ คือ ประกาศเรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (ประกาศแข่งขัน) และประกาศเรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม (ประกาศรวมธุรกิจ)

ประกาศแข่งขัน เน้นหลักการว่า การกระทำหรือพฤติกรรมลักษณะใดเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขัน และกำหนดกระบวนการไต่สวนว่ามีการกระทำลักษณะดังกล่าวหรือไม่ หากมี กสทช. ก็มีอำนาจกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันหรือระงับการกระทำเหล่านั้น ซึ่งประกาศแข่งขันได้กำหนดพฤติกรรมต้องห้าม คือการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน โดยเข้าซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ของผู้ให้บริการรายอื่น เพื่อควบคุมนโยบายหรือการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าโดยทางตรง ทางอ้อม หรือผ่านตัวแทน ทั้งหมดนี้ไม่สามารถกระทำได้ (ถือเป็นพฤติกรรมต้องห้าม) ยกเว้นได้รับอนุญาตจาก กสทช.

ส่วนประกาศรวมธุรกิจมุ่งเน้นที่หลักการว่าอะไรคือการรวมธุรกิจตามประกาศนี้ และกระบวนการรวมธุรกิจต้องรายงาน กสทช. อย่างไรบ้าง และหากการรวมธุรกิจส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน กสทช. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น แม้ประกาศนี้จะไม่ได้ให้อำนาจ กสทช. ในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้รวมกิจการ แต่การที่ข้อ 9 ของประกาศนี้ กำหนดให้การรายงานตามข้อ 5 ถือเป็นการขออนุญาตตามข้อ 8 ของประกาศแข่งขัน ก็เท่ากับเป็นการยืนยันอำนาจการพิจารณาของ กสทช. ที่มีอยู่ตามประกาศแข่งขันนั่นเอง

หากการรวมกิจการของ 2 ยักษ์ใหญ่ในครั้งนี้ เข้าลักษณะตามประกาศแข่งขัน กสทช. ย่อมมีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต

อย่างไรก็ตาม หากมีความกังวลเรื่องความไม่ชัดเจนของประกาศ กฎหมายอย่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับปัจจุบันก็ให้อำนาจ กสทช. ตามมาตรา 27 (11) ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

เมื่อแนวคิดการรวมกิจการยังอยู่ในขั้นเจรจาศึกษาความเป็นไปได้ กสทช. ย่อมมีเวลาที่จะปรับปรุงประกาศให้ชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ แต่หากนิ่งเฉยปล่อยให้เวลาเนิ่นนานออกไปจนการรวมกิจการเกิดขึ้นแล้ว สังคมอาจเกิดความสงสัยว่า เจตนาการไม่ปรับปรุงประกาศคือเจตนาการอนุญาตอย่างเงียบๆ หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครบ 1 ปี PDPA…มาดูกันว่า ทรู คอร์ป คุมเข้มข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้าอย่างไรกันบ้าง

1 มิถุนายน 2566 ครบ1 ปีที่กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) มีผลบังคับใช้ คงมีคำถามมากมายว่าแต่ละองค์กรทำอะไรไปบ้าง ซึ่งทรู คอร์ป หนึ่งในองค์กรที่มีลูกค้าจากการควบรวมทรู-ดีแทค มากถึง 50.5 ล้านเลขหมาย ได้ออกแนวทางหรือมาตรการอะไรในการดูแลลูกค้าทรู-ดีแทค เรื่องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไปบ้างแล้ว

ประวิทย์ ยัน 'กกท.' ทำผิดข้อตกลงกับ กสทช. ชี้กระทบการขอสนับสนุนในอนาคต

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีต กรรมการ กสทช. เขียนบทความเรื่องปัญหาการถ่ายทอดฟุตบอลโลก ตามบันทึกข้อตกลง โดยระบุว่า

‘เสรี’ ชี้ กสทช มาถูกทาง คุมเข้มข่าวทรู-ดีแทค เตือนสื่อรุ่นน้องยึดจรรยาบรรณอย่าปล่อยข่าวเท็จ!

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และการตลาด กล่าวถึงกรณีที่ ศ.(คลินิก) นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กรรมการกิจการกระจายเสียง

'พิธา' เตรียมควง 'ธนาธร' เดินสายค้านควบรวม 'ทรู-ดีแทค'

'พิธา' ค้านควบรวม 'ทรู-ดีแทค' เผยอนุกรรมการ กสทช. 4 คณะไม่เห็นด้วย เตรียมใชเวลา 6 วันควงแขน 'ธนาธร' เดินสายพบสื่อช่วยเสนอข่าวต้านการผูกขาด