สมอ. คุมเข้มอะแดปเตอร์สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต

สมอ. คุมเข้มอะแดปเตอร์สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ ต้องได้มาตรฐาน หวังความปลอดภัยของประชาชน เตือนผู้ผลิตและผู้นำเข้าให้ยื่นขอ มอก. ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้

7 เมษายน 2566 – นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ. ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน ด้วยการบังคับใช้มาตรฐานสินค้าต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่ สมอ. ควบคุม จำนวน 141 รายการ และที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ อีก 2 รายการ ได้แก่ อะแดปเตอร์สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์ และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ ซึ่งทั้ง 2 รายการเป็นสินค้าที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย หากไม่ได้มาตรฐานอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้งานได้ สมอ. จึงต้องควบคุมให้ผลิตและนำเข้าเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มอก. เท่านั้น

ทั้งนี้มาตรฐาน มอก.62368 เล่ม 1-2563 เครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ และแท็บเล็ต หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “อะแดปเตอร์” สมอ. ได้นำมาตรฐานของ IEC (International Electrotechnical Commission) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับมาประกาศใช้เป็นมาตรฐาน มอก. โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญ เช่น การป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ได้รับอันตรายขณะใช้งาน การป้องกันการลุกไหม้ และการป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากความร้อน เป็นต้น โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป

Charger and USB cable type C over red background


สำหรับมาตรฐาน มอก.60335 เล่ม 2 (37)-2564 เครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์ และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ เป็นมาตรฐานที่ควบคุมความปลอดภัยของเครื่องทอดที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ใช้ในภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงอาหาร และโรงพยาบาล ซึ่งใช้ทอดอาหารในปริมาณมาก ไม่ใช่เครื่องทอดที่ใช้ในที่อยู่อาศัยของประชาชนทั่วไป รวมถึงเครื่องทอดชนิดที่มีความดันไม่เกิน 50 kPa (Kilopascal) มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 480 โวลต์ โดยมีข้อกำหนดสำคัญที่ควบคุมด้านความปลอดภัย เช่น การควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินในขณะใช้งาน มีการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วในขณะที่เครื่องทอดทำงานอยู่ รวมไปถึงการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่ระมัดระวังของผู้ใช้งาน เช่น การป้องกันการสัมผัสกับส่วนที่มีไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งมาตรฐานนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทั้งผู้ทำและผู้นำเข้าสินค้าทั้ง 2 รายการดังกล่าว จะต้องทำ นำเข้าสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐาน รวมถึงผู้จำหน่ายจะต้องขายสินค้าที่ได้มาตรฐานเท่านั้น หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย สมอ. จึงได้จัดการสัมมนาขึ้นเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ ได้มีความรู้ความเข้าใจในการยื่นขอรับใบอนุญาต มอก. ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดในมาตรฐาน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจติดตามภายหลังการได้รับใบอนุญาต ซึ่งมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้กว่า 300 ราย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมอ. บุกทลายโกดังยางรถยนต์ ‘Thaistone’

สมอ. บุกทลายโกดังยางรถยนต์ไม่ได้มาตรฐาน ยี่ห้อ “Thaistone” กว่า 12,000 เส้น มูลค่ากว่า 90 ล้านบาท เตรียมเอาผิดผู้ประกอบการ พร้อมเตือนประชาชนอย่างซื้อ

สมอ. เผย 9 เดือนยึดอายัดสินค้าไม่ได้มาตรฐาน

สมอ. เผย 9 เดือน ยึดอายัดสินค้าไม่ได้มาตรฐานกว่า 52 ล้านบาท ชี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำหน่ายทางออนไลน์ครองแชมป์ เตือนประชาชนผู้บริโภคก่อนซื้อให้ดูเครื่องหมาย มอก. และ QR Code เพื่อความปลอดภัย

บอร์ด สมอ. ไฟเขียวมาตรฐานแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

บอร์ด สมอ. ไฟเขียวมาตรฐานแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมกระดาษสัมผัสอาหารสำหรับปรุงอาหารด้วยความร้อน เป็นสินค้าควบคุม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน เร่งรัดให้ สมอ. เตรียมประกาศบังคับใช้ภายในปี 2567

สมอ. ยกระดับอุตฯเสริมความงาม สร้างมาตรฐานบริการ

สมอ. ยกระดับอุตฯเสริมความงาม จับมือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมส่งเสริมพัฒนาอาชีพเสริมสวยและช่างตัดผมไทย ทำ MOU ผู้ประกอบการกว่า 1 หมื่นรายทั่วประเทศ ให้ได้มาตรฐาน มอก. เอส การันตีคุณภาพงานบริการแก่ประชาชนที่ใช้บริการ

'สุริยะ' คลอด มอก.เอส อนุมัติอู่รถแปลงเครื่องอีวี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)