สถาบันวิจัยอัญมณี กางแผนผลักดัน GIT Standard

“สุเมธ” กางแผนทำงานครึ่งปีหลัง 66 ลุยผลักดัน GIT Standard ยกระดับห้องปฏิบัติการของไทย ในการทำธุรกิจ การตรวจสอบอัญมณี และโหละมีค่า เผยล่าสุดทำมาตรฐานแล้ว 22 ขอบข่าย เตรียมเพิ่มอีก 3 ขอบข่ายปีนี้ กำหนดหลักเกณฑ์ตรวจมรกตและมุก การวิเคราะห์ปริมาณเงิน และมาตรฐานการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล พร้อมลุยขับเคลื่อน BCG ดันผู้ประกอบการใหความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ก่อนร่วมจัดงานแฟร์ใหญ่ 2 งานช่วงปลายปี

1 เม.ย. 2566 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยถึงแผนการทำงานในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 ว่า GIT จะเดินหน้าจัดทำมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า หรือ GIT Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล โดยปัจจุบัน ได้มีการจัดทำมาตรฐานแล้ว 22 ขอบข่าย เช่น มาตรฐานห้องปฏิบัติการ มาตรฐานการตรวจสอบอัญมณี เพชร หยก และจะเพิ่มมาตรฐานใหม่อีก 3 ขอบข่าย คือ มาตรฐานวิธีวิเคราะห์และทดสอบมรกตและมุก , การวิเคราะห์หาปริมาณเงินในตัวอย่างโลหะมีค่าโดยใช้เทคนิคเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF) และมาตรฐานใหม่ด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เช่น การแจ้งที่มาที่ไปของวัตถุดิบ การไม่เอาเปรียบแรงงาน เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียนมาตรฐาน GIT Standard แล้วจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการอัญมณี คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา , ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอ็มทีเอส รีไฟเนอรี่ แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด , ห้องปฏิบัติการ บริษัท พรีเชียส พลัส จำกัด , ห้องปฏิบัติการ บริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด และห้องปฏิบัติการ บริษัท จีซีไอ แล็บ จำกัด ซึ่ง GIT จะผลักดันให้ห้องปฏิบัติการและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ มีการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GIT Standard เพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย

นายสุเมธ กล่าวว่า GIT ยังมีแผนที่จะผลักดัน BCG Model ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความสำคัญของ BCG ในการผลิตเครื่องประดับ เพราะเป็นเทรนด์ของโลก หากทำได้ ก็จะช่วยให้สินค้าเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา GIT ได้เริ่มกับการประกวดออกแบบเครื่องประดับ โดยในปี 2565 ใช้หัวข้อ True Nature ที่กระตุ้นให้นักออกแบบเห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและเลือกวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปี 2566 ก็ยังคงคอนเซ็ปต์เดิม แต่เน้นความเป็นสีทอง และพลอยเนื้ออ่อน แต่ยังคงให้ความสำคัญกับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการช่วยพัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่น ที่ปีนี้ได้ทำโครงการพัฒนาต่อยอดอัตลักษณ์เครื่องประดับภาคใต้เพื่อการท่องเที่ยว (เสน่ห์ใต้) ที่ได้เน้นการนำวัสดุพื้นถิ่น หรือการนำวัสดุที่เหลือใช้มา Upcycle กลายเป็นเครื่องประดับที่ทันสมัย และตอบโจทย์ความต้องการของโลก จนปัจจุบันเกิดเป็นชิ้นงานใหม่ ๆ ที่น่าสนใจออกมาแล้ว
นอกจากนี้ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการมีธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบัน GIT ได้เป็นสมาชิกของ Responsible Jewellery Council หรือ RJC ซึ่งเป็นองค์กรที่สร้างมาตรฐานการการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และล่าสุดได้ลงนาม MOU กับสมาคมผู้ส่งออกเครื่องเงินไทย เห็นความสำคัญของการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมแล้ว

สำหรับงานแสดงสินค้า GIT จะร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดงานบางกอก เจมส์ ครั้งที่ 68 วันที่ 6-10 ก.ย.2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และการจัดงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2023 วันที่ 7-11 ธ.ค.2566 ณ ศูนย์ส่งเสริมอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เคพี จิวเวลรี่เซ็นเตอร์ และตลาดพลอย ถ.ศรีจันทร์ จ.จันทบุรี ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ต.ค.66 มูลค่า 748.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 8.73% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำมีมูลค่า 1,576.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 30.69% เหตุส่งออกทองคำไปเก็งกำไร ยอด 10 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 9.05% รวมทองคำ ลด 6.76% คาดแนวโน้มส่งออกยังดีต่อเนื่อง หลังเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ เผยผู้ผลิตไทยสุดเจ๋ง ทำสินค้าตอบโจทย์สายมูเตลู ดันออเดอร์พุ่ง

เก่ง! 4 คนไทย ถูกแต่งตั้งเป็นบอร์ดสมาพันธ์เครื่องประดับโลก

สถาบันอัญมณีฯ เผย 4 คนไทย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการและอนุกรรมการในสมาพันธ์เครื่องประดับโลก (CIBJO) มั่นใจช่วยขับเคลื่อนมาตรฐานอัญมณีและเครื่องประดับ การแก้ไขปัญหาความท้าทาย ทั้งการเข้ามาของ AI การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล และความยั่งยืน คาดสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมของไทยได้ดีขึ้น

ส่งออกอัญมณีเริ่มแผ่ว จับตาปี 66 ปัจจัยเสี่ยงเพียบ

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ม.ค.66 มูลค่า 573.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 1.19% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 732.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 4.51% เหตุเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญชะลอตัว ทำกำลังซื้อหด GIT จับตาปี 66 ปัจจัยเสี่ยงเพียบ แนะปรับตัวผลิตสินค้า BCG ลดคาร์บอน สร้างจุดเด่น และควรมุ่งเจาะจีน ตะวันออกกลาง และอินเดีย ที่มีแนวโน้มเติบโต

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 รุ่งเติบโตเฉียด 30%

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 มีมูลค่า 7,987.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 29.54% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 15,057.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 49.82% เผยได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การปรับเปลี่ยนนโยบายโควิด-19 การเดินทางระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จับตาปี 66 เศรษฐกิจสหรัฐฯ อียู เข้าสู่ภาวะถดถอย ต้องเร่งพลิกเกม เน้นขายดีไซน์ รักษ์โลก และเร่งเจาะตลาดที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตะวันออกกลาง และอาเซียนเพิ่ม

'จีไอที' ปลื้มส่งออกอัญมณีปี 65 เพิ่มขึ้น 34%

”จีไอที”เผยส่งออกอัญมณี 11 เดือนปี 65 เพิ่มขึ้น 34.02% มูลค่ากว่า 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว คาดทั้งปียังบวกได้อีก แต่ต้องจับตาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง ฉุดกำลังซื้อ

GIT เปิดตัวภาพลักษณ์ใหม่ ชู GIT Standard ยกระดับมาตรฐาน ดันอุตสาหกรรมกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย แข่งขันเวทีโลกอย่างยั่งยืน

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดตัวภาพลักษณ์ใหม่ จัดงาน GIT Open House