เก่ง! 4 คนไทย ถูกแต่งตั้งเป็นบอร์ดสมาพันธ์เครื่องประดับโลก

สถาบันอัญมณีฯ เผย 4 คนไทย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการและอนุกรรมการในสมาพันธ์เครื่องประดับโลก (CIBJO) มั่นใจช่วยขับเคลื่อนมาตรฐานอัญมณีและเครื่องประดับ การแก้ไขปัญหาความท้าทาย ทั้งการเข้ามาของ AI การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล และความยั่งยืน คาดสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมของไทยได้ดีขึ้น

17 ต.ค. 2566 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า ในการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาพันธ์เครื่องประดับโลก (World Jewellery Confederation – CIBJO) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่เมืองชัยปุระ อินเดีย ได้มีมติแต่งตั้งผู้แทนจากประเทศไทย เป็นคณะกรรมการของ CIBJO ได้แก่ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ จากบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) และตนเอง ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานของ CIBJO และยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการของ CIBJO ได้แก่ นายทนง ลีลาวัฒนาสุข รองผู้อำนวยการ GIT เป็นรองประธานฝ่าย Gemmological Commission ทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบมาตรฐานด้านการตรวจสอบอัญมณี และนายปิติพงษ์ เตียสุวรรณ จากบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานกลุ่มที่ 3 ทำหน้าที่ดูแลด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับและเทคโนโลยีการผลิต

“การที่มีคนไทยเข้าไปเป็นคณะกรรมการและอนุกรรมการใน CIBJO จะช่วยให้สามารถผลักดันการสร้างมาตรฐานในมิติต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งของไทยและระดับโลก ช่วยในการนำเสนอปัญหาและความท้าทายใหม่ ๆ ของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของ AI การผลักดันการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบ การแสดงบทบาทของอุตสาหกรรมในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การรับมือกับการปรับปรุงคุณภาพอัญมณีชนิดใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น ที่ทำได้ดีขึ้นและเกิดประโยชน์กับไทยมากขึ้น”นายสุเมธกล่าว

สำหรับการประชุมครั้งนี้ ได้มีการพบปะหารือในประเด็นสำคัญของอุตสาหกรรมของผู้นำองค์กรสากลด้านอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลก เช่น Responsible Jewellery Council (RJC) , The International Colored Gemstone Association (ICA) , Jewelers Vigilance Committee (JVC) , Gem Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) , De Beers , The World Diamond Council (WDC) เป็นต้น และยังมีคณะนักอัญมณีศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และตัวแทนจากห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีชั้นนำ และห้องปฏิบัติการแห่งชาติจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Gemological Institute of America (GIA) , National Gemstone Testing Center) (NGTC) , HRD Antwerp , Swiss Gemmological Institute SSEF , Gubelin มาร่วมประชุมหารือเพื่อแก้ปัญหาด้านเทคนิคร่วมกันด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ต.ค.66 มูลค่า 748.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 8.73% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำมีมูลค่า 1,576.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 30.69% เหตุส่งออกทองคำไปเก็งกำไร ยอด 10 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 9.05% รวมทองคำ ลด 6.76% คาดแนวโน้มส่งออกยังดีต่อเนื่อง หลังเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ เผยผู้ผลิตไทยสุดเจ๋ง ทำสินค้าตอบโจทย์สายมูเตลู ดันออเดอร์พุ่ง

สถาบันวิจัยอัญมณี กางแผนผลักดัน GIT Standard

“สุเมธ” กางแผนทำงานครึ่งปีหลัง 66 ลุยผลักดัน GIT Standard ยกระดับห้องปฏิบัติการของไทย ในการทำธุรกิจ การตรวจสอบอัญมณี และโหละมีค่า เผยล่าสุดทำมาตรฐานแล้ว 22 ขอบข่าย เตรียมเพิ่มอีก 3 ขอบข่ายปีนี้ กำหนดหลักเกณฑ์ตรวจมรกตและมุก การวิเคราะห์ปริมาณเงิน และมาตรฐานการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล พร้อมลุยขับเคลื่อน BCG ดันผู้ประกอบการใหความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ก่อนร่วมจัดงานแฟร์ใหญ่ 2 งานช่วงปลายปี

ส่งออกอัญมณีเริ่มแผ่ว จับตาปี 66 ปัจจัยเสี่ยงเพียบ

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ม.ค.66 มูลค่า 573.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 1.19% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 732.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 4.51% เหตุเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญชะลอตัว ทำกำลังซื้อหด GIT จับตาปี 66 ปัจจัยเสี่ยงเพียบ แนะปรับตัวผลิตสินค้า BCG ลดคาร์บอน สร้างจุดเด่น และควรมุ่งเจาะจีน ตะวันออกกลาง และอินเดีย ที่มีแนวโน้มเติบโต

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 รุ่งเติบโตเฉียด 30%

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปี 65 มีมูลค่า 7,987.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 29.54% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 15,057.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 49.82% เผยได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การปรับเปลี่ยนนโยบายโควิด-19 การเดินทางระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จับตาปี 66 เศรษฐกิจสหรัฐฯ อียู เข้าสู่ภาวะถดถอย ต้องเร่งพลิกเกม เน้นขายดีไซน์ รักษ์โลก และเร่งเจาะตลาดที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตะวันออกกลาง และอาเซียนเพิ่ม

'จีไอที' ปลื้มส่งออกอัญมณีปี 65 เพิ่มขึ้น 34%

”จีไอที”เผยส่งออกอัญมณี 11 เดือนปี 65 เพิ่มขึ้น 34.02% มูลค่ากว่า 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว คาดทั้งปียังบวกได้อีก แต่ต้องจับตาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง ฉุดกำลังซื้อ

GIT ลุยปั้นเครื่องเงินไทยบุกตลาดอินเตอร์

GIT จับมือนักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ปั้นผู้ประกอบการในโปรเจ็กต์ “มาเหนือ” พัฒนาเครื่องประดับเงินตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเทรนด์โลก ล่าสุดคัด 11 รายพัฒนาเข้ม ก่อนนำผลงานโชว์งานบางกอกเจมส์ เปิดตัวสู่ตลาดโลก