พาณิชย์แนะนำสินค้า GI ภูเก็ตและพังงา

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา ติดตามการส่งเสริมสินค้า GI ด้วยนโยบาย GI Plus ที่มุ่งช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่าย ล่าสุดหลังอัปเกรดสับปะรดภูเก็ต สามารถส่งจำหน่ายในห้างเซ็นทรัลได้แล้ว พร้อมให้คำแนะนำขึ้นทะเบียน GI สินค้าส้มควายภูเก็ต และเชิญชวนประชาชนลิ้มลองทุเรียนสาลิกาพังงา

11 พ.ค. 2566 – นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในจังหวัดภูเก็ตและพังงา ด้วยนโยบาย GI Plus โดยจะเข้าไปช่วยพัฒนาสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยนักออกแบบมืออาชีพ การต่อยอด GI ด้วยมาตรฐานออร์แกนิค การช่วยเพิ่มช่องทางการตลาด เป็นต้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า GI ขึ้นชั้นเป็นสินค้าพรีเมียม และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ผลิตชุมชน

โดยการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีสินค้า GI จำนวน 2 สินค้า ได้แก่ สับปะรดภูเก็ต ขึ้นทะเบียน GI ปี 2552 และมุกภูเก็ต ปี 2560 และมีสินค้าที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอขึ้นทะเบียน GI คือ ส้มควายภูเก็ต โดยในส่วนของสับปะรดภูเก็ต กรมฯ ได้ใช้แนวทาง GI Plus ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยนักออกแบบมือรางวัลระดับประเทศ และร่วมมือกับ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด สนับสนุนช่องทางจำหน่ายสินค้า ณ Central Food Hall Porto de Phuket ซึ่งปัจจุบัน มีการผลิต 1.2 ล้านลูกต่อปี สามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้ปีละ 33 ล้านบาท

สำหรับส้มควายภูเก็ต กรมฯ ได้พบกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบางหวานพัฒนา เพื่อชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมในคำขอ เพื่อให้สามารถขึ้นทะเบียนคุ้มครองส้มควายภูเก็ตเป็นสินค้า GI โดยลักษณะเด่นของส้มควายภูเก็ต เป็นส้มพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต ตระกูลเดียวกับส้มแขก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ขนาดผลใหญ่เนื้อมาก เป็นส้มควายสด พันธุ์ Peduculata ผลทรงกลมขนาดใหญ่ ร่องตื้น เนื้อละเอียด หนา แน่น รสชาติเปรี้ยว นิยมนำส้มควายมาตากแห้ง และบดเป็นผงก่อนนำมาผสมกับน้ำร้อน เพื่อแช่เท้า ลดอาการปวดเมื่อย อาการเท้าบวม ปลูกและแปรรูปในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง

ส่วนที่จังหวัดพังงา มีสินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียน GI แล้ว 2 รายการ คือ ทุเรียนสาลิกาพังงา ปี 2561 และข้าวไร่ดอกข่าพังงา ปี 2563 มีสินค้าที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอขึ้นทะเบียน GI คือ มังคุดทิพย์พังงา ซึ่งกรมฯ ขอเชิญชวนให้ผู้บริโภคได้ทดลองลิ้มลองทุเรียนสาลิกาพังงา ซึ่งมีผลผลิตปีละครั้ง และปีนี้จะเริ่มออกช่วงเดือนมิ.ย.2566 โดยสามารถสั่งจองล่วงหน้าได้ที่ 0972409047 หรือ Line @Petcharapornfarm และสำหรับทุเรียนนสาลิกาพังงา เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกเฉพาะในอำเภอกะปง มีผลทรงกลมขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ 1.5-2.0 กิโลกรัมต่อลูก เนื้อหนาละเอียดสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสชาติหวาน แกนกลางเปลือกทุเรียนจะมีสีสนิมแดง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวพังงาเฮ 'ปลิงทะเลเกาะยาว' ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตัวใหม่แล้ว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศ ขึ้นทะเบียน “ปลิงทะเลเกาะยาว” เป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัดพังงาต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา และมังคุดทิพย์พังงา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ 3.3 ล้านบาทต่อปี

พาณิชย์ชี้ช่องผู้ออกแบบลายกางเกงลายไทยยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนผู้ผลิต ผู้ออกแบบลายกางเกง ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางการค้า เผยยื่นจดง่ายผ่านออนไลน์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แนะต่อไป ควรพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง

ผลักดัน 'ปลาพลวงชมพู-ปลานิลสายน้ำไหล' ขึ้นทะเบียนสินค้า GI จังหวัดยะลา

คณะกรมทรัพย์สินทางปัญญาพาณิชย์ลงพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา เพื่อผลักดันปลาพลวงชมพู ต้นน้ำป่าฮาลาบาลา และปลานิลสายน้ำไหลเบตง ขึ้นทะเบียน GI รายการใหม่ของจังหวัดยะลา เพื่อช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

พาณิชย์ผลักดันสินค้า GI ไทยยกระดับอาหารชุมชนสู่เมนูไฟน์ไดนิ่ง 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้านโยบายสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยต่อเนื่อง ตั้งเป้ายกระดับสินค้าชุมชนสู่ระดับพรีเมียม สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดมุ่งสู่ 52,000 ล้านบาทภายในปี 2566 ล่าสุดดึงร้านอาหารนอร์ธ (North Restaurant) ร่วมรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบ GI สะท้อนอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ่านเมนูอาหารเหนือสไตล์ไฟน์ไดนิ่ง

พาณิชย์ขึ้นทะเบียน GI 'ปลาทูแม่กลอง' ลำดับที่ 4 ของจังหวัดสมุทรสงคราม

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าประกาศขึ้นทะเบียน GI ต่อเนื่อง ล่าสุดดัน “ปลาทูแม่กลอง” สินค้ายอดนิยมแห่งเมืองสามน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสินค้า GI สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนกว่า 12 ล้านบาท สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ