
รฟท. เล็งชงบอร์ด 22 มิ.ย.นี้ เคาะลงนามสัญญาจ้าง ‘กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10JV’ลุยงานสัญญา 3-1 รถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 หลังเอกชนยืนยันราคาแล้ว ส่วนสัญญา 4-5 ยังรออัยการฯ ตรวจร่างสัญญา
22 พ.ค.2566 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ–หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา) ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอการลงนาม 3 สัญญา ประกอบด้วย 1.สัญญา 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย–กลางดง และปางอโศก–บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. ซึ่งปัจจุบันทางกิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10JV ผู้รับจ้าง
ทั้งนี้ ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กับ China Railway Engineering Corporation ได้ยืนยันราคาประมาณ 9.3 พันล้านบาทมายัง รฟท. แล้ว คาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. พิจารณาในวันที่ 22 มิ.ย.66 ก่อนจะลงนามสัญญากับเอกชนต่อไป
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า 2.สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. ขณะนี้สำนักงานอัยการสูงสุด อยู่ระหว่างตรวจร่างสัญญา หากแล้วเสร็จจะสามารถลงนามสัญญาจ้างกับ บริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้างสัญญาดังกล่าว วงเงิน 10,325 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป ทั้งนี้ในร่างสัญญากำหนดเป็นเงื่อนไขให้สามารถสร้างทางไปได้ก่อน ในระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ซึ่งเพิ่งจัดทำแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างรายงาน HIA ไปยังองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการก่อสร้างโครงการฯ
นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า และ 3.สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ยังอยู่ระหว่างเจรจาเรื่องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ และขณะนี้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ในฐานะเอกชนคู่สัญญา ยังไม่ได้ตัดสินใจเรื่องการก่อสร้างโครงสร้างร่วม ซึ่งทาง รฟท. สอบถามคำตอบไปทุกเดือน และเดือน มิ.ย.นี้ จะสอบถามไปอีก โดยแนวโน้มเอกชนก็ยังจะเป็นผู้ก่อสร้างให้ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดีกว่าที่จะให้ รฟท. มาดำเนินการก่อสร้างเอง เพราะต้องนับหนึ่งใหม่ และจากที่คำนวณไว้เบื้องต้นต้องใช้งบประมาณการก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 9 พันล้านบาท จากวงเงินเดิมประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ในระหว่างที่รอคำตอบจากเอกชนนั้น รฟท. จะดำเนินการเตรียมแผนเรื่องการก่อสร้างเองไว้คู่ขนานด้วย เพราะต้องยอมรับว่าเรื่องพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว เป็นปัจจัยหนึ่งที่หากล่าช้าจะกระทบกับภาพรวมการก่อสร้างของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนั้น รฟท. ยังคงเป้าหมายเดิมที่พร้อมจะออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ได้ในช่วงเดือน มิ.ย.2566 แต่เบื้องต้นทราบว่าขณะนี้เอกชนยังไม่ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากเอกชนอยู่ ทั้งนี้หากเอกชนยังไม่ได้บีโอไอ รฟท. ก็ยังไม่สามารถออก NTP ให้ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แอร์พอร์ตลิงก์' อวมขาดทุนเดือนละ 70 ล้าน รฟท.จี้แก้ไขงานบริการ
รถไฟฟ้า “แอร์พอร์ตลิงก์” ขาดทุนเดือนละ 70 ล้าน ผู้โดยสารกลับมา 1.8 ล้านคน/เดือน ชี้ยังไม่ได้โอนสิทธิให้เอกชน แค่เข้ามาบริหาร เก็บรายได้ส่ง รฟท. พร้อมจ่ายดอกเบี้ยค่าโอนสิทธิฯ จนกว่าจะแก้สัญญาร่วมลงทุน จี้ “เอเชีย เอรา วัน” แก้ไขงานบริการ
รฟท. เล็งชงครม.เคาะกู้เงิน 1.8 หมื่นล้านบาทเสริมสภาพคล่อง
การรถไฟฯ เตรียมชง ครม.อนุมัติกู้เงินเสริมสภาพคล่อง 1.8 หมื่นล้านบาท หนุนดำเนินกิจการปีงบประมาณ 2567 หลังประมาณการณ์รายรับรายจ่ายจ่อติดลบ เหตุยังมีภาระชำระดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้ครบกำหนด
บอร์ด รฟท. ไฟเขียวจัดซื้อแคร่ขนสินค้า 946 คัน วงเงิน 2.4 พันล.
บอร์ด รฟท. ไฟเขียวใช้เงินกู้จัดซื้อรถโบกี้บรรทุกสินค้า 946 คัน 2,459 ล้าน หนุนใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40% เตรียมชง “คมนาคม-ครม.” เคาะ คาดอีก 2 ปีได้ใช้บริการ ช่วยเพิ่มรายได้ให้ รฟท. หนุนนโยบายรัฐเปลี่ยนโหมดขนส่งสินค้าจากถนนสู่ราง
'สหวิริยา' หนุนรถไฟขนเหล็ก ช่วยลดต้นทุน
"เอสเอสไอ-รฟท."จับมือทดลองเดินขบวนรถพิเศษขนส่งเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน 46 ตัน จากสถานีนาผักขวง ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ สุพรรณบุรี หนุนขนส่งทางรางช่วยลดต้นทุน
บขส.จัดรถวันละ 3,500 เที่ยวรับผู้โดยสารเดินทางกลับภูมิลำเนาไปเลือกตั้ง
บขส. เตรียมพร้อมรถโดยสารวันละ 3,500 เที่ยว รองรับผู้โดยสารวันละ 35,000 คน ให้บริการประชาชนเดินทางช่วงการเลือกตั้ง 2566 จับมือ ขสมก.-รฟท.-ตำรวจ บูรณาการเพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง
รฟท.จับมือเอกชนส่งทุเรียนไปจีน ด้วยรถไฟขบวนพิเศษมาบตาพุด-ท่านาแล้ง กว่า 600 ตัน
รฟท. จับมือเอกชนเปิดเดินขบวนรถสินค้าขนทุเรียน 600 ตัน ใส่ตู้คอนเทเนอร์ติดแอร์ จากไทยสู่จีน เส้นทาง ‘มาบตาพุด-ท่านาแล้ง’ ตั้งเป้าช่วงฤดูกาลผลไม้ จับมือเอกชนขนส่งทางรถไฟให้ได้ไม่น้อยกว่า 2.5 หมื่นตัน หวังแก้ปัญหาผลไม้ล้นตลาด