“บสย.” กางผลงาน 5 เดือนปี 2566 โชว์ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อแล้ว 5.58 หมื่นล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 4.26 หมื่นราย สร้างสินเชื่อในระบบ 6.2 หมื่นล้านบาท รักษาการจ้างงานกว่า 4 แสนตำแหน่ง ดันให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 2.3 แสนล้านบาท
4 ก.ค. 2566 – นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของ บสย. ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค. – พ.ค. 66) มียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อกว่า 55,888 ล้านบาท จาก 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2, โครงการ บสย. SMEs เข้มแข็ง (PGS 10) และโครงการค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบัน (BI-7) ที่ บสย. ได้พัฒนาขึ้น ได้มีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนกว่า 42,667 ราย สร้างสินเชื่อในระบบ กว่า 62,854 ล้านบาท คิดเป็น 1.13 เท่าของยอดค้ำประกันสินเชื่อ
ทั้งนี้ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกว่า 230,817 ล้านบาท คิดเป็น 4.13 เท่า ของยอดค้ำประกัน และรักษาการจ้างงานรวม 404,136 ล้านบาท ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ โควิด-19 โดยนำ Risk Base Pricing เครื่องมือการประเมินตามความเสี่ยงมาใช้ในการค้ำประกันสินเชื่ออย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ในปี 2566 บสย. ยังคงพัฒนา ไลน์ @tcgfirst อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าอื่น ๆ เช่น การยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID, การดูสถานการณ์ค้ำประกัน E-LG, การทำ Bill Payment และการให้บริการปรึกษาทางการเงิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลชู บสย.เยียวยาเอสเอ็มอีใต้
'ศศิกานต์' เผย มาตรการ บสย. เยียวยาช่วยเหลือพี่น้องชาวใต้ พักค่าธรรมเนียม-พักหนี้ 6 เดือน ช่วย SMEs ฟื้นฟูกิจการ
‘บสย.’ ขึงเป้าค้ำประกัน 1.15 แสนล. ลุยหารือคลังอ้อนเดินเครื่อง PGS 11
“บสย.” กางผลงานปี 2566 อนุมัติค้ำประกัน พุ่ง 1.14 แสนล้านบาท อุ้มเอสเอ็มอีรายใหม่เข้าถึงสินเชื่อเฉียดแสนราย สร้างสินเชื่อในระบบ 1.24 แสนล้านบาท พร้อมขึงเป้าผลงานปี 2567 ปักธงค้ำประกัน 1.15 แสนล้านบาท แจงหารือคลังจ่อลุย PGS11
เริ่มแล้ววันนี้! บสย. ผนึก ออมสิน ช่วย SMEs รายย่อยแก้หนี้นอกระบบ
เริ่มแล้ววันนี้ ! บสย. ผนึก ธนาคารออมสิน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล แก้หนี้นอกระบบ ช่วยผู้ค้ารายย่อยอาชีพอิสระกลุ่มหนี้นอกระบบ วงเงินค้ำสูงสุด 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาค้ำสูงสุด10 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก