กทพ.เดินหน้าแก้รถติดแยกเกษตรฯ - ถนนงามวงศ์วาน

กทพ.เดินหน้าแก้รถแยกเกษตร -ถนนงามวงศ์วาน ย้ำโครงการทางด่วนขั้น 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 ขุดอุโมงค์เหมาะสุด วงเงินก่อสร้างกว่า 3.6 หมื่นล้าน คาดศึกษาแล้วเสร็จปี67 ก่อนเสนอ ครม.ปี68 ลุ้นเปิดประมูลปี 69

5 ก.ย. 2566 – นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสรุปผลการคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 ว่าที่ผ่านมาการทางพิเศษฯ ได้มีการศึกษารายละเอียดและได้ประสานงานทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อลดผลกระทบในการก่อสร้าง โดยงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม

สำหรับแนวทางที่ดีที่สุดซึ่งเป็นแนวทางเลือกซึ่งเลือกแนวสายทางที่ 2.2 เป็นแนวสายทางที่เหมาะสมที่สุดมีลักษณะเป็นอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมด ซึ่งจะมีการปรับวงเงินก่อสร้างจากเดิมขึ้นคาดว่างบประมาณก่อสร้าง 36,000 ล้านบาท โดยจุดเริ่มต้นบริเวณทางพิเศษศรีรัชตัดกับถนนงามวงศ์วาน แนวสายทางจะไปตามแนวถนนงามวงศ์วานผ่านแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร เข้าถนนประเสริฐมนูกิจจนเชื่อมต่อกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และเชื่อมต่อ E-W Corridor ซึ่งจะได้นำไปศึกษาอย่างละเอียดในขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ ตามแผนกำหนดคาด่าจะศึกษาแล้วเสร็จปี2567 พร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในปี 2568 โดยในปี 2569เริ่มเปิดประมูลโครงการ เริ่มก่อสร้างในปี 2570 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5ปี แล้วเสร็จปี 2575 โดยคาดการณ์ปริมาณจราจรปีเปิดบริการที่ 7 หมื่นคัน/วัน ขณะที่สายทางมีความจุประมาณ 1.4 แสนคัน/วัน เบื้องต้น กทพ.จะลงทุนเอง โดยใช้รายได้มาดำเนินการ ซึ่งฐานะการเงินของกทพ.มีความแข็งแกร่ง จะดูกระแสเงินสด หากไม่พอ จะระดมทุนเข้ามาช่วย เช่น ออกบอนด์ เป็นต้น

“งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 มีความมุ่งหมายที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการจราจราจรบริเวณแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วาน ถนนประเสริฐมนูกิจ และพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของเมืองในอนาคตได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพต่อไป” นายสุรเชษฐ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย ประกอบด้วย บริษัทอินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้ทำการศึกษาคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสมของโครงการ โดยพิจารณาเปรียบเทียบความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมและจราจร เศรษฐกิจและการลงทุน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนทดแทนตอน N1 มีความมุ่งหมายที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการจราจราจรบริเวณแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วาน ถนนประเสริฐมนูกิจ และพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของเมืองในอนาคตได้อย่าง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สามารถ' ผิดหวัง นายก ไม่ผลักดันสะพานเชื่อมเกาะสมุย

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” ระบุว่า “เศรษฐา” ลุย “สมุย” ไร้วี่แวว “สะพานเชื่อมเกาะ”

กทพ. เร่งด่วน 'พระราม 3-ดาวคะนอง' คืบ 75% เปิดใช้กลางปี 68

กทพ. อัปเดตสร้างทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง คืบหน้า 75% คาดเสร็จพร้อมเปิดให้บริการตลอดเส้นช่วงกลางปี 68 ลุยสำรวจความแข็งแรงสะพานพระราม 9 ก่อนประเมินซ่อมบำรุง หลังเปิดใช้งานกว่า 35 ปี คาดใช้งบประมาณ 1 พันล้าน จ่อเปิดประมูลด่วนจตุโชติ – ลำลูกกา 1.8 หมื่นล้านบาท เม.ย.นี้

ข่าวดี 'กทพ.' ชวนคู่รักจดทะเบียนสมรสลอยฟ้า สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ก่อนเปิดใช้บริการ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 111 ปี ของกระทรวงคมนาคม จัดมหกรรมแห่งความสุข กับกิจกรรม “Luck Lock Love รักล้นสะพาน” ครั้งแรก! ของการจัดกิจกรรมบนสะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ก่อนเปิดใช้งานจริง เพื่อส่งมอบความสุขให้กับประชาชน ตลอดเดือนกุมภาพันธ์นี้ อาทิ กิจกรรมจดทะเบียนสมรสลอยฟ้าบนสะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ครั้งแรก พร้อมลุ้นรับของขวัญสุดพิเศษจากแบรนด์ ยูบิลลี่ ไดมอนด์ รวม 11 รางวัล มูลค่า 227,890 บาท

เฮ! กทพ.เปิดใช้ฟรีทางด่วน 5 สายทาง รวม 7 วัน รับเทศกาลปีใหม่

‘การทางพิเศษฯ’ เปิดฟรีทางด่วนสูงสุด 7 วันรองรับเทศกาลปีใหม่ 2567 ด้าน ‘บีอีเอ็ม’ คุมเข้มจัดเจ้าหน้าที่บริการบนทางด่วน 24 ชั่วโมง พร้อมขยายเวลารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง คืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

การทางพิเศษฯ กางแผนลงทุนปี 67 จ่อประมูลทางด่วน 4 สายทาง 9.1 หมื่นล้าน

“กทพ." กางแผนภายใน 10 ปีขยายทางด่วนครบ 11 สาย ยาว 200 กม. ครอบคลุมกรุงเทพฯ-ภูมิภาค จ่อเปิดประมูลทางด่วน 4 สาย วงเงิน 9.1 หมื่นล้านบาท ภายในปี 67