
รฟม. กางข้อมูลลุยชง “สุริยะ” เร่งดัน 3 โปรเจ็กต์คมนาคมรถไฟฟ้าสายสี “ส้ม-น้ำตาล-รถไฟฟ้าภูเก็ต” วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ให้เดินหน้าต่อ
3 ต.ค. 2566 – นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการเร่งด่วน และมีความจำเป็นของ รฟม. ที่เสนอกระทรวงคมนาคม ตามข้อสั่งการนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เพื่อพิจารณา และผลักดันให้มีการดำเนินงานต่อไป มี 3 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) วงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่ง รฟม. ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชน และได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว รอเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อลงนามสัญญา แต่ปัจจุบันยังมีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการดังกล่าวระหว่าง รฟม. และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC ต้องรอศาลปกครองสูงสุดพิจารณา
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. วงเงินประมาณ 4.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. เห็นชอบผลการศึกษาออกแบบ เอกสารประกวดราคา และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) แล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการฯ ต่อไป
นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนพื้นที่ในช่วงถนนประเสริฐมนูกิจ ที่จะใช้พื้นที่เกาะกลางร่วมกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 ตอน N2 (ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) นั้น รฟม. จะวางแผนการก่อสร้างร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด โดยในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รฟม. จะเป็นผู้ก่อสร้างเอง จากเดิมที่จะให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตามสำหรับพื้นที่ด้านข้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ซึ่ง กทพ. มีแผนจะทำอุโมงค์ทางด่วน 2 ชั้น ตอน N1 (ศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ) นั้น คาดว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการทำเสาตอม่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า และ 3.โครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 42 กม. วงเงินประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ปรับรูปแบบระบบรถ เพื่อลดวงเงินลงทุนก่อสร้าง จึงทำให้โครงการล่าช้าออกไป ดังนั้นจึงต้องรอฟังนโยบายจาก รมว.คมนาคมที่ชัดเจนอีกครั้งว่า ระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต จะใช้เทคโนโลยีรูปแบบระบบรถแบบใด และเมื่อนั้นระบบขนส่งมวลชนอีก 3 จังหวัดที่เหลือได้แก่ จ.เชียงใหม่, จ.นครราชสีมา และ จ.พิษณุโลก ก็จะสามารถเดินหน้าต่อได้ โดยปัจจุบัน จ.เชียงใหม่ และ จ.นครราชสีมา ได้ดำเนินการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วน จ.พิษณุโลก อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สุริยะ' ของบกลาง จ่ายชดเชยรถไฟฟ้าบีทีเอส 133 ล้าน ส่วน รฟม. มีรายได้ให้จ่ายเอง 144 ล้าน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี หลังกระทรวงคมนาคมได้ของบกลาง 329 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ประกอบการจากมาตรการรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี
'สุริยะ' แจงโครงการ 'บ้านเพื่อคนไทย' หารือรอบคอบแล้ว
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงข้อสังเกตกระทรวงคมนาคม มีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่ไม่มี
'สุริยะ' เมินเสียงถลุงงบฯ รอ 7 วันประเมินตัวเลขรถไฟฟ้าฟรี
“สุริยะ” โต้ คนวิจารณ์ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ถลุงงบ 140 ล้านตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ชี้ สถิติคนใช้รถส่วนตัวน้อยลง บอกขอพิจารณาก่อน ขยายระยะเวลาหรือไม่
เฮ! ครม. ไฟเขียวต่ออายุ 'รถไฟฟ้า 20 บาท' สายสีแดง-สีม่วง
คนกรุงเฮ! ครม.สัญจร อนุมัติรถไฟฟ้า 20 บาท สายสีแดง-สีม่วง อีก 1 ปี เริ่ม 1 ธ.ค.
เอาแล้ว! กมธ.ที่ดิน จ่อเรียก 'มท.1-รมว.คมนาคม' แจงปมที่ดินเขากระโดง
ที่รัฐสภา นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและ
เพื่อไทยฉวยคดีเขากระโดง สบช่องเตะตัดขาภูมิใจไทย
ปมขัดแย้งกรณีที่ดินเขากระโดง แม้แกนนำรัฐบาลของทั้ง 2 พรรคคือ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม แกนนำพรรคเพื่อไทย และ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ รมว.มหาดไทย