EU เตรียมคุมเข้มสินค้าเคมีภัณฑ์ที่ทดลองกับสัตว์

10 ต.ค. 2566 – นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในขณะนี้สหภาพยุโรป (EU) มีแนวโน้มที่จะยกระดับการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2556 EU ได้มีการใช้บังคับกฎระเบียบควบคุมสินค้าเครื่องสำอาง โดยกำหนดให้สินค้าเครื่องสำอางหรือส่วนผสมของเครื่องสำอางจะต้องผ่านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินความปลอดภัยของสินค้า โดยห้ามใช้สารเคมีในการทดสอบในสัตว์และห้ามจำหน่ายเครื่องสำอางหรือส่วนผสมที่ได้ทดสอบกับสัตว์ในตลาด EU เป็นต้น

โดยจะขยายขอบเขตไปทบทวนกฎระเบียบ ว่าด้วยการจำกัดการผลิต การจำหน่าย และการใช้สารเคมี เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่เป็น ที่ยังคงมีการใช้สัตว์ในการทดสอบประเมินความเสี่ยงของสารเคมีที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ EU อยู่ระหว่างจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อกำหนดแนวทางทดสอบความปลอดภัยของสารเคมีโดยไม่มี/ลดการทดลองกับสัตว์ อีกทั้งจะสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีอื่นทดแทนการใช้สัตว์ทดลองต่อไป

ปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย สินค้าเคมีภัณฑ์นำไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าหลายชนิด จากข้อมูลสถิติการส่งออกสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ของไทย ในปี 2565 พบว่า ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ มูลค่า 2.91 แสนล้านบาท ขยายตัว 5.44% จากมูลค่าการส่งออกในปีที่ผ่านมา โดยในปี 2566 ช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม – มิถุนายน) มีการส่งออกมูลค่าประมาณ 1.26 แสนล้านบาท เป็นการส่งออกไปยังประเทศสมาชิก EU มูลค่าประมาณ 4.80 พันล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์เป็นสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพสูงและมีโอกาสในการขยายตลาดต่อไป ทั้งนี้ การส่งออกสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหลายหน่วยงานขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมประมง กรมปศุสัตว์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิชาการเกษตร กรมการอุตสาหกรรมทหาร รวมถึงกรมการค้าต่างประเทศ

นายรณรงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าไทยจะส่งออกสินค้าเคมีภัณฑ์ไป EU อย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า EU มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับเรื่องการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ โดยในอนาคต สินค้าที่จะส่งออกไปยัง EU จะต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวประกอบการส่งออกด้วย เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาด EU ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศจะติดตามความเคลื่อนไหวการปรับแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าวของ EU อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาปรับปรุงการผลิตและคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมการค้าต่างประเทศคุมเข้มคุณภาพมันเส้นนำเข้า-ส่งออก

กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ไม่แผ่ว เดินเครื่องคุมเข้มคุณภาพมันเส้นนำเข้า-ส่งออกต่อเนื่อง ล่าสุดพบผู้นำเข้ามันเส้นด้อยคุณภาพเพิ่มอีก 7 ราย รวมเป็น 23 ราย สั่งลงโทษทันที

พาณิชย์โชว์ Soft Power อาหารไทย กินกับ 'ข้าวไทย'

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศนำทัพประชาสัมพันธ์ข้าวพรีเมียม ส่งเสริม Soft Power อาหารไทย ในงานประชุมข้าวนานาชาติ ณ เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมค้าข้าวทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 400 ราย และใช้โอกาสนี้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือทางการค้าข้าวไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 17 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตและการค้าข้าว ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางการค้าข้าวระหว่างสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและสมาคมอาหารเวียดนามในฐานะผู้ส่งออกข้าวสำคัญของโลก

พาณิชย์บุกดูไบโปรโมตข้าวไทย

“กรมการค้าต่างประเทศจัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้า Gulfood 2024 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในระหว่างวันที่ 19 - 23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมคูหาต่อเนื่องตลอดงาน”

ส่งออกอาเซียนพุ่ง! ใช้สิทธิฯ FTA สูงสุดตลอดปี 2566

กรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง FTA ตลอดทั้งปี 2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม มีมูลค่ารวม 81,589.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอันดับที่หนึ่งที่มีการใช้สิทธิฯ เป็นตลาดอาเซียน ตามด้วยอาเซียน - จีน ไทย - ญี่ปุ่น ไทย - ออสเตรเลีย และอาเซียน – อินเดีย

พาณิชย์โชว์ยอดส่งออกข้าวปี 66 ทะลุเป้า 8.76 ล้านตัน 

กรมการค้าต่างประเทศสรุปตัวเลขส่งออกปี 2566 ที่ 8.76 ล้านตัน พร้อมคาดการณ์ส่งออกข้าวปี 2567 ที่ 7.5 ล้านตัน จับตาสถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวโลก และผลกระทบเอลนีโญ พร้อมเดินหน้าตามแผนส่งเสริมตลาดข้าว โดยมุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดต่างประเทศ กระชับความสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นกับคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งจัดงานประชุมข้าวนานาชาติในไทยที่เว้นว่างจากการจัดตั้งแต่ช่วงโควิด

ค้าชายแดนปี 66 ทรุด 2.6% ปมเพื่อนบ้านมีปัญหาด้านเศรษฐกิจและความขัดแย้ง

กรมการค้าต่างประเทศสรุปยอดการค้าชายแดนและผ่านแดนปี 66 ทำได้มูลค่า 1,742,808 ล้านบาท ลดลง 2.6% เป็นไปทิศทางเดียวกันกับการส่งออกภาพรวมที่ลดลง และมีสาเหตุจากเศรษฐกิจ สปป.ลาว ชะลอตัว เมียนมาสู้รบ และกัมพูชา กำลังบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี แต่ยอดการค้าผ่านแดนไปจีนพุ่งกระฉูดถึง 44.09% ส่งออกทุเรียนสด นำโด่ง มูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 81.7%