‘ศักดิ์สยาม’ บี้หน่วยงานคมนาคมเร่งเบิกจ่ายงบวงเงิน 2 แสนล้านกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ศักดิ์สยาม สั่งหน่วยงานคมนาคมเร่งเบิกจ่ายปี 65 วงเงิน 2.08 แสนล้าน ตั้งธงเบิกจ่ายตามเป้าหมายรัฐได้ 95% ใน ก.ย. 65 จี้ลงนามสัญญาโปรเจ็กต์ปีเดียวครบ 7 พันกว่ารายการภายใน ม.ค. 65 ส่วนสัญญาผูกพันใหม่ 2.87 พันล้านภายใน มี.ค. 65 หวังช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ

17 ธ.ค.2564-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม วันนี้ (16 ธ.ค. 2564) ว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมติดตามการดำเนินงาน การลงนามในสัญญา เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 ของหน่วยงานในสังกัดให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ 

ทั้งนี้ ได้กำชับให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2565 เร่งดำเนินการขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ลงนามในสัญญาได้ครบทุกรายการโดยเร็ว และเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล 93% และรายจ่ายลงทุน 75% และในส่วนของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ขอให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายเงินในแต่ละเดือน เพื่อที่จะให้ผลการเบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล 95% ภายในเดือน ก.ย. 2565

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2565 (8 ส่วนราชการ 5 รัฐวิสาหกิจ) ในภาพรวม จำนวน 208,455.23 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 26,076.73 ล้านบาท (12.51%) และรายจ่ายลงทุน 182,378.50 ล้านบาท (87.49%) โดยในส่วนของงบรายจ่ายลงทุน ณ สิ้น พ.ย. 2564 มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 14,933.79 ล้านบาท (คิดเป็น 8.19% ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) เมื่อเปรียบเทียบกับแผนการเบิกจ่ายเงิน ณ สิ้น พ.ย. 2564 จำนวน 14,748.87 ล้านบาท โดยสามารถเบิกจ่ายเงินได้เร็วกว่าแผน

สำหรับการลงนามในสัญญารายจ่ายลงทุน กระทรวงคมนาคมมีรายการที่จะต้องลงนามในสัญญารายการปีเดียว จำนวน 7,624 รายการ วงเงิน 77,847.10 ล้านบาท คาดว่าจะได้ตัวผู้รับจ้างทุกรายการใน ธ.ค. 2564 และทยอยลงนามในสัญญาจ้างจนครบทุกรายการภายใน ม.ค. 2565 ส่วนรายการผูกพันใหม่ จำนวน 138 รายการ วงเงิน 2,876.06 ล้านบาท คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ครบทุกรายการภายใน มี.ค. 2565

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ส่วนงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 2565 (10 รัฐวิสาหกิจ) วงเงินเบิกจ่ายรวม 131,829.01 ล้านบาท ประกอบด้วย ทางราง

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 91,495.05 ล้านบาท ,ทางบก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) วงเงิน 11,865.73 ล้านบาท 

ทางน้ำ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) วงเงิน 2,135.40 ล้าบาท ,ทางอากาศสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.), บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท., บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท. และโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รทส.) วงเงิน 26,332.83 ล้านบาท 

ทั้งนี้ มีโครงการสำคัญขนาดใหญ่ที่จะเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2565 เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร, โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา), โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก), โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์), โครงการทางพิเศษสายพระราม 3–ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก, โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมบัญชีกลางขีดเส้นตาย 29 มี.ค.ให้หน่วยงานเร่งขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินปี 66

กรมบัญชีกลางย้ำให้หน่วยงานรัฐเร่งขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินปี 66 ให้ทันภายใน 29 มี.ค.2567 เพราะใกล้สิ้นสุดระยะเวลาการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีของงบประมาณปี 2566

เศรษฐา แจ้งข่าวดี ‘อสม.’ สภาอนุมัติเพิ่มเบี้ยเป็นเดือนละ 2 พันบาท เริ่มเบิก พ.ค.นี้

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า พี่น้อง อสม.มาต้อนรับกันเยอะเลยครับวันนี้ ผมขอแจ้งข่าวดี

เช็กเสียงโหวต ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการลงมติร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วาระสาม ในสัดส่วนของพรรครัฐบาล พบว่าพรรคเพื่อไทย มี น.ส.สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ สส.อุบลราชธานี

หลานอดีตนายกฯ ชงตัดงบรถประจำตำแหน่ง-บ้านพักศาล ชี้ตุลาการควรลำบากไปพร้อมประชาชน

ที่ประชุมสภาฯพิจารณามาตรา 31 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของศาล จำนวน 7,961,884,300 บาท น.ส.ธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กทม.

เปิดตัวเลขความสูญเสียเปิดสถานบริการถึงตี 4 ผงะ! เพิ่มขึ้นทั้ง 5 จว. จี้ถึงเวลาทบทวน

นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกรรมการบริหารศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความเรื่อง ความสูญเสียจากนโยบายนำร่องเปิดสถานบริการผับบาร์ถึงตี 4 ถึงเวลาทบทวนหรือยัง? มีเนื้อหาดังนี้