รัฐมนตรีพลังงานฉุน! ราคาน้ำมันขึ้นลงเป็นตลาดหุ้นทั้งที่มีรัฐดูแล

'พีระพันธุ์' ของขึ้น บอกน้ำมันไม่ใช่หุ้น หลังเบนซินขึ้น 2 บาทไล่หลังรัฐบาลปรับลด ฉะถ้าปล่อยเสรีตามตลาดโลก อย่ามีรัฐดีกว่า ชี้ต้องรื้อระบบ โครงสร้าง ไม่ให้ประชาชนแบก

16 พ.ย.2566 - นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพลังงาน กล่าวถึงราคาน้ำมันเบนซิน ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 2 วัน หลังรัฐบาลประกาศลด 2 บาทต่อลิตรว่า ขณะนี้รัฐบาลเพิ่งประกาศปรับลด ซึ่งเราต้องเข้าใจผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ ก็ต้องเข้าใจประชาชน และรัฐบาล คิดว่าราคาน้ำมันไม่ใช่หุ้น ที่จะขึ้นลงทุกนาทีและทุกวัน ราคาพลังงานโลกก็แบบเดียวกัน ขึ้นลงตามสถานการณ์ แต่จะให้ประชาชนมารับภาระวิ่งขึ้นวิ่งลง ตนว่าไม่ถูกต้อง ควรจะต้องวางระบบ เพื่อรักษาเสถียรภาพ ราคาน้ำมันที่ขายให้กับประชาชน
“การขึ้นลงเป็นเรื่องระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐ ต้องมาว่ากันว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร หากราคาน้ำมันวิ่งขึ้นวิ่งลงแบบนี้ รัฐคำนวณไม่ได้ และควบคุมไม่ได้ มองว่าเป็นระบบที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งกำลังศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อยู่”

ส่วนจะวางแนวทางอย่างไรนั้น นายพีระพันธุ์ ระบุว่า ก็ต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้ราคาซื้อขายน้ำมัน ที่ประชาชนซื้อจากปั๊มมีเสถียรภาพ คือมีราคาที่แน่นอน เพื่อไม่ให้ประชาชนมาแบกรับแบบทุกวันนี้ โดยจะต้องศึกษาเรื่องโครงสร้างกันใหม่หมด เพราะโครงสร้างเดิมที่ใช้กันมา นาน 20 ถึง 30 ปี ถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุง

"มันถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุง อย่างอื่นยังปรับปรุง แล้วทำไมเรื่องนี้ถึงไม่ปรับปรุงเอะอะก็อ้างเรื่องเสรี การค้าเสรี แต่ประชาชนมีปัญหา ผมว่าไม่ถูกต้อง" นายพีระพันธุ์กล่าว

เมื่อถามว่าย้ำว่า แต่ผู้ประกอบการ บอกว่า าคาน้ำมันโลกปรับขึ้น จึงขึ้นราคาตามนายพีระพันธุ์ ย้ำว่า เป็นเรื่องระหว่างผู้ประกอบการกับภาครัฐที่ต้องหาทาง ให้เกิดความเหมาะสม ไม่ใช่เรื่องผู้ประกอบการกับประชาชน แล้วภาครัฐไม่ทำอะไร อย่างนี้ก็อย่ามีรัฐดีกว่า ควรมานั่งคิดกันว่า จะวางระบบอย่างไร ให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยลง ซึ่งจะพยายามทำให้เร็วที่สุด เพราะยังไม่เคยมีใครมาทำ ซึ่งเป็นการคิดครั้งแรกการที่เราจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ดีกว่าไม่คิดใช่หรือไม่

"ซื้อขายน้ำมันกันประจำวันแบบนี้ มันเหมือนหุ้น กทั้ง กองทุนน้ำมัน ก็ประชุมกันทุกวันตามราคาตลาดโลก ไม่ต้องทำอะไรกันเลย วันๆ นั่งประชุมปรับราคา งานมีตั้งเยอะไม่ใช่วิธีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง อันนี้ต้องแก้ไข" นายพีระพันธุ์ กล่าว

เมื่อถามว่าต้องไปรื้อกฏหมาย หรือไม่นั้น นายพีระพันธุ์ ระบุว่า ก็ทั้งหมด มันเป็นเรื่องของกฎหมาย นโยบาย โครงสร้าง การบริหาร ซึ่งมีคณะทำงานที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน และได้รายงานให้นายกรัฐมนตรี ทราบเป็นระยะ ว่ามีปัญหาใดที่ต้องแก้ไข ซึ่งนายกฯ ก็สนับสนุนทุกเรื่อง เพราะที่ทำนั้นก็ทำเพื่อประชาชน ซึ่งนโยบาย ก็ตรงกับนายกฯ อยู่แล้ว ทุกอย่างต้องคิดด้วยความรอบคอบ ไม่ใช่คิดปั๊บทำปุ๊บ เพราะผลกระทบเยอะ ผู้ประกอบการ ทำระบบนี้มานาน รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เคยชินกับระบบแบบนี้ เมื่อเราจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงก็ต้อง ค่อยค่อยดูรูปแบบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้มีผลกระทบน้อยที่สุด คิดว่าเมื่อเป็นรัฐมนตรี อยู่ตรงนี้ นั่งเฉยแบบนี้ไม่ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมชัย ชี้ปรับ ครม. ‘รัฐบาล’ ขาดทุนมากขึ้น  หน้าตาคนมาใหม่หลายคน ปชช.ส่ายหน้า

ปรับ ครม.ครั้งนี้ จึงดูเหมือนรัฐบาลจะขาดทุนมากขึ้น  เพราะหน้าตาคนมาใหม่หลายคนประชาชนก็ส่ายหน้า  ยิ่งปานปรีย์ลาออกอีก ยิ่งเสียโอกาสได้คนเก่งและทุ่มเทมาอยู่ใน ครม.

ดร.รัชดา เชื่อถ้าใช้หลักตอบแทนนายใหญ่ ’นพดล’ เสียบเก้าอี้ ‘ปานปรีย์’ แน่

ดร.รัชดา อยากรู้รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของรัฐบาลนี้จะเป็นใคร คนที่จะต้องเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ สถานการณ์การเมืองในประเทศเพื่อนบ้านและการเมืองโลกตอนนี้

ก้าวไกล เดือดแทน ‘หมอชลน่าน’ ทุ่มเทเหนื่อยสุด โดนคนทิ้งพรรคเสียบเก้าอี้

‘ณัฐชา’ มอง ปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 ‘เพื่อไทย’ ยังรักษาคาแรคเตอร์ ‘สมบัติผลัดกันชม’ เก้าอี้ รมต. เหมือนเดิม สงสัย ทำไมเอาคนทิ้งพรรคอย่าง ’สมศักดิ์‘ แทน ’หมอชลน่าน‘ เหตุเหนื่อยสุดแบกรับสถานการณ์ช่วงเลือกตั้ง-จัดตั้งรัฐบาล

แฉเล่ห์ 'พท.' วางยาแก้ รธน. ล็อกคำถามประชามติครั้งแรก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พรรคเพื่อไทยจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่