'สุริยะ' เผย สัปดาห์หน้ายังไม่ชงแก้สัญญาสัมปทานรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เข้าครม. ระบุ ต้องดูรายละเอียด-ข้อกฏหมาย ให้เรียบร้อยก่อน
07 พ.ย.2567 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเสนอแก้สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ( ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า คาดว่าจะยังไม่มีการนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 12 พ.ย.นี้ เพราะต้องดูรายละเอียดให้รอบคอบก่อน ส่วนสาเหตุที่ล่าช้าอยู่นั้น ตนคิดว่าหลักๆ การแก้ไขครั้งนี้คือ การไปเปลี่ยนหลักการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนหรือ PPP ที่เคยมีอยู่หรือไม่ ต้องไปเช็คดูให้ชัดเจนก่อน และไม่ได้ติดปัญหาความเห็นของพรรคร่วมรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมครม. ภายในเดือน พ.ย. หรือ ธ.ค.นี้ได้หรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ต้องทำกระบวนการเหล่านี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เมื่อเสร็จแล้วถึงจะเสนอสู่ที่ประชุม ครม.ได้
เมื่อถามว่า การแก้ไขสัญญานี้จะส่งผลให้การก่อสร้างถูกยืดระยะเวลาออกไปอีกหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า หลักการแก้ไขสัญญานี้ เป็นการแก้ไขสัญญาของ PPP เดิม ที่ระบุว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วรัฐค่อยจ่าย แต่ต้องเปลี่ยนหลักการว่า สร้างไปจ่ายไป โดยให้เอกชนนำเงินทุนมาวางค้ำประกัน ดังนั้น ต้องดูว่าขัดหลักการของ PPP หรือไม่ แต่ขอย้ำว่าการแก้ไขสัญญา 3 สนามบิน มีเหตุผลมาจากเอกชนไม่สามารถทำตามสัญญาที่จะต้องจ่ายเงินโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ให้กับรัฐบาลตามที่เวลาที่กำหนด แต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ไม่สามารถดำเนินการส่งพื้นที่ให้เอกชนได้ และเมื่อต่างฝ่ายต่างผิดสัญญา ต้องหาทางออกว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ โครงการนี้ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เดินต่อไปได้ จึงต้องมาคุยกันเพื่อแก้ไขสัญญานี้ โดยต้องมีนักกฎหมาย และฝ่ายต่างๆเข้ามาดูว่าทางรัฐจะไม่เสียเปรียบ ซึ่งนั่นคือหลัก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เสี่ยหนู' ปลื้มลูกชายขอ 'น้องเพลง' แต่งงานจะได้เป็น 'อากง'
'เสี่ยหนู' ยินดี ลูกชายขอ 'น้องเพลง' แต่งงานแล้ว บอกได้เป็นอากงซะที เบรกอย่าโยงความรักเป็นการเมือง ด้านมาดามตู่บอกเพิ่งรู้ และขอแสดงความยินดี
'อนุทิน' ส่งอธิบดี ปภ.นั่งส่วนหน้าลุยแก้ไขน้ำท่วมใต้
'อนุทิน' เร่งเบิกจ่ายช่วยน้ำท่วมใต้ ส่งอธิบดี ปภ.นั่งส่วนหน้าลุยแก้ไขสถานการณ์
'พิชัย' รีบย้ำแค่ศึกษาขึ้นภาษีแวตมากกว่า 7%
'พิชัย' แจง แค่แนวคิดเล็งขึ้นภาษีมูลค่ามากกว่า 7% มองทั่วโลกก็ทำกัน ชี้ขอเวลาศึกษาข้อดี-ข้อเสีย เหตุส่งผลชีวิตประชาชน