10 ปีที่รอคอยมาแล้ว ‘หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่’ 20 คัน ปักหมุดให้บริการ พ.ค.นี้

การรถไฟฯ ประเดิมรับมอบ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ ระยะที่ 1 จำนวน 20 คัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ รองรับโครงการรถไฟทางคู่ที่จะเปิดใช้งานในอนาคต

4 ก.พ.2565-นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีรับมอบรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ ระยะที่ 1 จำนวน 20 คัน จากกิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัท ซานโฟโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ณ สถานีรถไฟศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

นายนิรุฒ กล่าวว่า สำหรับรถจักรดีเซลไฟฟ้า ระยะที่ 1 จำนวน 20 คัน เป็นส่วนหนึ่งในแผนการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการและสร้างรายได้ของการรถไฟฯ โดยถือเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ คุณภาพสูง ที่ผลิตโดยบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน (CRRC Qishuyan) ผู้ผลิตรถจักรดีเซลชั้นนำของประเทศจีน และมีเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งจะนำมาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน และบางคันมีการใช้งานมากกว่า 50 ปี

“ส่วนระยะที่2 จะมีการส่งมอบปลายปี 2565 จำนวน 30 คัน จึงถือเป็นการพลิกโฉมการการให้บริการครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง การได้มาซึ่งหัวรถจักรในครั้งนี้ จะช่วยให้การรถไฟฯ มีรถจักรเพียงพอต่อการให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ที่ทยอยเปิดใช้งานในอนาคต ถือเป็นความสำเร็จ หลังจากรอคอยมานานกว่า 10 ปี โดยหลังจากนี้ รฟท.จะทำการทดสอบระบบ เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า และความปลอดภัย เป็นระยะเวลา 3 เดือน ก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ค.นี้ ”นายนิรุฒ กล่าว

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้มีการเปิดประกวดราคา และลงนามในสัญญาในโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ จำนวน 50 คัน วงเงิน 6,525 ล้านบาท กับกิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ ไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 โดยมีกำหนดระยะเวลาการส่งมอบรถจักรแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 จำนวน20 คัน ภายในระยะเวลา 540 วัน นับจากวันลงนามฯ และระยะที่ 2 จำนวนที่เหลืออีก 30 คัน ส่งมอบภายปลายปี 2565

อย่างไรก็ตาม รฟท. มั่นใจว่าโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าดังกล่าว จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดี เพราะถือเป็นรถจักรที่มีความทันสมัย มีสมรรถนะการใช้งานที่ดีกว่าเดิม ซึ่งช่วยให้ทั้งการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารมีความรวดเร็ว ปลอดภัย รวมถึงช่วยสร้างโอกาสในการหารายได้ของการรถไฟฯ ตลอดจนเสริมศักยภาพการขนส่งทางรางให้กับประเทศไทยได้อย่างเป็นอย่างดี

สำหรับจุดเด่นของรถจักรดีเซลไฟฟ้าดังกล่าว ได้ถูกออกแบบและผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีสมรรถนะในการลากจูงขบวนรถโดยสารได้ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และลากจูงขบวนรถสินค้าที่ความเร็วสูงสุด 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ มีการติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติ (Automatic Train Protection – ATP) รองรับกับมาตรฐาน ETCS level 1 : (European Train Control System: ETCS) รวมถึง มีเครื่องยนต์รถจักร ผลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีค่ามาตรฐานในการปล่อยควันไอเสียต่ำตามมาตรฐานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนได้ติดตั้งระบบกล้อง CCTV เพื่อบันทึกเหตุการณ์ด้านหน้ารถจักรและเครื่องพ่วงเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการเดินรถอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' ตรวจสถานีรถไฟหัวหิน ภาพรวมดี ผู้โดยสารชมตรงเวลา ราคาประหยัด

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง สวมเสื้อลายไก่ชนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเป็นเสื้อซอฟพาวเวอร์ ประจำจังหวัดพิษณุโลก

รฟท.โชว์ขบวนรถไฟท่องเที่ยวสุดหรู “SRT ROYAL BLOSSOM”ปักหมุดเปิดบริการกลางปีนี้

ได้รับความสนใจไม่น้อย หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดวาร์ปรถไฟท่องเที่ยวขบวนใหม่ SRT ROYAL BLOSSOM ที่ดัดแปลงมาจากขบวนรถญี่ปุ่น Hamanasu

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 1.33 แสนล้าน

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 634 กม. 1.33 แสนล้าน ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์‘ ชงคมนาคม ก.พ.นี้ ก่อนเสนอครม. ต่อไปเคาะ ยันรายงานอีไอเอผ่านฉลุย

'สามีภรรยา' หวิดดับคู่ สังเวยอันตรายจุดตัดผ่านรถไฟไทรโยค

ขบวนม้าเหล็กสายธนบุรี-น้ำตกไทรโยค กาญจน์ บดขยี้รถอีซูซุแคร์รี่ขายของเคลื่อนที่ขณะวิ่งข้ามจุดตัดทางรถไฟที่มีเครื่องกั้นหน้าสำนักสงฆ์ถ้ำบาตร 2 สามีภรรยารอดตายหวุดหวิด

รฟท. จ่อลงนามไฮสปีด ไทย-จีน สัญญา 4-5 ยันเปิดใช้ปี 71

“การรถไฟฯ” เล็งลงนามไฮสปีดไทย-จีน สัญญา 4-5 งานโยธา “บ้านโพ-พระแก้ว” มูลค่า 1.03 หมื่นล้านภายในเดือนนี้ ส่วนสัญญา 4-1 พื้นที่ทับซ้อนเชื่อมสามสนามบิน เร่งถกเอกชน ปูแนวทาง รฟท. ลงทุนสร้างเอง คาดสรุปจบสิ้นปีนี้ ยันเปิดใช้ไฮสปีดเส้นแรกของไทยตามแผนในปี 71