สพฐ. ติวเข้มศึกษานิเทศก์ สร้างเครือข่ายนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ สร้างความเข้มแข็งให้กับ รร.

28ธ.ค.2564-นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาฯ กพฐ.) ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของศึกษานิเทศก์ และเครือข่ายผู้บริหารสถานศึกษาร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ซึ่งได้ย้ำว่ากระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การนิเทศการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนโยบายลงสู่ปฏิบัติ และการนิเทศเชิงรุกที่ขับเคลื่อนร่วมกับ คณะกรรมการเครือข่ายผู้บริหารสถานศึกษาแบ่งเป็นภูมิภาค ร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา เป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างเครือข่ายผู้นิเทศ ที่เป็นต้นแบบการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของตนเอง และสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนเครือข่าย เป็นการนิเทศแบบลงมือปฏิบัติให้เห็นชัดเจนในการร่วมกันขับเคลื่อนในลักษณะเครือข่ายแบบกัลยาณมิตร

นางเกศทิพย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้มอบนโยบายการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้…สู่อนาคตภาพทางการศึกษา โดยการขับเคลื่อนในระดับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่จุดเน้นสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก แบบ Active Learning ผ่านการบูรณาการตัวชี้วัด การบูรณาการข้ามกลุ่มสาระฯ และเติม Attitude and Value ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนที่หลากหลายทุกระดับชั้น อาทิ การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี ในระดับปฐมวัย และการจัดการเรียนการสอนบนพื้นฐานของแนวคิด จิตศึกษา PBL + PLC ในระดับประถมศึกษา เน้นการบูรณาการตัวชี้วัดและการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระฯ ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูตามกลุ่มสาระฯ ด้วยสื่อการเรียนการสอนในระบบ DLTV ของโรงเรียนขนาดเล็ก แต่สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพสูงขึ้นเชิงประจักษ์

ส่วนในระดับมัธยมศึกษานั้นมีตัวอย่างการจัดการเรียนการสอน Active learning แบบ GPAS 5 Steps + PLC สู่การพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลาย และที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนแบบ STEAM ที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางของการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระฯ ได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งภาพความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง ทั่วประเทศ การส่งเสริมทักษะด้านกีฬา และดนตรี ในห้องเรียนพิเศษด้านกีฬาและดนตรี ทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณภาพที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่นั้นมีอยู่มากมาย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการหนุนเสริมเติมต่อคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศเชิงรุก จากศึกษานิเทศก์ของพื้นที่ และเครือข่ายผู้บริหารสถานศึกษาร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา บทบาทสำคัญของเครือข่ายดังกล่าว มีหน้าที่ เป็นต้นแบบในการปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสู่สถานศึกษา การสร้างเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา การร่วมมือและสนับสนุนการนิเทศร่วมกับศึกษานิเทศก์ในเขตพื้นที่ เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนและสนับสนุนงานตามนโยบาย และเตรียมพร้อมในการรับการประเมิน และเป็นต้นแบบการนิเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

"รมช.สุรศักดิ์" ผนึกกำลัง​ สพฐ. ลงพื้นที่กระบี่ ย้ำโรงเรียนต้องปลอดภัย อาหารกลางวันต้องได้คุณภาพ พร้อมดันนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ต่อเนื่อง

เมื่อวันอาทิตย์​ที่ 21 มกราคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ จ.กระบี่