'แกนนำประมงพื้นบ้าน' ตำหนิอธิบดีกรมประมงไม่กล้าหาญ เอาตัวรอด ยังไม่บังคับใช้ม.57ของกฏหมายประมง

'กรรมการกป.อพช.' ข้องใจทำไมยังไม่มีการบังคับมาตรา 57ของกฏหมายประมง ชี้เป็นมาตารการทำให้ชาวประมงทุกคนทุกกลุ่มจะได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ตำหนิอธิบดีกรมประมงไม่กล้าหาญ เอาตัวรอด ปล่อยให้ประชาชนทะเลาะกันเอง

6 ก.ค.2565 - นายสมบูรณ์ คำแหง คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “ให้ชาวบ้านตีกันเอง”ทางออกแบบมักง่ายของกรมประมง กรณีมาตรา 57 มีเนื้อหาดังนี้

หากพี่น้องชาวประมงทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ทั้งหลายยังจำกันได้ เมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับ “ใบเหลือง”หรือ Yellow Card ที่เป็นการประกาศแจ้งเตือนจากคณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ว่า “ประเทศไทยไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing – IUU Fishing)”

พร้อมทั้งแนะนำให้เร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และการจัดการด้านการประมงของไทยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ตลอดจนสอดคล้องกับกฎหมาย อนุบัญญัติ ตราสารและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีประชาคมโลกต่อเรื่องนี้ในหลายกรณี เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) จรรยาบรรณการทำการประมงด้วยความรับผิดชอบ (FAOs CCRF) และแผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (FAOs IPAO-IUU) ฯลฯ

ต่อเรื่องนี้ ทำให้สหภาพยุโรปสั่งระงับการนำเข้าสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของประเทสไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาดประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป จนส่งผลกระทบต่อชาวประมงในภาพรวมในขณะนั้นอย่างมหาศาล และจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลในขณะนั้นจะต้องดำเนินการทุกอย่าง เพื่อที่จะปลดล๊อคจากการถูกระงับการส่งออกให้เร็วที่สุด และหนึ่งในนั้นคือการออกกฏหมายประมงฉบับปี พ.ศ. 2558

กฏหมายประมงฉบับใหม่ (พ.ศ. 2558) ถือว่ามีความก้าวหน้าในหลายประการที่ไม่ใช้แค่เรื่องการควบคุม กำกับ การจับสัตว์น้ำที่ต้องไม่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำจนไร้การควบคุม แต่ยังรวมถึงการมีมาตรการเรื่องการคุ้มครองแรงงานประมง ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบมาตลอด รวมถึงการสร้างมาตรฐานในการบริหารจัดการอื่นๆของเรือประมงที่จะต้องขออนุญาติอย่างถูกต้องเพื่อให้ง่ายต่อการกำกับดูแล นอกจากนั้นแล้วยังมีการกำหนดเขตการทำประมงเพื่อให้มีการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและรักษาระบบนิเวศเฉพาะถิ่น

ถึงกระนั้นก็ตาม ในกฏหมายดังกล่าวอาจจะมีช่องว่างหรือข้อจำกัดบางอย่างอยู่บ้าง ที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป แต่โดยภาพรวมแล้ว ถือเป็นกฏหมายที่มีเป้าประสงค์ที่ต้องการให้มีการคำนึงถึงศักยภาพของทะเลกับปริมาณการทำประมงของประเทศไทยที่ไม่สมดุลกัน ด้วยเพราะเปิดกว้างมากเกินไป

ต่อข้อเรียกร้องของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยในช่วงการรณรงค์จากภาคใต้ – ไปถึงกรุงเทพมหานคร (แม่น้ำเจ้าพระยา) ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม - ต้นมิถุนายน 2565 นั้น เพียงจะย้ำเตือนกับกรมประมงว่า ทำไมถึงยังไม่มีการบังคับ มาตรา 57 ของกฏหมายประมง พ.ศ. 2558 ด้วยเพราะเวลาที่ล่วงเลยมาแล้วหลายปีหลังจากกฏหมายฉบับนี้ถูกบังคับใช้ (แม้จะรู้ว่าเบื้องลึกเบื้องหลังต่อเรื่องนี้คืออะไร)

การเรียกร้องในเชิงสัญลักษณ์ที่ว่า “ทวงคืนน้ำพริกปลาทู” อาจจะทำให้ประชาชนทั่วไปคลุมเครือต่อเจตนาและข้อเรียกร้องอันแท้จริงของชาวประมงพื้นบ้าน แต่เชื่อว่าอธิบดีกรมประมง และฝ่ายการเมืองที่กำกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี

หลังการรณรงค์ กรมประมงได้มีคำสั่งให้สำนักงานประมงจังหวัดทั่วประเทศ(ที่ติดทะเล)จัดประชุมคณะกรรมการประมง เพื่อให้พิจารณามาตรา 57 (ตามข้อเรียกร้องของชาวประมงพื้นบ้าน) และอ้างเหตุผลว่าจะต้องจัดให้มีการปรึกษาหารือกันก่อน ทั้งต้องมีข้อมูลทางวิชาการรองรับมากพอ ซึ่งฟังแล้วเหมือนดูดี แต่ในความจริงแล้วนั้น นี่คือการ “เอาตัวรอด” ของกรมประมง และปล่อยให้ประชาชนทะเลาะกันเอง แทนที่จะใช้เหตุผลและข้อเท็จจริงซึ่งพวกท่านมีอยู่มากพอที่จะตัดสินใจได้แล้วในกรณีนี้ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฏหมายให้ครบถ้วน แต่ท่านก็ไม่เลือกที่จะทำ

ด้วยพวกท่านทราบดีว่า กลไกของคณะกรรมการประมงทุกจังหวัด (เกือบทุกจังหวัด) สมาคมประมง (ประมงเรือใหญ่) สามารถกำกับได้ค่อนข้างเบ็ดเสร็จ และท่านก็รู้ดีว่าผลทั้งหมดจะออกมาเป็นอย่างไร แต่หารในเรื่องนี้มีการใช้เหตุผลตามข้อเสนอของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยแล้ว ข้อเสนอให้มีการบังคับใช้มาตรา 57 คือมาตารการที่จะทำให้ชาวประมงทุกคน ทุกกลุ่มจะได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และยังจำนำไปสู่ความหมายของ “การประมงแบบยั่งยืน” อย่างแท้จริง

จึงเห็นได้ว่า เจตนาของกฏหมายประมง พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะความสำคัญของมาตรา 57 ที่ตราออกมานั้น เพราะต้องการสร้างเงื่อนไขให้ประเทศไทยเอาจริงเอาจังกับการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ไม่ปล่อยให้มีการใช้เครื่องมือผิดกฏหมายและลำลายล้าง “พันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน” มากจนเกินกำลังเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา จึงขอตำหนิการทำหน้าที่ของอธิบดีกรมประมง ที่ไม่กล้าหาญเพียงพอ แถมยัง “บิดพลิ้วเจตนา” แบบเนียนๆ เสมือนว่าตนเองเป็นกลาง ไม่ได้เอียงข้างฝ่ายใด แม้แต่หลักการที่ถูกต้องก็ตาม

สมบูรณ์ คำแหง
กรรมการ กป.อพช.(ชาติ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประมงพื้นบ้านตราด ยื่นผู้ว่าฯค้านการแก้ไขพรบ.ประมง หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์

สมาคมประมงพื้นบ้านรักษ์ทะเลตราด ยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไขพรบ.ประมงฉบับใหม่ที่อยู่ในชั้นกรรมาธิการ หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์ เหตุให้เรือประมงพาณิชย์ขนาด 100 ตันกรอสทำประมงในพื้นที่ชายฝั่ง และลดพื้นที่ประมงพื้นบ้าน

กสม. ชี้โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบประมงพื้นบ้าน ระบบนิเวศ

กสม. ชี้ โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านและระบบนิเวศทางทะเล แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ไข

'แกนนำเอ็นจีโอ' ปลุกกลุ่มค้าน 'แลนด์บริดจ์' อย่าหวั่นไหวแม้ถูกดิสเครดิต

นายสมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงการเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ ว่า

ครม. เห็นชอบแก้ พ.ร.ก.ประมง ปี 2558 นายกฯ สั่งรับฟังความเห็นทุกหน่วยงานโดยละเอียด

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ว่า ที่ประชุม ครม.รับทราบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่ร่างโดยคณะกรรมการแก้ไ

'รมช.คมนาคม' ตอกหน้า 'ศิริกัญญา' อ่านรายงาน 'แลนด์บริดจ์' ผิดฉบับ

'มนพร' ตอก 'ศิริกัญญา' อ่านรายงานแลนด์บริดจ์ผิดฉบับ เย้ยใช้รายงานเดิม จะตั้งกมธ.ใหม่ทำไม ลั่นรัฐบาลไม่ใช่แค่กล้าสบตาประชาชน แต่เปิดหูเปิดตารับฟัง

ชาวประมงเดือดร้อนหนัก จี้หน่วยงานรัฐอย่าเมินปัญหาไฟกระพริบบอกร่องน้ำใช้การไม่ได้

ชาวประมงพื้นบ้านและเรือบริการนักท่องเที่ยวเดือดร้อนหนัก ไฟกระพริบบอกร้องน้ำเดินเรือบริเวณเกาะนกเสียมานานไร้หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบช่วยดูแลแก้ไข