ทอ.ปล่อยคลิป HOT ALERT 'ภารกิจป้องกันทางอากาศ' ที่คุณยังไม่เคยรู้

“ดังนั้นการสั่งเครื่องขึ้นไปสกัดกั้นมีองค์ประกอบ รายละเอียดมีมาก ในการใช้ดุลยพินิจว่า “เอาหรือยัง” ในการเข้าไปสะกัดกั้นใครสักคนหนึ่ง การส่งเครื่องบินขึ้นไป หมายความว่า อย่าเข้ามา ถ้าเข้ามา เราจะยิง ส่วนการระวังไม่ให้ข้ามแดนสามารถทำได้ 1. ต้องคุ้นชินกับพื้นที่ 2. ต้องศึกษาแผนที่ทางอากาศเป็นอย่างดี”

12 ก.ค.2565- หลังเกิดกรณีเครื่องบินรบเมียนมาโจมตีกองกำลังชนกลุ่มน้อยบริเวณแนวชายแดนและบินล้ำแดนเข้ามายังพื้นที่ประเทศไทยบริเวณอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ในห้วงที่ผ่านมาจนทำให้ กองทัพอากาศ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงระบบการป้องกันภัยทางอากาศ และการตอบโต้ไม่ทันท่วงที

ล่าสุด กองทัพอากาศ ปล่อยคลิปความยาว 40.35 นาที ในหัวข้อ HOT ALERT “ภารกิจป้องกันทางอากาศ”ที่คุณยังไม่เคยรู้โดยมี นาวาอากาศเอก ปรกร จีนะวัฒน์ อดีตผู้บังคับฝูงบินสกัดกั้นของกองทัพอากาศ ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมไทยไปแล้ว พูดคุยกันในมุมมองต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าใครได้รับข้อมูลมาแบบไหน ซึ่งตนในฐานะนักบินรบก็เข้าใจดีหากประชาชนจะไม่เข้าใจ หากเราไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวหรือข้อมูลไม่เพียงพอ

เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น รับทราบว่าเครื่องบินที่ตัดเข้ามาในภูมิประเทศที่เหมือนจิ๊กซอว์ต่อกันมีจะงอยโผล่เข้ามา ซึ่งฝั่งไทยเองก็มีจะงอยโผล่ไปหาเขาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถือเป็นความเปราะบางและเป็นเรื่องละเอียดอ่อนพอสมควรในพื้นที่นี้ การล้ำเขตแดน มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 2 เหตุผล 1. ตั้งใจ 2.ไม่ได้ตั้งใจ

ทุกครั้งที่มีการปฏิบัติการเช่นนี้เรดาร์ของกองทัพอากาศมองเห็น ก็ประสานไปกับกองกำลังทางบกที่อยู่ตามแนวชายแดนก็ทราบว่าเขาใช้อาวุธอยู่ในพื้นที่เขา และบินขึ้น-ลงเป็น100เที่ยวบิน กองทัพอากาศและกองกำลังทางบกก็ดูทุกครั้งว่ามีการข้ามแดนมาหรือไม่ ถามว่สแล้วจะ รู้ได้อย่างไรว่าข้ามเส้นมาหรือไม่ข้ามเส้น ก็ต้องถามไปยัง ผู้กำกับเส้น เพราะเรามีกองกำลังทางบก ที่เปรียบเสมือนผู้กำกับเส้น ซึ่งอยู่ตรงเส้นแบ่งพอดีหากแหงนหน้าขึ้นไปตรงๆเขาจะรู้ว่าข้ามหรือไม่แต่ในวันที่เกิดเหตุมีการข้ามแดนมาประมาณนาทีเศษๆและหายไป

เมื่อเราไปดูภาพจากเรดาร์ก็ทราบว่ามีจะงอยอยู่ส่วนบนที่เป็นลิ้มลงมา เครื่องบินบินวนอยู่ ในจังหวะการเลี้ยวเที่ยวสุดท้ายของเขา มีการเลี้ยวซ้ายแทนที่จะเลี้ยวขวาซึ่งจะอยู่ในแดนของเขา แต่เมื่อเลี้ยวซ้ายก็ลำแดนประเทศไทยผ่านจะงอยด้านบนออกไป นั้น คือสิ่งที่ประเทศไทยบอกว่า มีการทำผิดกติกาเกิดขึ้นแล้ว และนอกจากเครื่องบินที่เขาบินออกไปแล้วกองทัพอากาศพบว่ามีเฮลิคอปเตอร์อีก 1 ลำบินเข้ามา จึงส่งF-16 ไปแจ้งเตือน

“นี่เป็นการแสดงท่าทีให้อีกฝ่ายเห็นว่าเขาหลุดเข้ามาประเทศไทยไม่ได้ และเราไม่ยอม อย่า ทำเช่นนี้อีกไม่ว่าสิ่งที่เขาได้กระทำไปนั้นจะเป็นความผลั้งเผลอ ผลาดผิด หรือเจตนาก็ตาม อย่ากระทำเช่นนี้กับประเทศไทยอีก
กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินรบไปบล็อคเอาไว้ เรียกว่า การลาดตระเวนรบติดอาวุธทางอากาศ หรือ COMBAT AIR PATROL ( CAP) ซึ่งเราส่งเครื่องบินที่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเครื่องบินเตรียมพร้อม หรือที่เรียกว่า Quick Reaction Alert (เครื่องบิน alert)ขึ้นไป เพราะ 1.ติดตั้งอาวุธ และถังน้ำมัน ที่มีความเหมาะสมกับภารกิจในการขึ้นไปบินลาดตระเวนรบติดอาวุธ ซึ่งถือเป็นการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าไปสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึกที่รุกล้ำน่านฟ้า ซึ่งกองทัพอากาศจะจัดเครื่องบิน alert ประจำอยู่ทั่วประเทศ” นาวาอากาศเอก ปรกร กล่าวและว่า

ส่วนองค์ประกอบการสั่งเครื่องวิ่งขึ้นเพื่อ ทำการเป็นสกัดกั้น 1 . สถานการณ์ตอนนั้น ตามหลักสากลในการป้องกันห้วงอากาศ มีคำว่า DEFCON DEFENSE CONDITION LEVEL1-5 หมายถึง สถานการณ์อยู่ในการเตรียมพร้อม ไม่มีแนวโน้มเกิดความรุนแรง พิจารณาว่าเขาพยายามเป็นศัตรูกับเราหรือไม่ 1 เจตนา หรือ สิ่งบอกเหตุ 2. เมื่อเราส่งเครื่องบินไปสกัดกั้น เครื่องบินที่เข้ามาปกติจะไม่บินลำเดียวเด็ดขาด จะมา 2 ลำขึ้นไป แต่ในวันนั้นเขามาเพียง 1 ลำ และ 3 อาวุธที่เขานำมาคืออะไร ถ้าดูตามข่าว อาวุธติดมากระบอกจรวดเป็นส่วนใหญ่ ไม่สร้างความเสียหายในระดับรุนแรง และมีปืน นอกจากปกติเมื่อบินในพื้นที่ประเทศของเรา จะเปิดเครื่องพิสูจย์ฝ่ายว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน หรือ ข้าศึก หากเราจะไปรบกับใครจะไม่เปิดเครื่องนี้ ไม่เช่นนั้น เขาจะรู้รายละเอียดของเราทั้งหมด เช่น บินความสูง ความเร็วเท่าไหร่ มากี่ลำ

สำหรับเงื่อนไขการพิจารณาสั่งเครื่องวิ่งสกัดกั้น คือ 1.วิ่งขึ้นจากสนามบินที่เราเพ่งเล็งหรือไม่ 2.ติดอาวุธอะไรขึ้นมา เป็นอาวุธสุ่มเสี่ยง สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยหรือไม่ 3.ติดถังเชื้อเพลิงสำรองหรือไม่ 4. เครื่องไฟเตอร์ มีการประกอบเป็นหมู่บิน 5.เปลี่ยนแปลงความสูงขึ้น-ลงในเวลาไม่ถึง 10 วินาที

“ดังนั้นการสั่งเครื่องขึ้นไปสกัดกั้นมีองค์ประกอบ รายละเอียดมีมาก ในการใช้ดุลยพินิจว่า “เอาหรือยัง” ในการเข้าไปสะกัดกั้นใครสักคนหนึ่ง การส่งเครื่องบินขึ้นไป หมายความว่า อย่าเข้ามา ถ้าเข้ามา เราจะยิง ส่วนการระวังไม่ให้ข้ามแดนสามารถทำได้ 1. ต้องคุ้นชินกับพื้นที่ 2. ต้องศึกษาแผนที่ทางอากาศเป็นอย่างดี”

นาวาอากาศเอก ปรกร ยังกล่าวถึง ความเปราะบางบริเวณตามแนวชายแดน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของประเทศที่มีเขตแดนติดต่อกัน และไม่ได้ทุกขั้นด้วยแม่น้ำหรือเทือกเขา ใครจะข้ามไปฝั่งไหนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เรามีกองกำลังทางบกคอยประสานงานติดต่อกันอยู่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทอท.' ลังเลรับคืน 'สนามงู' จากทอ.เหตุทำอะไรไม่ได้มาก 'จิรายุ' จ่อเรียกแจงอีกครั้ง

'ทอท.'ลังเลรับคืน'สนามงู'จากทอ. เหตุเอามาก็ทำอะไรไม่ได้มาก พื้นที่แคบ ด้าน 'จิรายุ' ปธ.กมธฯชี้ต้องเรียกชี้แจงอีกครั้งเนื่องจากเป็นนโยบายนายกฯ ให้เพิ่มศักยภาพสนามบิน

'ช้าง-กองทัพอากาศ' อบรมกอล์ฟภาคฤดูร้อน มอบทุนพัฒนาสวิงเยาวชนปีที่ 16

''น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง'' ร่วมกับ “ศูนย์ฝึกสอนกอล์ฟเยาวชนกองทัพอากาศ” จัดโครงการฝึกอบรมกอล์ฟเยาวชนภาคฤดูร้อน “ช้าง - กองทัพอากาศ” ประจำปี 2567 สนับสนุนทุนพัฒนาฝีมือพร้อมคัดเลือกนักกอล์ฟเยาวชนฝีมือดีเข้าแคมป์อบรม ช้าง ไทยแลนด์ จูเนียร์ กอล์ฟ คลินิก 2024 ปลายปีนี้

ทอ. เตรียมส่ง UAV สนับสนุนรักษาความปลอดภัยแนวชายแดน อ.แม่สอด

เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force ได้เผยแพร่ภาพ และข้อมูลว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดนด้านตรงข้าม อ. แม่สอด จว.ตาก กองทัพอากาศ โดยศูนย์ยุทธการทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ

'ผอ.ทอ.' ตรวจเยี่ยมหน่วยบิน สนับสนุนกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ลุยดับไฟป่า-ฝุ่นพิษเชียงใหม่

พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ พร้อมด้วย พล.อ.อ.วรกฤต

ผบ.ทอ. พร้อมนำ F-16 ขึ้นสกัดตอบโต้ภายใน 5 นาที หากเครื่องบินเมียนมารุกล้ำน่านฟ้าไทย

พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ทอ. ส่งเอฟ-16 จากตาคลี ขึ้นบินรักษาเขต ลาดตระเวนสถานการณ์ชายแดน

เพจกองทัพอากาศ ได้เผยแพร่ภาพเครื่องบินขับไล่ เอฟ 16 ขึ้นบินจากสนามบินตาคลี กองบิน 4 จ. นครสวรรค์ โดยแหล่งข่าวระบุว่า เอฟ16 2 เครื่องได้ทำการบินรักษาเขต และลาดตระเวณ