อัปเดต! 'เพจดัง' เผยภาพถ่ายดาวเทียม บูรณะ 'พระที่นั่งวิมานเมฆ'

15 ก.ค.2565 - เพจเฟซบุ๊ก “โบราณนานมา” โพสต์ภาพถ่ายดาวเทียมเปิดเผยความคืบหน้าล่าสุดการบูรณะ “พระที่นั่งวิมานเมฆ” ในปี พ.ศ.2565 ระบุพระที่นั่งหลังนี้มีอายุการใช้งานเป็นเวลานานกว่า 120 ปี จึงเกิดการทรุดตัวของอาคาร จากนั้นจึงเกิดโครงการการปรับปรุงโครงสร้างชั้นใต้ดินของพระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อในปี 2560 ซึ่งเพจดังกล่าวได้ไล่เลียงภาพถ่ายดาวเทียมการบูรณะพระที่นั่งวิมานเมฆตั้งแต่ปี 2560-2565 โดยระบุเนื้อหาดังนี้

“พระที่นั่งวิมานเมฆ” มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงามประณีตและได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ด้วยรูปแบบตะวันตกผสมผสานรูปแบบไทย ที่เรียกว่า “วิกตอเรีย”

แรกเริ่มพระที่นั่งองค์นี้นามว่า “พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์” สร้างขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ณ เกาะสีชัง เมื่อปี ๒๔๓๕ ปัจจุบันที่เกาะสีชังยังคงเหลือฐานของพระที่นั่งเดิมเอาไว้ ใครไปเที่ยวแวะไปชมได้

พอเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้รื้อถอน “พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์” และ “ตำหนัก” บางส่วน ไปสร้างไว้ในพระราชวังดุสิต เมื่อปี ๒๔๔๓ และสร้างเสร็จปี ๒๔๔๕ พระราชทานนามใหม่ว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ”

จนมาถึงปี ๒๕๒๕ ผ่านไป ๘๐ ปี “พระที่นั่งวิมานเมฆ” ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ อันเป็นปีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี และได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ารับชมเมื่อ ๒๕๒๘

จนกระทั่งในปี ๒๕๕๙ “พระที่นั่งวิมานเมฆ” นั้นมีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน ๑๒๐ กว่าปี เกิดการทรุดตัวของอาคารทำให้ได้รับความเสียหาย จากนั้นในปี ๒๕๖๐ เกิดโครงการการปรับปรุงโครงสร้างชั้นใต้ดินของ “พระที่นั่งวิมานเมฆ” ขึ้น เป็นโครงการก่อสร้างกิจกรรมพิเศษในพระบรมวงศานุวงศ์ กรมโยธาธิการและผังเมือง

งานปรับปรุง “พระที่นั่งวิมานเมฆ” เฉพาะส่วนงานโครงสร้างชั้นใต้ดิน ได้แก่ งานรื้อถอนพื้นพร้อมโครงสร้างพื้น ผนังก่ออิฐเดิม คาน-เสาคอนกรีต เสริมเหล็ก เสาเข็มไม้และงานระบบไฟฟ้า งานระบบสุขาภิบาล งานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ

ซึ่งการปรับปรุงจะต้องดําเนินการ ไปพร้อม ๆ กับงานรื้อถอน โดยใช้เหล็กเพื่อเสริมค้ำยันโครงสร้างเดิมไปพร้อมๆกัน เพื่อรับน้ําหนักตัวอาคารเดิมระหว่างจัดทําโครงสร้างใหม่ ตอกเข็ม STEEL MICRO PILE ขนาด ๑๖๕.๒ มม. รับน้ําหนักปลอดภัย ๑๖ ตัน/ต้น ตอกแบบใช้อุปกรณ์เครื่องมือป้องกันการสั่นสะเทือน ดําเนินการดีดอาคาร ๘ เหลี่ยม ขึ้น ๓๐ เซนติเมตร พร้อมรื้อถอนโครงสร้างเดิมและจัดทําโครงสร้างใหม่

ทั้งนี้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากว่า สวยงามและเฝ้ารอเข้าไปเที่ยวชมพระที่นั่งวิมานเมฆหลังการบูรณะเสร็จสิ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือมืด ลอบสาดสีโบสถ์มหาอุตม์ วัดนางสาว อายุกว่า 400 ปี หลังเพิ่งบูรณะใหม่

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร หลังจากที่ได้รับแจ้งว่า มีคนนำสีมาสาดใส่ที่ผนังโบสถ์ที่สวยงามและที่พื้นโดยรอบโบสถ์มหาอุตม์ โบสถ์เก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา มรดกอันล้ำค่า อายุกว่า 400 ปี

นายกสมาคมทนาย เตือนตร.ตั้งข้อหานักข่าวหนุนพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ต้องดูฎีกาให้ดี

นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกบันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ ความ กรณีพนักงานสอบสวนสน.พระราชวังดำเนินคดีกับ นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ อายุ 35 ปีกับ นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้ต้องหาที่ 1-2 ผู้ต้องหากระทำความผิดฐาน

ต้นสังกัดช่างภาพ ผู้ต้องหาคดีหนุนพ่นสีวัดพระแก้ว ยันไม่ได้มอบหมายให้ไปทำข่าว

บริษัท เดอะ สเปซบาร์ จำกัด ชี้แจงกรณีกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวโทษดำเนินคดี นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพประจำกองบรรณาธิการ SPACEBAR ข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ

กรรมการสิทธิฯ ออกแถลงการณ์ห่วงเสรีภาพสื่อ ปมตร.จับนักข่าวเอี่ยวพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว

คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่งชาติ​ (กสม.)​ออกแถลงการณ์​จากกรณีผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ และช่างภาพ ถูกจับกุมตามหมายจับในฐานความผิดให้การสนับสนุนในการทำให้โบราณสถานเสียหายตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

เตือนคนกรุง รับมือฝุ่นพิษเพิ่มขึ้นช่วงวันที่ 29-30 มกราคม

ศูนย์สื่อสารการแก้ไขคุณภาพอากาศ (ศกพ.) ขอแจ้งเตือนฝุ่นละออง PM2.5 จากข้อมูลจุดความร้อนจาก GISTDA วันที่ 26 มกราคม 2567 ประเทศไทยมีจุดความร้อน (Hot Spot)