
‘ทิพานัน’ อวดความเจริญอีกขั้น! ร่างแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ครอบคลุม 33 เส้นทาง ‘บิ๊กตู่’ วิสัยทัศน์พัฒนาไทยอย่างยั่งยืน
28 ก.ค. 2566 – น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งของประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยในส่วนของโครงข่ายรถไฟฟ้า ได้ผลักดันให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ตามแผน M-MAP เดิม ส่งผลให้ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เปิดให้บริการแล้ว 242.34 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง105.40 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามด้วยสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนที่เปลี่ยนไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า กรมการขนส่งทางรางได้รายงานผลการดำเนินการ “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2”หรือ M-MAP 2 เพื่อต่อยอดแผน M-MAP เดิม ให้มีความครอบคลุม สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของเมืองในอนาคต และตอบสนองความต้องการในการเดินทางของประชาชนอย่างแท้จริง
สำหรับแผนการพัฒนา M-MAP 2 นี้มีทั้งสิ้น 33 เส้นทาง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.เส้นทาง M-MAP 1 ที่ยังไม่ดำเนินการมีจำนวน 8 เส้นทาง
2.ส่วนเส้นทางใหม่จำนวน 14 เส้นทาง
3.เสนอต่อขยาย จำนวน 11 เส้นทาง
ซึ่งการจัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M-MAP 2 สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
A1 : เส้นทางที่มีความจำเป็น / มีความพร้อม “ดำเนินการทันที” จำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่
A1-1) รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต – ธรรมศาสตร์ (Commuter)
A1-2) รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศาลายา (Commuter)
A1-3) รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช (Commuter)
A1-4) รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย – บึงกุ่ม (Light Rail)
A2 : เส้นทางที่มีความจำเป็น / แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน “คาดว่าดำเนินการภายในปีพ.ศ. 2572” จำนวน 6 เส้นทาง ได้แก่
A2-1) รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ – หัวลำโพง (Commuter)
A2-2) รถไฟฟ้าสายสีเขียว สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส (Heavy Rail)
A2-3) รถไฟฟ้าสายสีเขียว บางหว้า – ตลิ่งชัน (Heavy Rail)
A2-4) รถไฟฟ้าสายสีแดง วงเวียนใหญ่ – บางบอน (Commuter)
A2-5) รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา – สุวรรณภูมิ (Light Rail)
A2-6) รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ทองหล่อ (Light Rail)
B : เส้นทางมีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-MAP 1 หรือเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ จำนวน 9 เส้นทาง ได้แก่
B-1) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า พระโขนง – ท่าพระ (Light Rail)
B-2) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า สาทร – ดินแดง (Light Rail)
B-3) รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ลำลูกกา (Light Rail)
B-4) รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต– วงแหวนรอบนอก (Heavy Rail)
B-5) รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน – รัตนาธิเบศร์ (Heavy Rail)
B-6) รถไฟฟ้าสายสีเขียว สมุทรปราการ – บางปู (Heavy Rail)
B-7) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค – พุทธมณฑล สาย 4 (Heavy Rail)
B-8) รถไฟฟ้าสายสีแดง บางบอน – มหาชัย – ปากท่อ (Commuter)
B-9) รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ (Commuter)
C : เส้นทาง Feeder ดำเนินการเป็นระบบ Feeder เช่น Tram ล้อยาง, รถเมล์ไฟฟ้า จำนวน 26 เส้นทาง ได้แก่
C-1) เส้นทาง ลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์
C-2) เส้นทาง ดอนเมือง – ศรีสมาน
C-3) เส้นทาง ศาลายา – มหาชัย
C-4) เส้นทาง ศรีนครินทร์ – บางบ่อ
C-5) เส้นทาง คลอง 6 – องค์รักษ์
C-6) เส้นทาง รัตนาธิเบศร์ – แยกปากเกร็ด
C-7) เส้นทาง คลองสาน – ศิริราช
C-8) เส้นทาง บางซื่อ – พระราม 3
C-9) เส้นทาง ราชพฤกษ์ – แคราย
C-10) เส้นทาง พระโขนง – ศรีนครินทร์
C-11) เส้นทาง บางซื่อ – ปทุมธานี
C-12) เส้นทาง เมืองทอง – ปทุมธานี
C-13) เส้นทาง บางแค – สำโรง
C-14) เส้นทาง แพรกษา – ตำหรุ
C-15) เส้นทาง ธรรมศาสตร์ – นวนคร
C-16) เส้นทาง บางนา – ช่องนนทรี
C-17) เส้นทางสุวรรณภูมิ – บางบ่อ
C-18) เส้นทาง บรมราชชนนี – ดินแดง – หลักสี่
C-19) เส้นทาง ธัญบุรี– ธรรมศาสตร์
C-20) เส้นทาง คลอง 3 – คูคต
C-21) เส้นทาง มีนบุรี – สุวรรณภูมิ – แพรกษา – สุขุมวิท
C-22) เส้นทาง เทพารักษ์ – สมุทรปราการ
C-23) เส้นทาง บางใหญ่ – บางบัวทอง
C-24) เส้นทาง บางปู – จักรีนฤบดินทร์
C-25) เส้นทาง ครุใน – สมุทรปราการ
C-26) เส้นทาง ปทุมธานี– ธัญบุรี
“การทำแผนพัฒนานี้ก็เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นกับแผนพัฒนานี้ด้วย จะเห็นได้ว่า ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มุ่งมั่นพัฒนาชาติสู่ความเจริญทุกรูปแบบ ผลักดันแผนแม่บทรถไฟฟ้า M-MAP 2 เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต ยกระดับการเดินทางของประชาชนผ่านระบบขนส่งสาธารณะได้สะดวก ทันสมัยมากขึ้น ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว อีกทั้งจะช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ กระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ในหลวง' พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ 'พล.อ.ประยุทธ์' องคมนตรี เฝ้าฯ ถวายสัตย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี นำ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี
กุนซือใหญ่ อบรม 'วีระ' กรณี 'พลเอกประยุทธ์' ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมายโพสต์รูปภาพคู่นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่าวประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมข้อความระบุ
'อนุชา' ภาคภูมิใจ 'พลเอกประยุทธ์' ได้รับโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
'อนุชา-รมช.เกษตรฯ' แสดงความยินดี และภาคภูมิใจ พลเอกประยุทธ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี ย้ำอดีตนายกฯมีความตั้งใจพัฒนาประเทศ สร้างผลงานหลายอย่าง อยากให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
'จตุพร' ชี้ 'บิ๊กตู่' ไปได้ดีแล้ว ยากรีเทิร์นนายกฯ ฟันธง 'เศรษฐา' อยู่ไม่ยืด
'จตุพร' ชี้ 'บิ๊กตู่' ไปได้ดีเป็นองคมนตรี ปิดฉากการเมืองยากกลับเป็นนายกฯ ในสถานการณ์พิเศษอีก ฟันธง 'เศรษฐา' อยู่ไม่ได้ เหตุก่อวิกฤตเอง ขึงขังตวาดอธิบดีDSI แต่ไม่กล้าปกป้อง
'ไทยสร้างไทย' ปลุกรัฐบาลเลิกขายฝันเงินดิจิทัล แนะแจกเครดิตกระตุ้น ศก.
'ไทยสร้างไทย' ห่วงธุรกิจร้านอาหารซบเซาหนัก จี้รัฐบาลอย่ามัวขายฝันเงินดิจิทัล 1 หมื่น แนะแจกเครดิตประชาชน 2 พันบาท กระตุ้นท่องเที่ยวและบริโภค
'เทพไท' แต่งเพลง 'สดุดีลุงตู่' ยินดีกับองคมนตรีคนใหม่
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ”สดุดี ลุงตู่“ ขอแสดงความยินดีกับ“ลุงตู่” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีคนใหม่