‘อดีตผู้พิพากษา’ ชี้เปิดคอร์สสอนให้ไปนิพพาน เป็นความเท็จ จี้พส.ดำเนินการ

17 มี.ค.2567-นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เนื้อหาระบุ

…..ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 บัญญัติว่า ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด

…..ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

…..มาตรา 341 บัญญัติว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

…..มาตรา 343 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำความผิดต้องรระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

…..มาตรา 348 บัญญัติว่า ความผิดตามมาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้

….กรณีที่มีการลงข่าวในโซเชียล เป็นการโฆษณาแก่ประชาชนทั่วไปว่า มีการเปิดคอร์สรับจ้างสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น การสอนอภิญญา วิชชาสาม และอื่นๆ จนกระสอนให้ไปนิพพาน เป็นต้น โดยการเรียกเงินค่าสอนแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทที่การต้องศึกษา

…..ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์และมีประสบการณ์เคยได้รับการสอนการสมาธิหรือปฏิบัติกรรมฐานจากพระราชพรหมยานหรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ที่วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี และมาปฏิบัติต่อที่บ้านมานานหลายปีแล้ว

…..อยากจะบอกให้ทราบกันว่า สิ่งโฆษณากันนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ว่า สอนให้ไปนิพพานนั้น เป็นความเท็จอย่างแน่นอน เพราะการจะไปนิพพานได้นั้นต้องสำเร็จเป็นพระอรหันต์ การสอนให้คนสำเร็จพระอรหันต์ไม่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของแต่ละบุคคล

…..การกระทำดังกล่าว เป็นการแสดงความเท็จต่อประชาชนเพื่อต้องการให้ประชาชนสมัครเรียนและชำระเงินค่าเรียนแก่ผู้ที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์สอนวิชาดังกล่าว

…..จึงเข้าข่ายมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 และเมื่อเป็นการประกาศให้ประชาชนทราบกันทั่วไปจึงเข้าข่ายตามมาตรา 343 และได้ลงมือกระทำไปแล้ว ถ้ามีคนเชื่อและนำเงินไปชำระให้แก่ผู้ตั้งตัวเป็นอาจารย์ก็ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 343 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

…..แม้จะยังไม่มีบุคคลใดนำเงินไปชำระผู้กระทำก็ได้ลงมือกระทำสำเร็จแล้ว แต่ยังไม่บรรลุผล ผู้กระทำก็มีความผิดฐานพยายามฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 341,343 ประกอบด้วยมาตรา 80 ต้องระวางโทษสองในสามของโทษตามาตรา 343 คือมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นหกพันหกร้อยหกสิบบาทหกสิบหกสตางค์ หรือทั้งจำทั้งปรับ

…..ดังได้กล่าวแล้วว่าความผิดตามมาตรา 343 ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ แต่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินเจ้าพนักงานตำรวจที่รู้เห็นในการกระทำความผิดสามารถดำเนินคดีแก่ผู้กระผิดได้โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนคนใดไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษอีก

…..นอกจากนี้การกระทำดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายการความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ย่อมมีความผิดตาม พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 ด้วย และเป็นความผิดอาญาแผ่นดินเช่นเดียวกัน

…..เจ้าพนักงานตำรวจควรต้องรีบดำเนินการเพื่อไม่ให้ประชาชนที่ไม่รู้เรื่องหลักของศาสนาพุทธหลงเชื่อและยอมเสียเงินไปทำให้ได้รับความเสียหายโดยไม่ได้อะไรเลย

…..โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรต้องเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้โดยเร่งด่วน ไม่ใช่ปล่อยให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดนำหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบิดเบือนหากินอันจะมีผลให้คนที่ไม่รู้ซึ้งในหลักคำสอนเสื่อมศรัทธาศาสนาพุทธและเสียเงินจนได้รับความเสียหายไปแล้วจึงค่อยมาคิดแก้ไข

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชูศักดิ์' ชู 8 ข้อป้องพุทธศาสนาขึงขังตั้ง กก.แก้ปัญหาที่ดินวัด

'ชูศักดิ์' สั่ง 8 ข้อ ให้ พศ.ลุยป้องกันคุ้มครองพระพุทธศาสนา หาแนวทางป้องทำผิดกม.ในวัด ดำเนินการเด็ดขาดพวกแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ เร่งตั้ง กก.ระดับชาติแก้ปัญหาที่ดินวัด-สำนักสงฆ์

'ชูศักดิ์' สั่งสำนักพุทธฯ ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ มีมาตรการป้องกันทำลายพระพุทธศาสนา

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีปัญหาพระออกมาเรี่ยรายเงินจะประสานพศ.แก้ปัญหาอย่างไรว่า

อดีตผู้พิพากษา เล่าประสบการณ์พิจารณาพิพากษาคดีที่มีเอกสารจำนวนมาก

นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา โพสต์เฟซบุ๊กว่า.....ข่าวเรื่องดิไอคอนที่มีผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วมีจำนวนเป็น 10,000 คน ถ้าเฉลี่ยคำให้การคนละ 3-4

ผอ.สำนักพุทธ เผยต้องรอพระ ว.วชิรเมธี ชี้แจงด้วยตัวเอง ไม่รู้กลับไทยเมื่อไหร่

นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ขณะนี้ไม่มีใครชี้แจงถึงประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดีเท่าตัวท่าน ว.วชิรเมธี เอง