26 ม.ค.2565 - ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กว่า การจับปรับไม่ได้เป็นการรังแกใคร แต่เป็นการปกป้องคนเดินถนน หลังจากที่ผมได้ลงเรื่องเกี่ยวกับโครงการ “จับ ปรับ” แยกอโศก ที่มีการติดตั้งกล้อง ai เก็บข้อมูลผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร แล้วส่งข้อมูลไปยัง สน.ทองหล่อ เพื่อดำเนินคดี ก็มีเสียงตอบรับซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายให้จริงจัง แต่ก็มีบางคนที่แสดงความเห็นในเชิงว่านี่เป็นการรังแกผู้หาเช้ากินค่ำ หรือตอกย้ำความลำบากของประชาชน
ผมขอยืนยันว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นสิ่งที่ควรทำ และต้องทำให้เด็ดขาด เพราะการใช้ทางม้าลายเป็นสิทธิของทุกคน ทั้งผู้ขับขี่รถ และผู้ข้ามทางม้าลาย อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นต้องมีมาตรการที่รับประกันความปลอดภัยของ “ทุกชีวิต” เพื่อป้องกันการสูญเสียให้เกิดน้อยที่สุด
การปรับไม่ได้ต้องการทำเพื่อรังแกคนจน หรือผู้ขับขี่รถ แต่ทำเพื่อจัดการขั้นเด็ดขาดกับ “ผู้ที่ฝ่าฝืนกฏหมาย รังแกคนข้ามถนน” เท่านั้น และวิธีการง่าย ๆ ที่จะ “ไม่ถูกปรับ" คือการทำตามกฎจราจร ซึ่งคงไม่ยากเกินไปครับ
ก่อนหน้านี้ โฆษกกทม. ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า ต้อง “จับ” “ปรับ” ถึง เปลี่ยน” พฤติกรรมคนได้ (วินัยจราจร) ความสูญเสียเป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้และไม่ควรเกิดขึ้นกับชีวิตของคนที่เดินข้ามทางม้าลาย กทม จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
การแก้ไขทางม้าลายให้สะดวก ปลอดภัย จะต้องแก้ด้วย 2 วิธีหลักๆ คือ 1.การแก้ไขทางกายภาพ ด้วยการออกแบบเชิงโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมและ 2.การแก้ไขพฤติกรรมวินัยจราจร ด้วยการบังคับใช้กฎหมาย ที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน
ทางม้าลายที่ดี ต้องมีความชัดเจน มีสัญญาณไฟ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ในหลาย ๆ ที่ในประเทศไทยที่ทางม้าลายสภาพดีแล้ว ก็ยังมีปัญหา ยังมีคนใช้รถที่ฝ่าฝืนกฎจราจรจำนวนมาก เกิดอุบัติเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะขาด “วินัยจราจร”
อย่างเช่น แยกอโศกมนตรี แยกขนาดใหญ่ที่ กทม. ได้ปรับปรุงทางกายภาพแล้ว ทั้งขยายทางม้าลายให้กว้างขึ้น ทาสีแดง-ขาว ระบุข้อความ “พื้นที่จับปรับ” ไม่ให้รถจอดคร่อมทางม้าลาย และทำเนินหลังเต่าตรงทางม้าลายที่เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด รวมทั้งติดตั้งไฟส่องสว่างและไฟจราจรข้ามถนนแบบมีปุ่มกด เพื่อให้คนเดินข้ามทางม้าลาย ผู้ใช้รถใช้ถนนปลอดภัยไปด้วยกัน
แต่ภายหลังจากที่ดำเนินการแล้ว ก็ยังมีผู้ฝ่าไฟแดง จอดคร่อมทางม้าลาย ยังทำผิดในลักษณะเดิม เพียงเดือนมกราคมเดือนเดียว พบการกระทำผิดกว่า 25,000 ครั้ง!! ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการตามกฎหมาย เตรียมรอรับใบสั่งที่บ้านได้เลยครับ
เพราะในแยกอโศกเราได้นำกล้อง ai มาใช้ จากเดิมตำรวจตั้งด่านจับปรับมุมหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งก็ทำการฝ่าฝืน และด้วยความที่เป็นแยกขนาดใหญ่ และมีแยกลักษณะนี้อีกหลายแยก จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เพียงพอที่จะจับปรับทุกคนที่ทำความผิดได้ แต่การใช้กล้องระบบ ai เก็บข้อมูลจะช่วยทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ ออกใบสั่งได้ครอบคลุมผู้กระทำผิดได้ทุกคน
การเปลี่ยน “วินัยจราจร” ที่แยกอโศกแยกเดียว คงไม่เพียงพอ แต่ถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่นเดียวกันกับแยกนี้ในทุก ๆ แยก ทุก ๆ ทางม้าลาย ผู้ที่ชอบฝ่าฝืนก็จะโดน “ปรับ” ทุก ๆ ครั้ง และปรับพฤติกรรมตนเอง
ขอขอบคุณ สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ที่ร่วมกันริเริ่มโครงการแยกอโศก และ กทม.จะทำทุกวิถีทางเพื่อเร่งผลักดันให้ทุกแยก ทุกทางม้าลาย และทุกสถานีตำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ “จับ ปรับ” อย่างจริงจัง เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายด้วยการใช้เทคโนโลยีครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนกรุงอ่วม! สภาพอากาศมีผลกระทบสุขภาพถึง 33 พื้นที่
เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหา
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
ฝุ่น PM 2.5 กทม. แนวโน้มลดลง เกินค่ามาตรฐานเหลือ 15 พื้นที่ อยู่ฝั่งธนบุรีเป็นส่วนมาก
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
คนกรุงเทพฯ สำลักฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม 63 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. : ตรวจวัดได้ 34.3-74.3 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่ คือ
นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร