นักวิชาการ ให้ข้อมูล 'วันมาฆบูชา' ชี้หลายเพจเขียนให้เข้าใจผิดแบบเข้าป่าเข้าดง

17 ก.พ.2565 - นายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผมอยากจะแก้ความเข้าใจผิดของหลายๆ เพจที่เขียนเรื่องวันมาฆะบูชาแบบเข้าป่าเข้าดงไปเลย "มาฆปุณณมี (Magha Purnima)" หรือวันมาฆบูชานั้น ทางพุทธศาสนาของไทยเพิ่งมีมาเมื่อร้อยกว่าปีนี้เอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงกำหนดให้วันเพ็ญมาฆฤกษ์เป็นวันสำคัญทางศาสนา แต่ของฮินดูนั้นมีมานานแล้ว จะบอกว่านานกว่าศาสนาพุทธเป็นพันปีก็ว่าได้

ประการแรกคือวันนี้เป็นวันเพ็ญสำคัญของพื้นที่เขตทรอปปิกโซนเหนือที่มีสี่ฤดู คือเป็นวันที่พ้นจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว ดังนั้นวันเพ็ญมาฆปุณณมี จึงมีความสำคัญมากในสังคมเกษตรกรรม จนกลายเป็นวันบูชาพระศิวะ (Satyanarayan Puja) ในยุคฮินดูเพื่องฟู ซึ่งไม่ต่างเลยกับวันสำคัญทางฤดูกาลอื่นๆ เช่น ศารทวิษุวัต และ วสันตวิษุวัต ที่มีต้นทางมาจากการวัดเวลาของปีที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศและฤดูกาลที่บอกถึงเวลาเพาะปลูก หรือฤดูหนาวกำลังจะมาหรือจากไป

ในยุคก่อนนั้นจะบอกว่าวันเพ็ญมาฆปุณณมี นั้นเป็นวันบูชาพระเจ้าให้อำนวยผลผลิตการเกษตรที่กำลังจะหว่านไถใหม่ในฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง ที่สืบเนื่องไปตั้งแต่ที่อารยันจากย่านทะเลแคสเปี้ยนเข้ามาในอินเดียในยุคพระเวทเลยก็ว่าได้ และต่อมาในยุคมหากาพย์ที่กำเนิดศาสนาต่างๆ วันมาฆปุณณมีก็เปลี่ยนเพิ่มเติมไปถึงการบูชาเทพเฉพาะองค์ไปนอกเหนือจากบูชาพระเจ้าเพื่อการเพาะปลูกในสมัยก่อนหน้านั้น และพัฒนาจนเป็นวันบูชาพระศิวะในอินเดียจนถึงทุกวันนี้

ทางศานาพุทธนั้นเมื่อบรรดาผู้ที่ปวารณาตัวเป็นพระภิกษุเลิกนับถือพระเจ้าต่างๆ แล้ว วันเพ็ญมาฆปุณณมีก็ยังสำคัญอยู่ สิ่งที่จะคงรักษาความสำคัญของวันพิเศษเอาไว้ได้คือกลับมาให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าแทนพระเจ้าเดิมของตน สมัยผมเองยังเด็กที่ท่องจำวันมาฆบูชามีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายนั้น จะรู้สึกถึงปาฎิหารและอภิญญาของพระอรหันต์เหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งที่กลับมาหาพระพุทธเจ้าตรงวันโดยพร้อมเพรียงกันโดยไม่มีโทรศัพท์หรือโทรเลขในสมัยนั้น แต่ถ้าศึกษาไปจนถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอินเดียแล้ว ความสงสัยหรือโยนความไม่เข้าใจให้เป็นความรับผิดชอบของของคำว่า "ปาฏิหาร" ก็น้อยลงไป เพราะถึงวันนี้ใครๆ ก็บูชาพระเจ้ากันทั้งชมพูทวีปเลยก็ว่าได้มานานแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนจากพระเจ้ามาเป็นพระพุทธเจ้าแทนก็เท่านั้นเอง

ไม่ต่างกับตอนเด็กที่ท่องจำพุทธประวัติกัน รวมถึงวัดต่างๆ ก็สอนธรรมะให้แก่พระนวกะว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับอุปกะชีวก "เราตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง ไม่มีใครเป็นครูบาอาจารย์ของเรา" อุปกะชีวก ก็แลบลิ้นและส่ายหน้า ซึ่งมีการสอนต่อว่า เป็นการไม่ยอมรับในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบไปโดยจับเอาทำเนียมและความเข้าใจแบบคนไทย แต่ที่จริงแล้ว การแลบลิ้นเป็นการเคารพอย่างสูงของคนอินเดียบางกลุ่มในสมัยนั้น สมัยนี้ชนกลุ่มน้อยเช่นพื้นที่แถบที่สูงรอบเผ่านากาก็ยังใช้อยู่ และการส่ายหน้าคือ ใช่ หรือ ยอมรับ ,Yes ที่คนอินเดียใช้มาจนถึงเวลานี้ ไม่ได้ใช้การพยักหน้าแบบคนไทยที่คนอินเดียใช้ในการปฎิเสธ หรือ No สมัยก่อนตอนผมมีเพื่อนในชั้นเรียนเป็นคนอินเดียฝูงใหญ่เกือบครึ่งห้องเป็นครั้งแรก ก็ต้องปรับตัวกับการพยักหน้าและส่ายหน้าที่ตรงข้ามกับที่คนไทยเราใช้กันอยู่หลายวันเหมือนกัน

ตอนนี้คงเข้าใจเรื่อง วันมาฆะบูชา และวันมาฆปุณณมี (Magha Purnima) ของอินเดียแล้วนะครับ ว่าวันเพ็ญมาฆฤกษ์นี้มีความสำคัญก่อนศาสนาพุทธจะเกิดขึ้นมานมนานแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ข้องใจ! 'โชกุน' ทำตามออร์เดอร์ 'พญาอินทรีย์'

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุข้อความว่า น่าแปลใจไหมครับ ญี่ปุ่นให้รางวัลนี้กับ อ.ธงชัย ทั้งที่ญี่ปุ่นนี้ โค-ตะ-ร

'ในหลวง-พระราชินี' ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง

ชาวขอนแก่นร่วมทำบุญวันมาฆบูชา คาดมีพุทธศาสนิกชนร่วมเวียนเทียน 2,500 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเข้าวัดทำบุญที่วัดต่างๆในเขต จ.ขอนแก่น เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2567 โดยพบว่าพุทธศาสนิกชนพากันมาเข้าวัดทำบุญกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดหนองแวง พระอารามหลวง เขตเทศบาลนครขอนแก่น พุทธศาสนิกชนชาวขอนแก่น

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ว่า“ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัท น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันมาฆบูชา 2567 สสส.-มูลนิธิปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะ ชวนพุทธศาสนิกชนเวียนเทียนยุคใหม่ด้วยต้นไม้ ณ วัดใกล้บ้าน 52 แห่งทั่วประเทศ มุ่งลดการเผา

พระวชิรรัตนาภรณ์, ดร. ผู้รักษาการเจ้าคณะแขวงวัดอรุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสและเลขานุการวัดอรุณราชวราราม กล่าวว่า วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี