'คณะก้าวหน้า'จุดไฟ!ประโคมหมดเวลา 112 ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รื้อระบอบประยุทธ์

เปิดแนวรบนิติสงคราม! คณะก้าวหน้า ปลุก 'หมดเวลา 112 ถึงเวลาคืนอนาคตสังคมไทย' ล่ารายชื่อรื้อระบอบประยุทธ์ ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

1 พ.ย.2564- เพจคณะก้าวหน้า - Progressive Movement โพสต์ประเด็น ม.112 ภายใต้หัวข้อ 'หมดเวลา 112 ถึงเวลาคืนอนาคตสังคมไทย'

โดยระบุรายละเอียดว่า จะชอบหรือไม่ชอบแต่เราปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่ามีคนจำนวนมากมองสถาบันกษัตริย์ไม่เหมือนที่รัฐไทยพยายามอยากให้มอง มากถึงขนาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และส่วนใหญ่ก็เป็นเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติด้วย

ที่ผ่านมามีเยาวชนอนาคตของชาติถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 เพียงเพราะพวกเขาพูดความจริงในสังคมไทย และมีบางส่วนที่แม้จะคิด แต่ไม่ได้พูด ไม่ได้แสดงออก เลยยังไม่ถูกดำเนินคดี แต่หากสถานการณ์ในประเทศไทยยังเป็นเช่นนี้ต่อไปแล้วมโนธรรมสำนึกทำให้เขาต้องพูดความจริง ใครจะรู้ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครต่อไปหรือจะเป็นลูกหลานของใครที่ต้องเข้าไปอยู่ในคุกจากการพูดความจริง

เมื่อมีคนจำนวนมากมองเห็นเช่นนั้น นี่จึงไม่ใช่เรื่องปัญหาส่วนบุคคล แต่คือภาพใหญ่ในเชิงโครงสร้าง เป็นเรื่องของคนจำนวนมาก เป็นเรื่องของคนทั้งสังคม หากเป็นเช่นนั้นจะจับขังคุกอีกสักกี่คนก็ไม่สามารถหยุดสายธารของการเปลี่ยนแปลงและหยุดความคิดของพวกเขาไปได้ และที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่าการใช้นิติสงคราม มาสร้างความกลัวเพื่อปิดปากไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นความรักได้ ตรงกันข้ามกลับยิ่งทำให้สถาบันกษัตริย์กลายเป็นคู่ขัดแย้งกับคนทั้งเจอเนอเรชั่นและคนจำนวนมากในสังคมไปด้วย

ทางเดียวเท่านั้นที่จะรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ได้ จึงไม่ใช่จับใครก็ตามไปขังไว้ในคุกและสร้างสังคมแห่งความหวาดกลัว แต่คือการต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและหลักการประชาธิปไตย

แม้ว่าการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องใช้พลังของคนเป็นวงกว้างทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน เพื่อให้ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์กลายเป็นความเห็นพร้องต้องกันของสังคม และการที่จำทำให้เกิดสิ่งนั้นได้ ต้องมีรูปแบบการรณรงค์และทำงานทางความคิดที่หลากหลาย

ข้อเสนอต่อประเด็นกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะมาตรานี้มีปัญหาทั้งตัวบท การนำไปใช้ การตีความ และปัญหาในเชิงโครงสร้าง รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่รัฐบาลใช้ดำเนินคดีกับผู้เห็นต่าง กฎหมายมาตรานี้จึงไม่ใช่แค่เป็นกฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา แต่ยังเป็นภาพแทนของสถาบันกษัตริย์ นี่จึงไม่ใช่เรื่องของกฎหมายอย่างเดียว แต่มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางการเมืองและประเด็นแวดล้อมอื่นๆ ด้วย เราจึงได้เห็นปัญหาและความท้าทายมากมายในสังคมไทยจากกฎหมายอาญามาตรา 112

เพื่อให้การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นไปได้ เพื่อให้กฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกพูดคุยถกเถียงเป็นวงกว้าง เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่พูดคุยเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา และเพื่อให้ประชาชนสามารถรวมตัวกันใช้เสรีภาพในการแสดงออก เพราะทั้งหมดนี้จะทำให้สังคมไทยสามารถเดินออกจากวิกฤติ ก้าวไปสู่การออกแบบอนาคตร่วมกันและทำให้ทุกคนทุกฝ่ายทุกอุดมการณ์ความฝันอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ดังนั้น การเกิดขึ้นของ #ราษฎรประสงค์ยกเลิก112 จึงมีความสำคัญต่อขบวนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และทำให้ข้อถกเถียงเรื่องมาตรา 112 กลับมาเป็นที่สนใจของสังคมอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้พวกเราคณะก้าวหน้าจึงพร้อมเดินหน้าร่วมรณรงค์ ล่ารายชื่อให้ได้มากที่สุด และนำประสบการณ์และองค์ความรู้จากการเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ #ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์ มาสนับสนุนการทำแพลตฟอร์มออนไลน์เข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อสนับสนุนการรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 ในครั้งนี้ด้วย เนื่องจากตาม พ.ร.บ.เข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่ ประชาชนสามารถร่วมลงชื่อผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว โปรดติดตามเร็วๆ นี้!!!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด 'Worst case scenario' 5 ข้อ เมื่อ กกต. ส่งคำร้อง ยุบ 'ก้าวไกล'

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า กรณีเลวร้ายสุด (Worst case scenario) เมื่อ กกต. ส่งคำร้อง ยุบพรรคก้าวไกล

3นิ้วรุ่น2! 'เหวง' นำทีมเรียกร้องรัฐบาล 8 ข้อ แก้ม.112,116 ปฏิรูปกองทัพ-ยุติธรรม รื้อคดีเผาเมือง

นพ.เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำนปช. โพสต์ จดหมายเปิดผนึกในนาม คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 (คปช.53) ถึงพรรคการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง (14 พ.ค. 2566

'ป้าทิชา' ส่งกำลังใจเด็กๆที่ไม่อินในเรื่องของราชวงศ์ วันนี้คุณกำลังฆ่าพวกเขา ถ้าคุณยังไม่ยอมแก้ 112

ถ้าคุณไม่ลืม คุณเกิดในยุคนั้นแต่คุณก็ไม่อิน คุณก็ไม่จงรักภักดี คุณก็ไม่ยอมรับการกล่อม คุณต่อต้าน คุณต่อสู้ คุณเข้าป่า คุณจับปืน คุณ

'ป้าธิดา' ยัน ก้าวไกลไม่ได้ล้มล้าง แต่สถาบันตุลาการ ศาลรธน. เห็นชอบกับการทำรัฐประหาร

นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตแกนนำนปช. โพสต์ความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการแก้ไขมาตรา 112 เมื่อวันที่ 31