15 มิ.ย.2566 - คณะกรรมการบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงจากเหตุการณ์ที่เผยแพร่ในสื่อเกี่ยวกับการบันทึกรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 ("รายงานการประชุม") แบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) ของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ปี 2565 และงบการเงินไตรมาส 1 ประจำปี 2566 ของบริษัท นั้น บริษัทขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1.ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ("การประชุมฯ" บริษัทได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2566 โดยในการประชุมฯดังกล่าวมีทั้งหมด 9 วาระ วาระที่ 1 ถึงวาระที่ 8 เป็นวาระรายงานอนุมัติและพิจารณาการดำเนินการทางธุรกิจตามการค้าปกติของบริษัท
ส่วนวาระที่ 9 เป็นวาระอื่น ๆซึ่งไม่ได้มีผู้ถือหุ้นเสนอวาระเพื่อพิจารณาและอนุมัติเพิ่มเดิม บริษัทจึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามในเรื่องอื่น ๆในการประชุมฯดังกล่าว มีคำถามที่ซ้ำซ้อนจากผู้ถือหุ้นหรือเป็นคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของบริษัท ดังนั้น การจัดทำบันทึกคำถามและคำตอบในรายงานการประชุม บริษัทจึงได้สรุปสาระสำคัญของคำถามและคำตอบในระหว่างการประชุมฯ เฉพาะที่กี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของบริษัทเท่านั้นเพื่อให้มีความกระชับและชัดเจน โดยมิได้จดบันทึกการประชุมฯ เป็นคำต่อคำ
ทั้งนี้ การบันทึกรายงานการประชุมที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ เป็นการสรุปคำตอบจากคำถามหลายข้อที่ผู้ถือหุ้นส่งเข้ามา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขัอพิพาทเรื่องสิทธิตามสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ นั้น บริษัทได้บันทึกรายงานการประชุมไว้แล้วในวาระ 9 หน้า 14 ว่า "ผลคดีเป็นจุดสำคัญที่สุด หากผลคคียังไม่ออก เป็นไปได้ยากมากที่บริษัทจะดำเนินการใดๆ ในขณะนี้"
สำหรับในส่วนที่มีการบันทึกรายงานการประชุมว่า "ปัจจุบัน บริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัทและมีการส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ" นั้น บริษัทไม่ได้ต้องการจะสื่อสารว่าบริษัทยังประกอบกิจการสื่ออยู่ แต่หมายถึงบริษัทยังคงดำเนินการอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ที่บริษัทได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยมิได้มีการเลิกกิจการแต่อย่างใด
2. ในส่วนของแบบนำส่งงบการเงิน (ส.18.3) ของบริษัทประจำปี 2565 ที่บริษัทยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2566 บริษัทขอเรียนว่า รายได้จากการประกอบธุรกิจของบริษัทได้แสดงอยู่ในงบการเงินของบริษัทประจำปี 2565 ซึ่งได้มีการตรวจสอบและลงนามรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและ ได้ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งในงบการเงินดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า รายได้ของบริษัทมาจากผลตอบแทนจากการลงทุนและดอกเบี้ยรับเท่านั้นซึ่งงบการเงินฉบับดังกล่าว บริษัทได้ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2566 เช่นกัน
3. ในส่วนของงบการเงินไตรมาส 1 ประจำปี 2566 ของบริษัทที่มีการโพสต์ในเว็บไซต์ www.itv.co.th ตามที่มีข่าวอยู่ในขณะนี้นั้น บริษัทขอเรียนให้ทราบว่างบดังกล่าวเป็นเพียงร่างงบการเงินที่ใช้ภายในบริษัทและยังไม่ได้มีการสอบทานหรือตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชี จึงยังไม่สามารถนำไปอ้างอิงหรือใช้งานภายนอกบริษัทได้และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ
บริษัทขอเรียนย้ำว่า การดำเนินการประชุมฯ การจัดทำรายงานการประชุม การนำส่งแบบนำส่งงบการเงินงบการเงิน และการดำเนินการต่าง ๆ ของบริษัทเป็นการดำเนินการทางธุรกิจตามปกติและเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่ง 'สมคิด' รับ 'สนธิ' บุกทำเนียบฯ ปรามสื่ออย่าถามเกิน ปม MOU 44
'ภูมิธรรม' ติงสื่อตั้งคำถาม MOU44 ขออย่าถามเกินเลย ทำประเทศขัดแย้ง หมดความเชื่อมั่น-กระทบศก. พร้อมส่ง 'สมคิด' รับหนังสือ 'สนธิ' บุกทำเนียบฯ
ค้าน ‘VAT’15% ‘พิธา’ สอน ‘อิ๊งค์’ ต้องปฏิรูปภาษี
"พิธา" แนะรัฐบาลปฏิรูปภาษีทั้งระบบ ดีกว่าเจาะจงที่แวต ถามตัวเลข 15% มาจากไหนไม่เข้าใจ ด้านประธานหอการค้าขอนแก่นระบุการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มควรขึ้นไม่เกิน 10%
'พิธา' แนะรัฐบาลปฏิรูปภาษีทั้งระบบ มากกว่าปรับขึ้น VAT 15% สงสัยอยู่ดีๆก็โพล่งมา
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวรัฐบาลมีแนวคิดขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15% ว่า ภาษีในประเทศ มีทั้งภาษีทางตรง
'พิธา' ลุยช่วยหาเสียงเลือกนายก อบจ.อุบลฯ หวังเป็นตาอยู่ ศึก 2 ขั้วใหญ่ชนกันเอง
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ลงพื้นที่ช่วยนายสิทธิพล เลาหะวนิช ผู้สมัครนายก อบจ.อุบลราชธานี
'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย
เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้
'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้
ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก