
21 พ.ย. 2566 – ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตนได้พบกับนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ถึงกรณีที่รัฐบาลมีข้อสอบถามเรื่องการออก พ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 10,000 บาท ว่าจะมีหนังสือมาถึงกฤษฎีกาว่าสามารถทำได้หรือไม่ เมื่อไหร่ และได้คำตอบจากทางรัฐมนตรีว่ากำลังดูอยู่
นายปกรณ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ ขออธิบายขั้นตอนในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันว่า เมื่อคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ มีมติให้กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการ ถามมาที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากพบเงื่อนไขจะสามารถกู้ได้หรือไม่เท่านั้นโดยมติมีเพียงแค่นั้น ยังไม่ได้ไปถึงขั้นตอนการยกร่างกฏหมาย ขอย้ำว่าเป็นการให้ถามคำถามเท่านั้น เมื่อส่งคำถามมาแล้วจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามปกติโดยไม่มีการตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ถ้าเข้าเงื่อนไขก็สามารถทำได้ ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขก็ทำไม่ได้ คำตอบมีเพียงเท่านั้น หากสามารถทำได้ก็จะเป็นการยกร่างกฏหมายอีกขั้นตอนหนึ่ง
“เมื่อเช้าผมทวงถามจากรัฐมนตรีเรื่องนี้ เพราะผมถูกด่าว่าทำงานช้า ทั้งที่เรื่องยังไม่ส่งมาถึงผม ทางสภาพัฒน์ฯก็รอ เพราะนึกว่าเรื่องได้ส่งมาที่ผมแล้ว ทุกคนคิดแบบนี้ แต่ปรากฏว่านักข่าวรู้มากกว่าผมอีก” นายปกรณ์ ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาพัฒน์ฯบอกว่าถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นมาว่า ถ้าครม.ไปต่อทางนี้ไม่ได้ อาจมีทางอื่นหรือไม่ นายปกรณ์กล่าวว่า ไม่รู้ เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องคิด ไม่ใช่เรื่องของตน และคณะกรรมการกฤษฎีกาให้คำแนะนำไม่ได้เพราะไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นนักกฏหมาย โดยกฎหมายที่จะนำมาพิจารณาประกอบพิจารณา มีทั้งรัฐธรรมนูญ เรื่องการจ่ายเงินแผ่นดิน และยังมีกฏหมายหลายฉบับประกอบ เช่น กฎหมายงบประมาณ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายหนี้สาธารณะ พ.ร.บ.เงินตรา จึงไม่สามารถตอบแทนได้ว่าวิกฤตหรือไม่วิกฤต
เมื่อถามว่า รัฐบาลฝากความหวังไว้ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ถ้าวิธีออกพ.ร.บ.กู้เงินไม่ได้ จะใช้ช่องทางใดได้บ้าง นายปกรณ์ กล่าวว่าการจะเข้าเงื่อนไขหรือไม่ต้องดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งตนไม่รู้ไม่สามารถตอบแทนได้
ถามย้ำว่าเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอยากจะขอคำแนะนำจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเดินหน้าโครงการได้ นายปกรณ์ ตอบว่า คำถามที่ว่าทำอย่างไรให้ทำได้ ไม่ควรมาถามเพราะไม่ใช่คนกำหนดนโยบาย ก็ไม่ใช่หน้าที่ย้ำว่าเรื่องวิกฤตหรือไม่วิกฤตไม่ใช่หน้าที่ของกฤษฎีกาแต่เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะหาข้อมูลมาสนับสนุน ที่โต้เถียงกันก็ไม่รู้
ถามกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติรักแผ่นดิน ร้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่ารัฐบาลกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ นายปกรณ์ กล่าวว่า เรื่องยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น เป็นการไปร้องล่วงหน้าก่อนหรือไม่ก็ไม่ทราบ เพราะคณะกรรมการยังไม่มีมติ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เลขาฯกฤษฎีกา' ปัดตอบ กคพ. มีอำนาจรับคดีฮั้ว สว. ให้รอดู 6 มี.ค.
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการอ้างว่า เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการะบุในที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.)
กฤษฎีกาเร่ง กม.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ให้จบใน 50 วัน
'ปกรณ์' เร่งเดินหน้ากม.เอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ย้ำต้องทำตามนโยบาย เปรียบกฤษฎีกาเหมือนพ่อครัว ต้องทำตามโจทย์ให้ถูกใจลูกค้า
รบ.เผย ’กฤษฎีกา’ แจงครม.ไม่ได้แย้ง พรบ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ แค่ให้ข้อสังเกตไปปรับแก้
เลขาฯ กฤษฎีกา แจง ที่ประชุมครม. พ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ไม่ได้เห็นแย้งหรือเห็นต่าง เป็นเพียงข้อสังเกตที่สามารถนำไปปรับแก้เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลได้
'ดร.อานนท์' ชี้สัญญานเตือนเศรษฐกิจปี 68 น่าจะหนัก แนะเตรียมตัวให้พร้อมหากเกิดวิกฤต
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความว่า
โต้งทำใจหลุดปธ.ธปท.
กฤษฎีการอชี้ขาดคุณสมบัติ “กิตติรัตน์” 25 ธ.ค.นี้ เผยมี 2 ปมต้องเคลียร์ให้ชัด
เลขาฯกฤษฎีกา ยันยังไม่มีข้อสรุป ปม 'กิตติรัตน์' ประชุมพรุ่งนี้อีกรอบ
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยถึงกรณีการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ว่า ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา