เปิดทิศทาง’ภาคีสร้างสุข’สู่ทศวรรษที่ 3

 ความสำเร็จจากการร่วมมือขับคลื่อนงานสร้างเสริมในประเทศไทยที่ผลักดัน โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาคีเครือข่ายและภาคียุทธศาสตร์ ทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ดึงดูดให้คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่เสี่ยงเจ็บป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs  เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิถีชีวิต และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี   การเติบโตของภาคีสร้างเสริมสุขภาวะที่ขยายครอบคลุมทั่วประเทศไทย การปรับกลยุทธ์การทำงานเพื่อรับมือโรคระบาดโควิด-19 และทิศทางทำงานในระยะ 10 ปี ได้รับการนำเสนอผ่านงานใหญ่ “20 ปี ภาคีสร้างสุข : นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด เมื่อวันก่อน ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์  โดย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 เป็นประธาน

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ  กล่าวว่า การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในระยะต่อไปต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยให้ยกระดับการทำงาน ลดขีดจำกัดในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ หาต้นเหตุของปัญหา คิดใหม่ ทำใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เริ่มจากต้นทุนเครือข่ายที่มี พัฒนาศักยภาพของคน ขยายผล ขยายประโยชน์ สู่สังคมวงกว้าง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสุขภาวะ ต้องทำงานบูรณาการสานพลังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น วิชาการ และภาคประชาชน ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ สสส. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะมา  20  ปี มีการผสานความร่วมมือวางแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในอนาคต เพื่อให้สังคมไทยเห็นคุณค่าของงานสร้างสังคมสุขภาวะร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน

ตลอดระยเวลาสองทศวรรษ สสส. เป็นแกนกลางขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ร่วมกับ 2,000 ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ทั้งในและนอกระบบสุขภาพ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า  ความร่วมมือช่วยสร้างนวัตกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทย ลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และส่งเสริมการมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยใช้ยุทธศาสตร์ “ไตรพลัง ขับเคลื่อนสังคม” สสส. สร้างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในประเด็นสุขภาพอย่างน้อย 20 การเปลี่ยนแปลง

ในทศวรรษหน้า  ดร.สุปรีดา ระบุ สสส. และภาคีเครือข่ายเน้นการทำงานสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาวะปัญหาหรือสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รับมือโจทย์ใหม่ๆ ที่มีความท้าทาย มุ่งสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของตนเอง และลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ประเทศ

ภายในงาน นายสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นตัวแทนภาคีสร้างเสริมสุขภาวะจากทุกภาคส่วนกล่าวปฏิญญาภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ ประกาศเจตนารมณ์ ‘ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี โดยมิได้ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ 10 ข้อ ได้แก่  1.มุ่งสู่การบรรลุทิศทางและเป้าหมายทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2565-2574) โดยขจัดปัจจัยเสี่ยงหลักและพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ 2.ขยายและผนึกแนวร่วมเพื่อสร้างกลไก ขยายโอกาส สร้างความเป็นธรรมในสังคม 3.พัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ 4.ขยายภาคีสร้างเสริมสุขภาวะที่มีความหลากหลายและครอบคลุม พัฒนาศักยภาพ เปิดพื้นที่ทางความคิดและทางกายภาพในการทำงานร่วมกันมากขึ้น 5.ร่วมสานพลังสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

6.สร้างเสริมสุขภาวะสำหรับทุกช่วงวัย 7.ร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้คนในสังคมไทยสามารถใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตสุขภาวะ 8.มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและความเป็นพลเมืองของเด็กและเยาวชน 9.มุ่งสานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการรองรับสังคมสูงวัย และ 10.ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนพร้อมที่จะดูแล ร่วมมือ และปกป้อง สสส. ให้เป็นองค์กรของสังคมที่มั่นคง บริหารงานอย่างโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาล ปราศจากการแทรกแซง

ด้าน พญ.พูนาม เคตราปาล ซิงห์  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO-SEARO) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับ สสส. ในโอกาสครบรอบ 20 ปี และการได้รับรางวัลเนลสัน แมนเดลา ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2564 ซึ่ง สสส. สมควรได้รับเป็นอย่างยิ่ง  ผลงานตลอด 20 ปี ได้พิสูจน์ว่าขบวนการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทยที่ผลักดันโดย สสส. และภาคีเครือข่ายเป็นต้นแบบที่โดดเด่นของภูมิภาค โดยเฉพาะในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของการขับเคลื่อนความร่วมมือโดยทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อการพัฒนาสุขภาวะ นับเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพของโลกยุคปัจจุบัน ทั้งเรื่องการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด แนวทางนี้นำไปสู่การยกระดับผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชน การเพิ่มความเป็นธรรมทางสุขภาพ ตลอดจนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ตลอด 3 วันของงานยังมีไฮไลท์“กิจกรรม Active Learning” ผ่านนิทรรศการ 20 ปี ภาคีสร้างสุข ทั้งในสถานที่จริง และในรูปแบบนิทรรศการเสมือนโชว์ผลงานนวัตกรรมสุขภาพ อาทิ โต๊ะประชุมยืน ช้อนปรุงลด เครื่องวัดความเค็ม Salt Meter เสาหลักนำทางจากยางพารา ฯลฯ ผลงานที่จดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ อาทิ อุปกรณ์รองนั่งสำหรับขับถ่าย ผลิตภัณฑ์ลูกอมสมุนไพรหญ้าหมอน้อยที่มีสรรพคุณช่วยลดการสูบบุหรี่ ผลงานโชว์เคส 16 บูธ อาทิ ฉลากทางเลือกสุขภาพ กิจกรรมเล่นตามวัย โดยประชาชนสามารถมีส่วนร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีและติดตามความเคลื่อนไหวผ่านทางเว็บไซต์ https://20th.thaihealth.or.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง