'นักไวรัสวิทยา' หวั่นไข้หวัดนกเสี่ยงระบาดอีกครั้ง แต่จะไม่เหมือนการระบาดโควิด-19


10 พ.ค.2566 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

ต่อจากโควิดต้องยอมรับว่าไวรัสไข้หวัดนกน่าจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นไวรัสที่จะกลับมาระบาดในประชากรมนุษย์อีกครั้งนึง โดยข้อมูลที่พบการระบาดในสัตว์ปีก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วโลกทำให้หลายคนมองว่าอีกไม่ช้า อาจจะต้องพบการระบาดของไวรัสตัวนี้ในมนุษย์อีกครั้งนึง

แต่ข่าวดีคือ สถานการณ์จะไม่เหมือนการระบาดของโควิด-19 เพราะนักวิทยาศาสตร์มีเวลาให้เตรียมตัว โดยเฉพาะวัคซีนไม่ต้องเริ่มทำตอนพบไวรัสระบาด และ ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเก่าๆอย่าง การนำไวรัสไข้หวัดนกมาฉีดลงในไข่ไก่ฟักแล้วไปผสมกับไวรัสสายพันธุ์วัคซีนมาตรฐาน เพื่อคัดเลือกไวรัสสายพันธุ์วัคซีน ทำการขยายขนาดเพิ่มในไข่ไก่ฟัก และ ใช้เป็นวัคซีนเชื้อตายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกว่าจะได้วัคซีนมาใช้คงหลายเดือนหรือเป็นปี

ข่าวดีอีกชิ้นนึงคือ ทีมวิจัยผู้พัฒนา mRNA vaccine ของโควิด ได้ทำงานเชิงรุก โดยการนำโปรตีน HA ของไวรัสไข้หวัดนก H5N1 มาสร้างเป็น mRNA vaccine ต้นแบบ และ ทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ทดลองแล้ว ซึ่งผลการทดสอบออกมาดีมากๆ และ มีแนวโน้มสูงที่จะสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในมนุษย์

ตอนนี้มาถึงจุดที่ยากที่สุดของงานวิจัยละครับ เพราะวัคซีนจะต้องไปต่อในอาสาสมัครมนุษย์ซึ่งงบประมาณสนับสนุนต้องมหาศาล จะไปต่อหรือพอแค่นี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียละครับ...

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์