โควิดไทยจ่อเปลี่ยนสายพันธุ์ตามอเมริกา-ยุโรป

หมอยงชี้โควิดไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนสายพันธุ์จาก XBB เป็น EG.5.1 เหมือนยุโรปและอเมริกา ทำให้ผู้ที่เป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำห แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น

16 ส.ค.2566 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 สายพันธุ์กำลังจะเปลี่ยนเป็น EG.5.1 หรือ Eris” ระบุว่า

โควิด 19 ได้มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอดในช่วงที่ผ่านมา สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย จะเป็น XBB ขณะนี้มีแนวโน้มว่าสายพันธุ์ที่จะมาแทนที่ XBB คือ EG.5

สายพันธุ์ EG.5.1 หรือเรียกชื่อเล่นว่า Eris เทพธิดาแห่งความสับสนวุ่นวาย กำลังจะเข้ามาแทนที่ XBB โดยมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งที่สำคัญ 1 ตำแหน่ง ทำให้มีโอกาสที่หลบหลีกภูมิต้านทานได้อีก แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรค ไม่ได้เพิ่มขึ้น

การศึกษาของศูนย์ไวรัสที่ทำอยู่ ขณะนี้ถึงแม้จะมีตัวอย่างน้อย แต่ก็พบสายพันธุ์ RG.5.1 ดังแสดงในรูป และสายพันธุ์นี้กำลังจะเป็นสายพันธุ์หลักโดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา ต่อไปก็คงหนีไม่พ้นในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ผู้ที่เป็นแล้วมีโอกาสที่จะเป็นซ้ำหรือติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น การติดตามสายพันธุ์ในประเทศไทยมีความสำคัญในการวางแผน โดยเฉพาะการป้องกันด้วยวัคซีนในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้โควิด19 แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลคล้ายไข้หวัดใหญ่!

หมอยงชี้โควิด 19 แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลคล้ายไข้ไหวัดใหญ่ แต่เชื่อความรุนแรงอาจน้อยกว่า วัคซีนจึงจำเป็นเฉพาะในกลุ่มเปราะบางเท่านั้น และควรให้ก่อนการระบาดใหญ่หรือก่อนเปิดเทอม

'หมอมนูญ' ชี้ช่วงนี้การติดเชื้อ 'ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส' ระบาดอาการคล้าย 'โควิด-หวัดใหญ่-RSV'

'หมอมนูญ' เตือนช่วงปลายฝนต้นหนาวมักมีการติดเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส หรือ hMPV ควบคู่ไปกับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ชี้อาการโรคจะคล้ายไข้หวัดใหญ่-โควิด19 และ RSV

'หมอยง' ชี้โรค RSV พบน้อยมากในไทยชี้ยังไม่มีต้านรักษาจำเพาะ!

'หมอยง' เผยข้อควรรู้เรื่องโรค RSV ต่อเนื่อง บอกพบบ่อยในทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ชี้ในไทยพบน้อยมากปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสรักษาจำเพาะ

'หมอยง' ชี้ยังไร้ข้อสรุปใช้ 'Montelukast' รักษาผู้ป่วย RSV หลอดลมฝอยอักเสบ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV