'ดร.อนันต์' ชำแหละธุรกิจการ Shopping งานวิจัย กังวลคนมีงบฯมาก 'ซื้อ' ทั้งฉบับเป็นของตัวเองได้

'ดร.อนันต์' ชำแหละธุรกิจการ Shopping งานวิจัย จะไม่ผิดกฎหมายในบางประเทศ แต่ผิดจริยธรรมขั้นรุนแรง ที่น่ากังวลถ้ามีงบประมาณเพียงพอสามารถ'ซื้อ'งานวิจัยทั้งฉบับเป็นของตัวเองได้ จะทำให้ยากมากต่อการจับความผิดปกติ

11ม.ค.66 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า

ธุรกิจการ Shopping งานวิจัยไม่ใช่สิ่งใหม่ และ ดูเหมือนจะไม่ผิดกฎหมาย (ใช้คำว่า on legal grounds)ในบางประเทศ แต่ผิดจริยธรรมขั้นรุนแรง ตัวอย่างนี้เป็น Website ที่คนสามารถเข้าไป Shopping งานวิจัยได้อย่างเปิดเผย และ หา Link ผ่าน Search engine ได้อย่างง่ายดาย มีการเขียนระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ธุรกิจนี้เปิดให้คนที่มีเงินในมือเข้ามาเป็นผู้แต่งในวารสารวิชาการที่การันตีแน่นอนว่าได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ

เนื่องจากงานวิจัยเขียนขึ้นจากคนใน Field จริงๆ ประเด็นเรื่องคุณภาพที่จะถูกผู้ประเมินปัดตกจากกระบวนการของวารสารคงจะยาก หรือ ประเด็นเรื่องการจับผิดเรื่องการลอกเลียนงานวิจัยคงไม่มี ดังนั้นงานวิจัยแบบนี้จะสามารถผ่านกระบวนการประเมิน peer review ได้ ปกติเมื่อส่งไป review วารสารจะให้เวลาแก้ไขต้นฉบับ (revision) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถ้าแก้ไขตามความเห็นผู้ประเมินจะสามารถผ่านไปตีพิมพ์ได้ ช่วงเวลา revision นี้เป็นโอกาสทองที่ เอกสารเหล่านี้จะถูกลงประกาศขายให้ผู้สนใจเข้ามา shop เป็นเจ้าของ ที่น่ากังวลมากคือ ถ้ามีงบประมาณในมือเพียงพอสามารถเข้ามา"ซื้อ" งานวิจัยทั้งฉบับเป็นของตัวเองได้เลย แล้ว ไปหาผู้แต่งร่วมคนอื่นๆเอง ซึ่งจะทำให้ไม่เห็นความผิดปกติของการมีคนจากต่างชาติมาร่วมเขียนด้วย ซึ่งจะทำให้ยากมากต่อการจับความผิดปกติ หรือ ถ้างบประมาณน้อยก็จะต้องไปร่วมเป็นผู้แต่งกับคนอื่นๆที่ไม่รู้จัก ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกสังเกตเห็นได้

นับว่าเป็นเรื่องน่ากังวลมากๆครับ เพราะสิ่งที่เห็นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2003 และ งานวิจัยมากกว่าหมื่นเรื่องถูกขายไปจาก website แห่งนี้เพียงแห่งเดียว ไม่นับจากหลายๆที่ที่อาจจะใช้วิธีการแบบเดียวกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์