‘คนไร้บ้าน’ เพิ่มโอกาสคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้

คนไร้บ้านหน้าใหม่มีเพิ่มขึ้น ทั้งจากสถานการณ์เศรษฐกิจ การไร้ที่อยู่อาศัย ชุมชนที่ถูกขับไล่จากการพัฒนาที่ดินหรือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของเมือง แม้กระทั่งคนถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง อาชีพไม่มั่นคง รายได้น้อย รวมถึงพอใจอยากมีชีวิตที่อิสระ หลากหลายเหตุผลของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ที่เรียกว่า “คนไร้บ้าน”

เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ มีคนไร้บ้านไม่น้อยกว่า 1,800 คน ขณะที่คนไร้บ้านทั่วประเทศประมาณ 3,500-4,000 คน  แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามแก้ปัญหาให้กลุ่มเปราะบางนี้ด้วยการจัดสถานที่สงเคราะห์ เป็นที่อยู่อาศัยทดแทนบ้าน แต่ด้วยคนไร้บ้านมีจำนวนมากเกินการรองรับ และอาจไม่ได้เป็นหนทางในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน จำเป็นต้องทราบความต้องการที่แท้จริงของคนไร้บ้านคนไร้ที่พึ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

มีความพยายามผลักดันแก้ปัญหาคนไร้บ้านเชิงรุกผ่าน โครงการแจงนับคนไร้บ้าน (One Night Count) เป็นความร่วมมือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) และภาคีเครือข่าย อาทิ กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย และมูลนิธิอิสรชน เพื่อสำรวจสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มคนเร่ร่อนหรือคนไร้บ้าน 77 จังหวัดทั่วประเทศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  อีกทั้งสำรวจจำนวนคนไร้บ้านสำหรับนำมาใช้คาดการณ์ทางสถิติ ประชากร นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาบริการของรัฐ ตลอดจนนโยบายของรัฐที่เท่าทันสถานการณ์ปัญหา ป้องกันการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านของกลุ่มเปราะบาง  โดยมอบหมายให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 77 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ลงพื้นที่แจงนับภายใน 1 คืน

สำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนคนไร้บ้านทั่วประเทศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการภายในหน่วยงานสังกัด พม. ปัจจุบัน มี 5,083 คน และกลุ่มเป้าหมายคนไร้ที่พึ่งภายนอกหน่วยงานสังกัด พม. ที่ให้บริการอีกกว่า 21,239 ราย ซึ่งเป็นคนไร้บ้านกว่า 2,462 ราย และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมืองที่เจริญที่สุดกว่า 1,761 ราย

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัด พม.  กล่าวว่า พม. ให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งหรือคนไร้บ้านอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ แต่ พม. เพียงหน่วยงานเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกมิติ เพราะคนไร้ที่พึ่งหรือคนไร้บ้านเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมและการเสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการนี้มีเป้าหมายร่วมกันในออกแบบระบบการคุ้มครองดูแล และจัดบริการสวัสดิการสังคมอย่างตรงจุด มีศักยภาพในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย และอาชีพ ตลอดจนส่งผลให้คนไร้บ้านสามารถเข้าถึงสวัสดิการและสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างยั่งยืน

ด้าน รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผอ.สถาบันเอเชียศึกษากล่าวว่า การแจงนับคนไร้บ้านครั้งใหม่นี้จะเป็นทั้งการนับจำนวนและเก็บข้อมูลทางประชากรเบื้องต้นของคนไร้บ้านทั้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะและในสถานพักพิงที่รัฐหรือเอกชนจัดให้ป้องกันปัญหาการนับซ้ำ และสามารถกำหนดนิยามคนไร้บ้านให้ครอบคลุมมิติทางวิชาการและมิติทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับบริบทของคนไร้บ้านในสังคมไทย สู่การพัฒนารูปแบบบริการ นวัตกรรมที่ตรงความต้องการคนเร่ร่อนไร้บ้าน

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ความเปราะบางที่นำมาสู่การเป็นคนไร้บ้าน คือ เศรษฐกิจและครอบครัว จากการศึกษาโอกาสเกิดคนไร้บ้านหน้าใหม่เกี่ยวข้องทั้งรายได้ รัฐสวัสดิการ พฤติกรรมการดื่ม ความพิการ การอยู่ในภาวะไร้บ้านเป็นเวลานาน ส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาวะทางจิต

“ สถานการณ์สุขภาพคนไร้บ้าน พบสูบบุหรี่สูงถึง 55% ดื่มสุรา 41% แต่ผู้เข้ารับบริการศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน กลับมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ แสดงให้เห็นว่า นโยบายที่อยู่อาศัยมีความสำคัญ  สสส. ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย พัฒนาโครงการ “ที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง” สสส. สนับสนุน 60 % คนไร้บ้านสมทบ 60 %  ในอัตราค่าเช่า 1,700 – 2,200 บาท/เดือน โมเดลนี้ต่อยอดโครงการนำร่อง “บ้านสวัสดิการที่อยู่อาศัยคนจนเมือง” ปรับพื้นที่ตึกร้าง ให้เป็นที่อยู่อาศัยราคาถูก โดย พม. และกทม. อยู่ระหว่างการศึกษาให้คนไร้บ้าน หรือคนที่อยู่ในภาวะก้ำกึ่งต่อการไร้บ้าน สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเสี่ยงจากภาวะไร้บ้านถาวร คนไร้บ้านต้องตั้งหลักชีวิตได้ “ ดร.สุปรีดา เผย

จากการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผศ.ดร.พีระ ตั้งธรรมรักษ์ และ ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์  พบว่า โอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านของกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มเสี่ยง เกิดคนไร้บ้านหน้าใหม่ นั้น  ผู้หญิงมีโอกาสกลายมาเป็นคนไร้บ้านน้อยกว่าผู้ชาย 1.79 % ถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้น 1,000 บาทต่อเดือน โอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านลดลง 4%   หากดื่มเหล้าจะมีโอกาสกลายมาเป็นคนไร้บ้านโอกาสเพิ่มขึ้น 1.08 %

 ถ้ามีความพิการจะมีโอกาสกลายมาเป็นคนไร้บ้านโอกาสเพิ่มขึ้น 1.82 %   หากได้รับเบี้ยยังชีพคนชราหรือคนพิการโอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านลดลง 1.41 % หากมีสิทธิในการรักษาพยาบาล เช่น สิทธิบัตรทอง โอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านลดลง 4.86 %

ความพยายามบรรเทาปัญหาคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ภาคีเครือข่าย และ สสส. ผลักดันผ่าน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางอาหาร จัดทำครัวกลาง จำหน่ายอาหารราคาถูก ,ด้านที่อยู่อาศัย พัฒนาศูนย์พักคนไร้บ้านใน 4 พื้นที่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี เชียงใหม่ และขอนแก่น ให้มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพรายบุคคลให้ตั้งหลักชีวิตได้ มีความสามารถในการอยู่ร่วมกับคนอื่น และประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ ได้ 

ด้านบริการสาธารณสุข สนับสนุนเวชภัณฑ์ที่จำเป็นการรับรองสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ , การจัดตั้งจุดประสานงานเพื่อช่วยเหลือคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบาง ดำเนินการติดตามคนไร้บ้านและช่วยเหลือให้ข้อมูลข่าวสารกับคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ และด้านการประกอบอาชีพเพื่อให้คนไร้บ้านสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชน 

ถือเป็นการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไร้บ้านไม่ถดถอยลง อยู่ข้างถนนก็ยังอยู่ได้ด้วยการมีงานทำ มีมาตรการรองรับ หรือเพื่อให้โอกาสที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เช็กเงื่อนไข 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ รับเดือนละ 3 พัน

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยเงื่อนไขคุณสมบัติ 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3 พันบาท เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ