ทัวร์“พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์”การลงโทษและชีวิตในเรือนจำ

พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

คุก หรือ เรือนจำ สถานที่จองจำผู้ที่กระทำผิด ที่มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์  โดยลักษณะของคุกมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จากสถานที่หดหู่ มาเป็นสถานที่จองจำที่ทันสมัยอย่างที่เห็นในต่างประเทศ  ในประเทศไทยเองก็มีคุกผ่านหลายยุคหลายสมัย ทำให้กรมราชทัณฑ์  ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ขึ้น เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ความเป็นมาวิวัฒนาการของการก่อตั้งเรือนจำ  ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการลงโทษ รวมไปถึงการดำรงชีวิตในคุก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนเป็นเครื่องเตือนใจให้คนที่เข้าชมไม่อยากทำผิด  จะได้ไม่ถูกจองจำ และมีชีวิตอย่างหดหู่  

กลองที่ผู้คุมใช้ตีบอกเวลาเข้าเวรยาม

หากยังจำกันได้ประเทศไทยเคยมีการจัดแสดงวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์เกี่ยวกับการลงทัณฑ์ของประเทศไทยตั้งแต่โบราณมาเก็บรวมไว้ในที่แห่งเดียวกันเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์และมีการเคลื่อนย้ายสถานที่ในการจัดแสดงถึง 3 ยุค โดยยุคแรก ที่เกิดการสร้างพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ครั้งแรกขึ้นที่เรือนจากลางบางขวาง จ.นนทบุรี เมื่อปีพ.ศ.2482 โดยนายพันตำรวจโทขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีศรากร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้เริ่มรวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษและวัตถุโบราณที่พบภายในบริเวณเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ สมัย 50 ปีก่อนมาเก็บรวมไว้จำนวน 41 ชิ้น

หับเผยจำลอง ประตูระหว่างทางเข้าเรือนจำไปสู่คุก

ต่อมาในยุคที่ 2 ปี พ.ศ.2515 ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ อาคารศูนย์ฝึกศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ ปัจจุบันคืออาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการ ราชทัณฑ์ ซึ่งมีการจัดหาโบราณวัตถุเพิ่มเติมได้มากขึ้นถึง 334 รายการ อาทิ เครื่องมือจารีตนครบาล อุปกรณ์การประหารชีวิตด้วยดาบ การประหารชีวิต ด้วยปืน ภาพวาดสีน้ำมันเกี่ยวกับโทษทวะดึงษ์กรรมกรณ์ (การลงโทษ 32 ประการ) อาวุธปืนโบราณ ภาพถ่ายการประหารชีวิต หุ่นรูปปั้น สิ่งของต้องห้าม และเครื่องมือในการกระทำผิด หรือสิ่งของที่ผู้ต้องขังลักลอบนำเข้าเรือนจำ เป็นต้น

บรรยากาศบริเวณอาคาร 2 ชั้น 1 กับเรื่องราวของบทลงโทษ

 และในยุคที่ 3 ได้ย้ายไปจัดแสดงภายในสวนรมณีนาถ ด้านถนนมหาไชย เขตพระนคร ซึ่งเคยเป็นเรือนจาพิเศษกรุงเทพมหานครเดิม ซึ่งกรมศิลปากรได้อนุรักษ์และขึ้นทะเบียนเป็นอาคารโบราณสถานไว้แล้ว กระทั่งในปี พ.ศ.2558 พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ที่สวนรมณีนาถได้ปิดทำการ เนื่องด้วยกระทรวงยุติธรรมโดยสถาบันการยุติธรรมแห่งประเทศไทย จะมีการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระหว่างประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม

ทำให้ในปีพ.ศ.2565 กรมราชทัณฑ์ ได้เล็งเห็นความสาคัญ จึงได้ทำการการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งใหม่ขึ้น ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการ ราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์ จ.นนทบุรี โดยได้มีการเคลื่อนย้ายวัตถุจัดแสดงมายังกรมราชทัณฑ์ พร้อมมีการจัดสรรค์พื้นที่ภายในอาคาร 3 หลัง เพื่อทำการจัดแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์เกี่ยวกับการลงทัณฑ์

บทลงโทษทรมานด้วยตะกร้อ

ล่าสุดในปีนี้ผู้สนใจสามารถเข้าชม  พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ แห่งใหม่กันได้แล้ว โดยรูปแบบของอาคารออกแนวสไตล์ลอฟท์ถูกฉาบด้วยสีเทาเข้มให้อารมณ์ความรู้สึกที่หม่นหมอง ความทุกข์และเศร้า แต่ในอีกมุมก็ให้ความรู้สึกที่สุขุมและมั่นคง นี่อาจจะสะท้อนความหมายของเรือนจำในฐานะสถานที่จองจำนักโทษ

อุปกรณ์พันธนาการนักโทษ

 โดยอาคารการจัดแสดงหลักมีทั้งหมด 3 หลัง ภายในอาคาร 1 ชั้น 1 เป็นจุดเริ่มต้นในทุกเรื่องราวของประวัติศาสตร์ เป็นห้องแห่งคำถามว่าคุก…มีไว้ทาไม ตลอดจนไทม์ไลน์ของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ในแต่ละยุค ซึ่งภายในชั้นนี้จะได้เห็นเครื่องใช้บางส่วนในเรือนจำ อาทิ กลองที่ผู้คุมใช้ตีบอกเวลาเข้าเวรยามสันนิษฐานว่า ถูกใช้ในปี ร.ศ.126 และใบที่สอง ซึ่งได้มาจากเรือนจำกำแพงเพชร มีความเชื่อว่า ถ้าตีกลอง 1 ครั้ง จะมีนักโทษเสียชีวิต 1 คน จึงได้มีการยกเลิกใช้ หันมาใช้ระฆังแทน หรือตู้เก็บเงินของเรือนจำ ที่คาดว่ามาจากเรือนจำหัวเมืองเพื่อใช้เก็บส่วย  และถังดับเพลิงที่ผ่านการใช้งานจริงมาแล้ว

เบ็ดเหล็ก บทลงโทษที่ทรมานให้รับสารภาพ

เดินเชื่อมมายังอาคาร 2 ชั้น 1 จะเป็นโซนการจัดแสดงวิธีและเครื่องมือการลงทัณฑ์ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยในอดีตจะมุ่งเน้นการลงโทษด้วยเครื่องลงทัณฑ์ ด้วยวิธีการรุนแรงให้เข็ดหลาบ หวาดกลัว การลงทัณฑ์แบบจารีต ที่เน้นการทรมานเพื่อให้นักโทษรับสารภาพ ที่เราเองดูแล้วก็รับรู้ได้ถึงความทรมาน อาทิ ตะกร้อ จากเรือนจำกลางนครราชสีมา เครื่องลงโทษที่ทำด้วยหวายขนาดใหญ่ พอให้ใส่คนเข้าไปด้านในได้และมีเหล็กปลายแหลมโผล่ด้านในเป็นระยะๆ โดยใช้ช้างเตะตะกร้อให้กลิ้งไปมา ทำให้นักโทษเจ็บปวดจากการถูกเหล็กตำ  เบ็ดเหล็ก ซึ่งจะใช้เบ็ดเหล็กเกี่ยวเข้าไปที่ใต้คางของนักโทษ แล้วชักรอกให้เท้าลอยพ้นพื้น และหลายบทลงโทษ  ถัดมาก็จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พันธนาการนักโทษ เช่น ตรวนขานกยาง ตรวนขาถ่าง ตรวนข้อเท้า เหล็กครอบสะเอว

จำลองวิธีการประหารชีวิตด้วยดาบ

ถัดมาก็จะวิธีการประหารชีวิตที่มีวิวัฒนาการการใช้ตั้งแต่ด้วบดาบ โดยได้มีการจำลองอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบไม่ว่าจะเป็น มีดตัดส้นเท้า มีดตัดสายมงคล ขันทำน้ำมนต์ และดาบของนายเหรียญ เพิ่มกำลัง เพชฌฆาตดาบคนสุดท้าย เป็นต้น ต่อมาก็เป็นการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า โดยเราจะได้เห็นหลักประหารชีวิตอันแรก ปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตของจริง เครื่อแบบเพชฌฆาตประหารชีวิตคนสุดท้ายที่นายเชาวเรศน์ จารุบุณย์ ได้สวมใส่ และการประหารชีวิตในปัจจุบันที่ใช้การฉีดยา

จำลองการประหารชีวิตด้วยการยิงเป่า และปืนที่เพชฌฆาตใช้จริง

ขึ้นไปบนชั้น 2 พบกับการจัดแสดงพระหัตถเลขาในหมายปล่อยตัวนักโทษในรัชกาลที่5 และ รัชกาลที่ 6 ที่หาดูได้ยาก ผ่านหับเผยจำลอง คือประตูระหว่างทางเข้าเรือนจำไปสู่คุก ด้านในจะเป็นบรรยากาศการจำลองการใช้ชีวิตประจำวันในเรือนจำโรงเลี้ยง โรงครัว โรงฝึกวิชาชีพ ห้องนอน ห้องขัง ห้องพยาบาล เครื่องหมาย-เครื่องแบบข้าราชการราชทัณฑ์ในยุคต่างๆ ภาพเรือนจำต่างจังหวัดในอดีต ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบุรี สระบุรี ลพบุรี ปืนของผู้คุมในอดีต  ในโซนนี้มีการจัดแสดงโครงกระดูกของนักโทษชายที่อุทิศร่างกายให้สถานพยาบาลเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อปี 2480 รวมถึงโครงการในพระราชดาริฯ ยุคปัจจุบัน

ดาบเล่มสุดท้ายที่ใช้ประหารชีวิตด้วยดาบ

ส่วนอาคาร 3 ติดแม่น้าเจ้าพระยา เป็นร้านหับเผย ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ต้องขังที่ได้จากการเรียนรู้ภายในเรือนจำทั้งกระเป๋า รองเท้า ของที่ระลึก ที่ล้วนเป็นงานฝีมือ ส่วนด้านบนก็จะเป็นคาเฟ่อาหารและเครื่องดื่มจากฝีมือผู้ต้องขัง รวมไปถึงการแสดง ความสามารถและทักษะพิเศษของผู้ต้องขังด้านนาฎศิลป์ ดนตรี ศิลปะ เป็นต้น

หลักประหารชีวิตอันแรก

การมาเยือนพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ถึงจะไม่ได้จรรโลงใจ แต่เราได้เข้าใจถึงกระบวนการยุติธรรมที่วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ตามหลักสิทธิมนุษยชน จะดีแค่ไหนหากไม่มีใครทำผิดกฎหมาย เคารพกฎสังคม และไม่ต้องถูกลงโทษหรือจองจำเพราะสุดท้ายบั้นปลายชีวิตก็ต้องจบลงด้วยกระบวนการยุติธรรม  สำหรับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์เปิดบริการทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) เวลา 09.00-17.00 น.

พระหัตถเลขาในหมายปล่อยตัวนักโทษในรัชกาลที่ 6
จำลองห้องนอนในเรือนจำ
การประหารชีวิตด้วยวิธีฉีดยา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ราเมศ' อัดราชทัณฑ์แจง 5 ข้อ ตอกย้ำให้เห็นกระบวนการอุ้ม 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีกรมราชทัณฑ์ เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ไม่ต้องเข้าเรือนจและรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ว่า กรมราชทัณฑ์ต้องระลึกว่าทุกคำตอบคือหลักฐานสำคัญ

กรมคุกตอบ 5 ประเด็น ปม 'หมอวรงค์' ร้อง ป.ป.ช.เอาผิดช่วย 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์

กรมราชทัณฑ์ เผยแพร่เอกสารชี้แจงโดยระบุว่า วันจันทร์ที่ 22 เม.ย. 2567 ตามที่สื่อมวลชนเสนอข่าวนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส่งข้อมูลผู้ตรวจฯ ยื่นคณะกรรมการ​ป้องกัน​และ​ปราบปราม​การ​ทุจริต​แห่งชาติ​ (ป.ป.ช.)​ ในการช่วยเหลือนายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องติดคุก โดยมีประเด็นต่างๆ เพื่อเรียกร้องคำตอบให้กับสังคม นั้น

'ทวี' พร้อมให้ตรวจสอบ ลั่น! 'อะไรที่กฎหมายไม่เขียนให้เราทำได้เราก็จะไม่ทำ'

ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว. ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีกรณีที่ถูก นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี ร้

'หมอวรงค์' เตรียมร้อง ป.ป.ช. สอบ 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์ แฉคะแนนพักโทษได้แค่ 9/20

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพักโทษว่า ผมเตรียมเอกสารร้องป.ป.ช.เรื่องนักโทษชั้น14 ไม่ป่วยจริง