
“หมดไฟ” เป็นภาวะของการอ่อนล้าทางอารมณ์ ผลจากความเครียดจากงานที่มากเกินไปอย่างต่อเนื่อง คนทำงานส่วนหนึ่งกำลังเผชิญช่วงเวลาที่เลวร้ายนี้ ท้อแท้ หมดไฟ มีความสุขจากการทำงานลดลง และทำงานได้ไม่ดี บางคนรู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน ถ้าปล่อยให้ตกอยู่ในภาวะหมดไฟนานเข้า ทำให้เสียแรงจูงใจในการทำงาน กระทั่งรู้สึกว่า ทำอะไรก็ไม่ได้ดี ลงท้ายรู้สึกว่าไม่สามารถทำอะไรให้ใครได้ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่อยู่ในลิสต์ต้นๆ ของบ้านเรา
การได้ระบายความเครียด มีกิจกรรมนอกงาน มองหาคุณค่าในงานที่ทำ เป็นแนวทางป้องกัน เหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รังสรรค์นิทรรศการ “Home Coming พาใจกลับบ้าน” เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้วัยทำงาน ได้สำรวจอารมณ์และจิตใจให้ดีขึ้นผ่านผลงานศิลปะที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า จากข้อมูล Thaihealth Watch จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2566 พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ วัยทำงาน มีภาวะหมดไฟ (Burnout) สาเหตุส่วนหนึ่งจากการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่แบบลูกผสม (Hybrid) ทำให้เสียสมดุลชีวิตกับการทำงาน เนื่องจากขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เจอภาวะกดดันจากการทำงาน กลายเป็นความเครียดสะสม นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ที่สำคัญยังพบข้อความที่กล่าวถึงความเครียดจากการทำงานในสื่อโซเชียลมีเดีย ระหว่าง มี.ค. – ก.ย. 2565 ถึง 18,088 ข้อความ ในจำนวนนี้ ต้องการลาออกจากงาน 54% สะท้อนถึงการขาดวิธีการจัดการชีวิตและการทำงานที่สมดุล ตอกย้ำแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิตใจของวัยทำงานที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ สสส. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ได้เร่งรวบรวมองค์ความรู้ พัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบนิทรรศการ “Home Coming พาใจกลับบ้าน” เพื่อสร้างประสบการณ์และทักษะชีวิตให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน ได้ตระหนักถึงทางเลือกในการดูแลสุขภาวะด้านจิตใจ ผ่านงานศิลปะที่ออกแบบให้เชื่อมโยงกับความเป็นมนุษย์ (Humanbeing) 5 โซน ประกอบด้วย โซน 1 สำรวจอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอง โซน 2 ปล่อย ขยับร่างกายไปพร้อมๆ กับจิตใจ โซน 3 กอด สัมผัสแสง เสียงของชิ้นงาน สร้างความมั่นคงในใจ โซน 4 นอน เอนกาย มองแสงประกายน้ำ เพื่อความผ่อนคลาย 5. ฟัง เสียงที่อยู่รอบตัว คลายความโดดเดี่ยว เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมให้ได้สำรวจจิตใจตนเองไปด้วยกัน” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว

ภายในนิทรรศการนอกจากชวนมาฮีลใจกับศิลปะในโซนต่างๆ แล้ว ยังมีการฉายสารคดี “Mentalverse จักรวาลใจ” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตกลุ่มคนที่ต่างวัย 5 คน 5 ภาวะซึมเศร้า สะท้อนให้เห็นทางออกของปัญหาด้านจิตใจที่มีผลกระทบมาจากครอบครัวและสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้าไปมีประสบการณ์ร่วมกับเรื่องราวในจักรวาลใจของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย

การเรียนรู้และทำความเข้าใจภาวะหมดไฟ ไม่ได้จำกัด แต่รวมถึงเราเองที่อาจจะมีความเครียดจากการทำงานโดยไม่รู้ตัว อยากชวนมามีส่วนร่วมเพื่อรู้เท่าทันถึงปัญหาเหล่านั้น เพื่อเข้าใจ ปรับตัว และอยู่ร่วมกับผู้ที่เผชิญภาวะสูญเสียความมั่นใจ มาช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจ ให้กำลังให้เขาฮึดสู้ นิทรรศการ “Home Coming พาใจกลับบ้าน” จะจัดขึ้นตลอดเดือน มิถุนายน 2566 ที่บริเวณชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก กรุงเทพฯ แวะวียนไปชมกันได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วันสร้างสุข..คัดสรรชุดความรู้เพิ่มทักษะ เปลี่ยน..คนพิการเป็นภาระสู่การเป็นพลัง
คำถามที่ว่า เราทุกคนต้องการสังคมในฝันเป็นแบบไหน? คำตอบก็คงไม่พ้น อยากเห็น..สังคมที่ทุกคนมีความสุข ประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลเกื้อกูลกันอย่างเป็น
สสส.เร่งส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะละแวกบ้านทั่วประเทศแก้ปัญหา NCDs เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ใช้ “พื้นที่สุขภาวะ” แก้ปัญหาเมืองเพิ่มคุณภาพชีวิตดี
สสส. เสริมพลังภาคีเครือข่าย ชูกระบวนการมีส่วนร่วม แชร์ข้อมูลและองค์ความรู้ สร้างสรรค์พื้นที่สุขภาวะสีเขียวละแวกบ้านยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย
ศูนย์เด็กเล็ก..ต้นแบบปลูกพลเมืองโลก ยืนหยัดด้วยตัวเองเอาตัวรอดในสังคม
ด้วยแนวคิดที่ว่า I feel so happy and healthy I am all set to make my dreams come true! I am child center เด็กและเยาวชนต้องเติบโตในโลกที่ท้าทายกว่าเดิม ในท่ามกลางโลกที่ผันผวน
สสส. ปลื้ม นวัตกรรม “Persona Health สื่อเฉพาะคุณ” ส่งต่อชุดความรู้ด้านสุขภาพเฉพาะบุคคล สู่ประชาชนกว่า 15 ล้านคน
นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโสกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. พัฒนานวัตกรรม “Persona Health สื่อเฉพาะคุณ”
พื้นที่สวนจิ๋ว 15 นาทีบางกอกน้อย ต้นแบบสุขภาวะชุมชนมีส่วนร่วม
POP-UP Park สวน 15 นาทีเขตบางกอกน้อย อยู่ตรงข้ามศาลศาลาต้นจันทน์ เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบางกอกน้อยและพื้นที่ใกล้เคียง แวดล้อมด้วยต้นลีลาวดีที่กำลังผลิดอกบาน
เยาวชนส่งเสียง เร่งขยายพื้นที่สร้างสรรค์-ปลอดภัย ปิดช่องกระโจนเข้าหา ยาเสพติด เหล้า พนัน
สสส. จับมือภาคีเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง จัดเวทีเสียงเยาวชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ส่งสัญญาณถึงทุกภาคส่วนร่วมสร้างสังคมลดการเข้าถึง ยาเสพติด เหล้า พนัน อุบัติเหตุ เร่งขยายพื้นที่สร้างสรรค์ ไม่ปิดกั้นความหลากหลายทางเพศ ด้านเครือข่ายเยาวชนเรียกร้องสนับสนุนการรวมกลุ่มของเด็กเยาวชน