'ทีเส็บ'ผู้อยู่เบื้องหลังอุตฯชา-กาแฟไทย

ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ ทั้งชาและกาแฟของไทย เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับดีขึ้น ทั้งในหมู่คนไทยด้วยกันเอง และต่างชาติ โดยแหล่งผลิตหลักทั้งกาแฟและชา มาจากภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย มีหลายดอย ที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นเยี่ยม  ซึ่งมีรสชาติที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากกาแฟแห่งอื่นบนโลก   อาจจะด้วยสภาพพื้นที่ปลูกที่แตกต่าง และทุกขั้นตอนการผลิต  ไม่ว่าการแช่หมัก การกะเทาะเปลือก การตากแห้ง คั่ว บด  ล้วนเป็นแฮนด์เมดทั้งสิ้น จึงทำให้กาแฟไทย มีรสสัมผัสและกลิ่นหอมที่แตกต่างจากกาแฟอื่นๆ  เรียกได้ว่าเป็น”ความพิเศษ”   เฉพาะตัวก็ว่าได้

กาแฟไทยที่้มีชื่อเสียงโด่งดัง หลักๆมาจากจังหวัดเชียงรายเป็นส่วนใหญ่  ได้แก่ กาแฟผาฮี้  ,โดยเฉพาะอำเภอแม่สรวย นับเป็นแหล่งผลิตใหญ่มีกาแฟที่มีชื่อเสียงหลายแบรนด์  ได้แก่ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง  กาแฟดอยหมอก  กาแฟอาข่า  กาแฟปางขอน   จากบ้านปางขอน  , กาแฟแม่จันใต้    และกาแฟวาวี อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
นอกจากนี้ เชียงรายยังเป็นแหล่งผลิต”ชา” ที่มีชื่อเสียงไม่ย่อยเช่นกัน  โดยบางแหล่งปลูก มีต้นชาอายุนับพันปี ที่ดอยวาวี เชียงราย ที่แม้แต่ประเทศจีน ที่เป็นเจ้าแห่งชาของโลก ก็ยังไม่มีต้นชาสายพันธุ์นี้แล้ว

ภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวเปิดงานสัมมนาประชุมเครือข่ายชา กาแฟที่ จ.เชียงราย

ในช่วง4-5ปีหลังมานี้ จุดเปลี่ยนที่ทำให้กาแฟและชาไทย ถีบตัวพุ่งไปสู่ระดับเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับกว้างขวางนั้น ไม่ได้มาจากกระแสกาแฟ หรือชา ฟีเวอร์ อย่างที่เห็นในปัจจุบันอย่างเดียว ส่วนหนึ่งยังมาจากการผลักดันของ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)  หรือทีเส็บ ที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมชา กาแฟภาคเหนือ มาตั้งแต่ปี 2560   โดยทีเส็บได้เข้ามาทำงานสนับสนุนชา และกาแฟ ผ่านสถาบันชาและกาแฟ  ของมหาวิทยาลัยแม่ฟัาหลวง โดยช่วงแรกเป็นการสนับสนุนด้านวิชาการ  การสนับสนุนดำเนินมาเรื่อย  

บรรยากาศงาน

จนเมื่อปี 2565  ทีเส็บ เป็นโต้โผใหญ่ จัดงานแสดงสินค้าและการประชุมด้านชาและกาแฟระดับนานาชาติ หรือ World Tea and Coffee Expo ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จังหวัดเขียงใหม่  มาในปีนี้ ทีเส็บยังให้การสนับสนุนจัดงานดังกล่าวขึ้่นเป็นปีที่สอง  ณ จังหวัดเชียงราย  เนื่องจากเห็นว่าเชียงรายเป็นจังหวัดที่แกนหลักของอุตสาหกรรมชาและกาแฟ

ภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวว่า  การส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในภาคเหนือ ทีเส็บมีแนวทางผลักดันให้ภาคเหนือตอนบนเป็น “จุดหมายปลายทางการจัดงานไมซ์ทางด้านชาและกาแฟระดับนานาชาติ” เบื้องต้นปักหมุดหมายไว้ที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ผลักดันให้เป็นเมืองแห่งชาและกาแฟระดับโลก โดยอาศัย”อัตลักษณ์ของเมือง” ที่มีจุดเด่นทางภูมิศาสตร์ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกชาและกาแฟชั้นเลิศ หรือเป็นการสร้างจุดขาย ซึ่งเป็นนโยบายของทีเส็บอยู่แล้ว ที่จะชูอัตลักษณ์ของเมือง (City DNA)  มาส่งเสริมการท่องเที่ยวและธุรกิจให้กับแต่ละพื้นที่

บาริสต้า มาร่วมงาน


ส่วนการประชุมการประชุมเครือข่ายชา-กาแฟ ประเทศไทย 2566 ที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่ทีเส็บร่วมมือกับ สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และผู้ประกอบการชาและกาแฟ  ระหว่างวันที่ 6-8 กรกฎาคม 2566  ที่ผ่านมาซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 350 คน สร้างรายได้ราว 1.5 ล้านบาท ถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญมาก  ในการยกระดับอุตสาหกรรมชา-กาแฟ และผลักดันจังหวัดเชียงรายให้เป็น “นครแห่งชาและกาแฟ” ตามนโยบายของจังหวัด และยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2566-2570) ของทีเส็บ ที่มุ่งเน้นการชูอัตลักษณ์เมือง ในการยกระดับศักยภาพการรองรับการจัดงานไมซ์ในพื้นที่นั้นๆ  

ภูริพันธ์ บุนนาค

“งานชาและกาแฟ เป็นหนึ่งในงานที่สำคัญทางภาคเหนือของทีเส็บ  ที่มีภารกิจกระตุ้นให้คนอยากมาประชุมและออกเดินทาง ซึ่งเราทำงานร่วมกับสถาบันชาและกาแฟมาตั้งแต่ปี 2560 และทางทีเส็บปรับเปลี่ยน แนวทางการสนับสนุนมาตลอด  และเพิ่มเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ  โดยเรามุ่งเน้นการพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืน  เพราะคงปล่อยให้อุตสาหกรรมเป็นไปแบบ ไม่ได้มีการพัฒนาไม่ได้  ต้องพัฒนาทั้งเรื่องของต้นน้ำ เกษตรกร อุตสาหกรรมแปรรูป รวมถึงการค้าขาย อีกทั้งการที่ เชียงราย เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ  ทราบมาว่ามีโครงการที่จะพัฒนาการเชื่อมต่อกับสปป.ลาว  เพิ่มการค้าลงทุนซื้อของข้ามแดนไปทางภาคใต้ของจีนมากขึ้น และชาและกาแฟ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนนี้ด้วย” รองผอ.ทีเส็บกล่าว

พงศกร อารีศิริไพศาล เป็นประธานชมรมคนรักกาแฟเชียงราย และเจ้าของร้าน Local Coffee  กล่าวว่า ถือว่าทีเส็บ มีบทบาทสูงมากในการผลักดันอุตสาหกรรมกาแฟในเชียงราย  ซึ่งส่วนตัวเฝ้ามองมาตลอด ตั้งแต่ปี 2560 ทีเส็บเข้ามาในนามของภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการเข้ามาในจังหวะที่ดีมาก เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงเริ่มๆ ของการเกิด”กาแฟพิเศษ -Specialty  Coffee” ในเชียงราย และเริ่มมีบุคลากรพิจารณาตัดสินกาแฟพิเศษ   เกิดขึ้น ซึ่งมีการประกวดกาแฟพิเศษ เกษตรกรก็มีความตื่นตัวกระตือรือร้นอยากพัฒนาตัวเองมาก  ที่สำคัญ ในนั้นยังเป็นปีเริ่มแรกที่ทางจังหวัดเชียงราย มีงบประมาณพัฒนาชา กาแฟก้อนใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก   การเข้ามาของทีเส็บจึงมีส่วนช่วยอย่างมาก โดยทีเส็บเข้ามามีบทบาทช่วยจัดสรรงบประมาณการพัฒนา ให้อยู่กับร่องกับรอย ว่าเงินควรจะไปอยู่ส่วนไหน  ซึ่งเกิดผลดีต่ออุตสาหกรรมชา กาแฟ ในเวลาต่อมา

พงศกร อารีศิริไพศาล

“ผมมองว่าทีเส็บเอง เป็นภาครัฐที่มีรสนิยม  เป็นหน่วยงานที่ความฮิป  มีความร่วมสมัยกับสังคมโลกมาก เพราะประเทศที่เจริญจะต้องมีศิลปะและดนตรีครบถ้วน ซึ่งการผลักดันของทีเส็บ ไม่ได้ทำแค่ให้เกิดธุรกิจต่อธุรกิจเท่านั้น  แต่เป็นความเท่  และสนับสนุนต่อเนื่อง  ซึ่งชา กาแฟจะมีความสำคัญเรื่อยๆ มีสถิติว่าคนไทยดื่มกาแฟมากเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือเฉลี่ยเกิน 300 แก้ว ต่อปี การกินกาแฟของคนไทย จึงไม่ใช่แค่เป็นกระแสหรือฟีเวอร์เท่านั้น เพราะมันทะลุฟีเวอร์  กลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้ว มีคนเป็นผู้นำทางความคิดด้านกาแฟเกิดขึ้น แม้ช่วงเกิดโควิด จะแหว่งๆไป แต่ระหว่างนั้น มันมีความเร่งในธุรกิจกาแฟในแง่มุมต่างๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน   ” พงศกรกล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าสถาบันชาและกาแฟ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ทีเส็บมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรม ชา และกาแฟมีความแข็งแรงขึ้นมาก  ในแง่ของชา ทำให้ผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ได้มีโอกาสมาพบปะเจอะเจอกัน แลกเปลี่ยนความรู้ และเกิดเครือข่ายขึ้น และเป็นเครือข่ายข้ามพรมแดน จากเหนือไปใต้    ในแง่วิชาการ ผลจากการสนับสนุนของทีเส็บตั้งแต่ปี 2560  ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ผลักดันชา และกาแฟของประเทศ เป็นแผน  5ปี หรือตั้งแต่ปี 2560-2565 เป็นการชี้ทิศทางการพัฒนาว่าควรไปทางไหน  และบทสรุปวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ  ส่วนการจัดการประชุมเครือข่ายชา-กาแฟ ประเทศไทย 2566  เป้าหมายในการขับเคลื่อนและต่อยอดอุตสาหกรรมชาและกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือและจังหวัดเชียงราย  

ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล

“ในแง่เศรษฐกิจเราอยากส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจเติบโตผ่านชา และกาแฟ  ทิศทางของเราคือ มุ่งพัฒนาเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชาไทย อย่างเช่นเราได้รางวัลระดับโลกในปี ค.ศ.2020-2022 อย่างชาดอยวาวี ได้รางวัลระดับโลกมาแล้ว  อย่างชาพร้อมดื่มมีมูลค่าทางการตลาดถึง 1.3 หมื่นล้าน และยาวไปจนถึงปี2568 ยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้มากกว่านี้  “

นอกจากนี้ ทีเส็บ ยังเดินหน้าหนุนอุตสาหกรรมชา กาแฟ ภายใต้โครงการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และสินค้าชุมชน หรือ World Tea and Coffee Expo อาทิ การประชุมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพื่อพัฒนาช่องทางการลงทุน หรือ The 4th Tea and Coffee International Symposium ในเดือนสิงหาคม 2566 ณ จังหวัดเชียงราย  รวมทั้ง  ยังมีการอบรมพัฒนาศักยภาพและการสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกร และผู้ผลิตนอกพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อต่อยอดความร่วมมือในการผลักดันให้ภาคเหนือตอนบนเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจด้านชาและกาแฟของภูมิภาคอาเซียน โดยพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงชาและกาแฟในภาคเหนือสู่ภาคใต้ กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2566 ณ จังหวัดสงขลา  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทีเส็บ' จับมือ ททท. ภาครัฐและเอกชน สนับสนุน 'Star For You Meeting Concert'

นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ "ทีเส็บ" เสริมทัพร่วมจับมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมภาครัฐและเอกชน เปิดตัวแคมเปญใหญ่ดัน SOFT POWER ไทย ดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน หวังสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้แน่นแฟ้น พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล ด้วย Soft Power Influencer

ทีเส็บผนึกไมซ์ไทยดึง 405 งานประชุมและอินเซนทีฟ ดึงเงินเข้าประเทศ 5,300 ล้านบาท

ทีเส็บพร้อมทัพไมซ์ไทยเตรียมดึง 405 งานที่มีศักยภาพ (lead) ทั้งงานประชุมองค์กร กลุ่ม อินเซนทีฟ และงานประชุมนานาชาติ เข้ามาจัดในประเทศไทย หลังปิดการเจรจาธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าในงาน IT&CM Asia and CTW Asia- Pacific 2023 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กันยายนที่ผ่านมา คาดการณ์เม็ดเงินเข้าประเทศ 5,300 ล้านบาท และนักเดินทางไมซ์ต่างประเทศกว่า 80,000 คน

ทีเส็บเปิด MICE Lane ขานรับวีซ่าจีน-คาซัคสถาน

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐคาซัคสถาน เพื่ออำนวย

 ‘เมืองศิลปะสร้างสรรค์’ ฝันของคนภูเก็ต

ทุกภาคส่วนในภูเก็ตร่วมนำเสนอความพร้อมเป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์ของประเทศไทย ลำดับที่ 4 ต่อจาก จ.กระบี่ นครราชสีมา และเชียงราย ในมิติต่างๆ ผ่านการประชุมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)

'ทีเส็บ' ลุยโรดโชว์จีนวางเป้าดึงนักท่องเที่ยวไมซ์ปี 66 ไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย

ทีเส็บ ลุยโรดโชว์จีน บุก 2 เมืองใหญ่ ปักกิ่ง กวางโจว วางเป้าดึงนักท่องเที่ยวไมซ์ปี 2566 ไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย อัดแพ็กเกจเพียบ ด้านรัฐบาล เร่งลดขั้นตอนวีซ่า เพิ่มเมนูภาษาจีน อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว ลุ้นเป้า 5 ล้านคน