คัด’อาหารถิ่น’จานเด็ดสะท้อนเอกลักษณ์ท้องถิ่น

ภาพ:ททท.

อาหารถิ่นอาจจะไม่เป็นที่รู้จักหรือคุ้นหูของคนเมืองกรุง หรือคนต่างภาคสักเท่าไหร่ ส่วนมากถ้าพูดถึงอาหารเหนือ เราจะคุ้นเคยแต่ข้าวซอย น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม ขนมจีนน้ำเงี้ยว อาหารใต้คนจดจำแกงใต้ที่มีรสชาติเผ็ดร้อน  อาหารอีสานต้องเมนูส้มตำ แกงอ่อม แกงเปรอะ  แต่จริงๆ แล้วอาหารถิ่นยังมีมากมาย เป็นอาหารแปลกตา แต่ดูน่าสนใจ แต่ละภาคจะมีลักษณะเฉพาะ ใช้วัตถุดิบที่อยู่ในท้องถิ่น สืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ควรค่าแก่การบอกต่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น


โกวิท ผกามาศ

การขับเคลื่อนอาหารไทยมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม รักษาอัตลักษณ์และคุณค่าให้คงอยู่ ไม่ให้สูญหายไป มีความสำคัญ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้มีการขับเคลื่อนงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติ โดยผลักดันนโยบาย soft power กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ จึงหารือกับนายกเหล่ากาชาดจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ จัดกิจกรรมการคัดเลือก 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป” มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือก ส่งให้จังหวัดพิจารณาคัดเลือกเมนูอาหารของแต่ละจังหวัดเสนอให้ สวธ. จำนวน 3 เมนู เพื่อคัดเลือก1 เมนูต่อ 1 จังหวัด รวม 77 เมนู ประกาศยกย่องให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศไทย และในระดับนานาชาติ

ข้าวกั้นจิ้น อาหารเมืองเชียงใหม่

เมื่อได้ผลคัดเลือกเมนูอาหาร 77 เมนู  อธิบดี สวธ. กล่าวว่า สวธ.จะประสานงานกับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ตามรอยเมนูอาหารถิ่นทั้งภาษาไทย และอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ขณะนี้มีหลายจังหวัดคัดเลือก 3 เมนูอาหาร ส่งรายชื่อเข้ามาให้พิจารณาแล้ว อาทิ จ.สุโขทัย เสนอ 3 เมนูหลัก ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ที่เส้นเหนียวนุ่ม รสชาติเด็ดถึงเครื่องถึงรส  ข้าวเปิ๊บ และถั่วทอด จ.เชียงใหม่ เสนออาหารคนเมือง ได้แก่  ตำจิ้นแห้ง ข้าวกั๊นจิ๊น เหมี๊ยง

ไก่ย่างเขาสวนกวาง เมนูจากขอนแก่น

ภาคอีสาน อย่าง จ.ขอนแก่น เสนอเมนู ส้มตำ ไก่ย่างเขาสวนกวาง และปลาแดกบองสมุนไพร  ส่วน จ.นครพนม เสนอ 3 เมนู ได้แก่ เมี่ยงตาสวด เป็นอาหารท้องถิ่นชนเผ่าไทยแสก หมกเจาะหรือหมกจ๊อ และ ขนมใบป่าน จ.สมุทรสงคราม เสนอเมนูแกงรัญจวน เป็นแกงไทยโบราณอุดมด้วยสมุนไพร  ยำหอยแครงโบราณ ส้มฉุน จ.นครสวรรค์ เสนอ อั่งถ่อก้วยหรือกุ้ยช่ายสีชมพู ของดีเมืองปากน้ำโพ  ทอดมันปลากราย และขนมไหว้พระจันทร์ไส้เม็ดบัว

ภาคใต้ฝีไม้ลายมือเรื่องอาหารไม่เป็นรองภาคใด จ.ตรัง เสนออาหาร 3 เมนูให้คัดเลือก ได้แก่  โกยุก เป็นเมนูเฉพาะที่หากินได้ที่ จ.ตรัง มีรสชาติที่เข้มข้น วัตถุดิบแน่นๆ ตั้งแต่ หมูสามชั้น เผือก เห็ดหอม เห็ดหูหนู  ขนมพองเค็มโบราณ และเต้าส้อพริกไทย เป็นต้น

อั่งถ่อก้วย หรือกุ้ยช่ายสีชมพู ของดีปากน้ำโพ

ทั้ง 3 เมนูที่ได้รับคัดเลือกจากแต่ละจังหวัด ล้วนเป็นอาหารถิ่นที่มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกให้เหลือเพียง 1 เมนูเท่านั้น โดยจะมีการประกาศผลช่วงเดือนกันยายนนี้  และพิธีมอบโล่ประกาศในวันสถาปนากรมส่งเสริมวัฒนธรรม ตรงกับวันที่ 24 กันยายน

โปรเจ็คสร้างสรรค์นี้ นายโกวิท ตั้งเป้าว่าจะทำให้ทุกจังหวัดให้ความสำคัญและภาคภูมิใจกับเมนูอาหารประจำถิ่น มีการจัดทำคู่มือแนะนำร้านอาหาร และหาแนวทางอนุรักษ์สูตรอาหารเพื่อป้องกันสูตรดั้งเดิมไม่ให้สูญหาย อีกทั้งยังกระตุ้นยอดจำหน่ายของผู้ประกอบการและการตามรอยชิมเมนูดังทั่วประเทศด้วย

อาหารท้องถิ่น 4 ภาค ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละคน หากได้ไปท่องเที่ยวในภาคไหนก็อยากชวนให้ทุกคนได้ลิ้มลองความอร่อยทั้งอาหารคาวอาหารหวาน พบเจอกับความแปลกใหม่ ถือเป็นการเพิ่มรสชาติให้กับชีวิต ส่วนเมนูใดจะเป็นที่หนึ่งของจังหวัด ต้องติดตามกันต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนชิม 10 เมนูอาหารถิ่น หากินยาก

เหลือเวลาอีก 2 วันที่จะได้ชิม ช้อป เมนูอาหารถิ่นในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" งานนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดเมนูอาหารหาทานยาก ภายใต้โครงการ "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

สวธ.จัดมหกรรมลำกลอนกระหึ่ม‘มหาสงกรานต์ อีสานหนองคาย’ สืบสานประเพณี

17 เม.ย.2567 - หมอลำกลอนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของหนองคาย เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบสานควบคู่กับประเพณีสงกรานต์ไทยในงานเฉลิมฉลอง “มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย สงกรานต์ผ้าขาวม้า สมมาหลวงพ่อพระใส 2567” ที่วัดโพธิ์ชัย วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตลอดการจัดงานระหว่างวันที่

สวธ.จัดเต็มการแสดงพื้นบ้าน เพลงดังจากศิลปินแห่งชาติ ฉลองสงกรานต์วัดสุทัศน์ฯ

16 เม.ย.2567 - เทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 วัดสุทัศน์ฯ เป็นอีกพิกัดฉลองสงกรานต์ มาเรียนรู้คุณค่าประเพณีสงกรานต์ไทย และมาเข้าเสริมบุญเป็นสิริมงคลปีใหม่ไทย

ตระการตา วธ.เปิดประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย ‘เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ขอนเเก่น’

16 เม.ย.2567 - กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkarn in Thailand, traditional Thai New Year festival) "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์จังหวัดขอนเเก่น" ประจำปี 2567