'ชลน่าน' ยันยังไม่พบ'ไข้นกแก้ว'ในไทย ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ใช้ยาปฎิชีวนะ รักษาได้ คนเลี้ยงนก สัตวแพทย์ ต้องระวัง

8 มีนาคม 2567- นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพบการระบาดของโรคซิตตาโคซิส หรือโรคไข้นกแก้ว ในหลายประเทศแถบยุโรป มีผู้เสียชีวิต 5 ราย โดยพบเชื้อในนก สัตว์ปีกในป่า และสัตว์เลี้ยงหลายชนิด ว่า โรคไข้นกแก้ว (Psittacosis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบได้ยาก แต่ไม่ใช่โรคติดต่ออุบัติใหม่ และมียาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาได้ เชื้อโรคนี้มักจะก่อโรคในนกที่เป็นสัตว์เลี้ยง เช่น นกแก้ว เป็นต้น ในอดีตเคยมีการระบาดในนกแก้วในหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ คอสตาริกา ออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทย เคยมีการรายงานจากการวิจัยสำรวจในสัตว์ปีก ว่าพบเชื้อแบคทีเรียนี้เช่นกัน

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า โรคนี้ไม่แพร่กระจายโดยการกินสัตว์ที่ติดเชื้อ การติดเชื้อในคนส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากนกที่ติดเชื้อ จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยผ่านทางการหายใจเอาเชื้อที่ขับออกมาจากปัสสาวะ อุจจาระ หรือสิ่งคัดหลั่งที่มีการปนเปื้อนของนกที่ติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และทำให้เกิดอาการ ปอดอักเสบรุนแรงได้ บางรายอาจมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคนี้ในระบบเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ประสานไปยังจุดประสานงานกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่พบการระบาดหรือการติดเชื้อของโรคดังกล่าว และประสานไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมปศุสัตว์ และเครือข่ายมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความร่วมมือกันเรื่องสุขภาพ หนึ่งเดียว (One health) เพื่อประสานข้อมูล และร่วมมือกันเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์ โดยโรคนี้อยู่ในระบบเฝ้าระวัง แบบ Event base surveillance หรือการเฝ้าระวังเหตุการณ์ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดตามอย่างใกล้ชิดทุกวัน

“กลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังการติดเชื้อ ได้แก่ ผู้เลี้ยงนก สัตวแพทย์ หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนก แม้โรคนี้จะยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถป้องกันเบื้องต้นได้ โดยเลือกซื้อนกเลี้ยงจากร้านขายสัตว์เลี้ยงที่น่าเชื่อถือและมีสุขอนามัยที่ดี ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการติดเชื้อในนก เช่น การรักษาความสะอาด ไม่ให้นกอยู่กันอย่างแออัด แยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ปกติ เป็นต้น ส่วนประชาชนทั่วไปควรหลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับสัตว์ป่วย หากจำเป็นต้องสัมผัสต้องป้องกันตนเอง สวมถุงมือ และหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ บุคลากรที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดกับนก ต้องหมั่นคอยสังเกตอาการตนเองและอาการของสัตว์อยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบปรึกษาแพทย์และแจ้งประวัติเสี่ยง” นพ.ชลน่าน กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชลน่าน' เผยคืบหน้าแอมโมเนียรั่วที่บางละมุง มีผู้ป่วย 160 ราย อาการหนัก 9

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ภายหลังเข้าพบ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ประมาณ 30 นาที ว่า ไปเรียนนายกรัฐมนตรี ถึงสถานการณ์โรงน้ำแข็ง ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ที่มีแก๊สรั่ว ซึ่งเบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นแอมโมเนีย

'ชลน่าน' ปัดไม่พอใจ หลังมีชื่อติดโผหลุดครม. ลั่นทำงานเต็มที่ สั่งขรก.อย่าเกียร์ว่าง

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังมีชื่อถูกปรับออกจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ว่า ไม่มีอะไรๆ ไม่ทราบเลยว่ามีสัญญาณอะไรอย่างไร เมื่อถามว่าได้มีการติดตามข่าวหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ก็ติดตามอยู่ตลอด

'ชลน่าน' โวยเสียหายมาก! ข้อมูลประชาชนหลุด ไม่ใช่ของสธ. ยอมรับ 'แฮกเกอร์' เก่งกว่า

ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบท โพ