เปิดร่างรธน.ฉบับ 'ไอติม พริษฐ์' เข้าที่ประชุมรัฐสภา วาระแรก 16 พ.ย.นี้

แฟ้มภาพ

13 พ.ย.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา วาระแรก ในวันที่ 16 พ.ย.นี้ ที่มีประชาชนเข้าชื่อขอแก้ไขอย่างถูกต้อง จำนวน 135,247 คนที่เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม แกนนำกลุ่ม Re-Solution มีสาระสำคัญตามหลักการและเหตุผลที่ภาคประชาชนขอแก้ไขคือ 1. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของรัฐสภา ในหมวดที่ 7 ว่าด้วยเรื่องรัฐสภา จากเดิมมีสภาผู้แทน ราษฎร และวุฒิสภา ให้เหลือเพียงสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว โดยให้เหตุผลว่าวุฒิสภาเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเพิ่มบทบาทให้สภาผู้แทนราษฎรและส.ส.ฝ่ายค้านตรวจสอบควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี(ครม.)

2.การปรับโครงสร้างของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการเป็นองค์กรที่คำวินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กร มีผลต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ เป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายทางรัฐธรรมนูญทั้งหมด จนกลายสภาพเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และมีการใช้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางเมือง โดยเสนอให้แก้ไขให้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9คน มีที่มาจากการเสนอชื่อของส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 3คน ส.ส.ฝ่ายค้าน 3คน และที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด 3คน ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือก และห้ามศาลรัฐธรรมนูญกระทำการอันมีผลขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

3.การให้องค์กรอิสระต้องพ้นจากตำแหน่งทันที หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้บังคับใช้

4.การยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา256 เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแก้ไขให้การแก้รัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 3วาระ ไม่มีส.ว.เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยวาระ 1 และ 3 ใช้เสียงสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ 2ใน3 ส่วนการแก้ไขวาระ2 ใช้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

5.การยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 257-261 ที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ

6.การเพิ่มหมวด เรื่องการลบล้างผลพวงการรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค.2557 โดยให้คำสั่งคสช.และหัวหน้าคสช.มีผลเป็นโมฆะทั้งหมด รวมถึงการให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ต่อต้านการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ โดยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ก่อการรัฐประหาร และห้ามศาลรัฐธรรมนูญและศาลทั้งปวงรับรองความสมบูรณ์ของการรัฐประหารหรือความสมบูรณ์กฎหมายแก่ผู้ก่อการรัฐประหาร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สว.2567 เสี่ยงได้ วุฒิสภา สายพรรคการเมือง เชื่อมโยงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่

เข้าสู่ช่วงเตรียมนับถอยหลังใกล้โบกมือลา สิ้นสุดการทำหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบันจำนวน 250 คน ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี สว.ชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่

'เสรี' ซัดบางพรรคระดมคนสมัคร สว. แสวงหาอำนาจให้พวกพ้อง เอาเปรียบประชาชน

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สว. ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวบนเวทีสัมมนา เรื่อง บทบาทหน้าที่อำนาจ และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ 2567

จับตาประธานศาลปกครองสูงสุด 'อิศรา' เปิดจม. 'วิษณุ วรัญญู' แจงสว. ปมป๋าเปรม-งานแต่งปิยบุตร

จากกรณีที่ นายวิษณุ วรัญญูู รองประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(ก.ศป.) ให้เป็นประธานศาลปกครอ

'เซลส์นิด' แจงสภาสูง ขยันทัวร์นอกเหตุจำเป็น เมินตอบปม 'ทักษิณ'

'เศรษฐา' ปัดแก้ตัวงบไม่มางานไม่เดิน เคลมราคายางพุ่งผลงานรัฐบาล ชี้ดึงต่างชาติลงทุนล้านล้านบาท ใช้เวลามากกว่า 7 เดือน แถลงความก้าวหน้าทัวร์นอก 26 มี.ค.